ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเจริญนคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mugornja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Taksin hospital.jpg|thumb|ถนนเจริญนครช่วงคลองสาน ก่อนการก่อสร้าง[[รถไฟฟ้าสายสีทอง]]]]
[[ไฟล์:Thanon Charoen Nakhon 15-01-2017.jpg|thumb|ถนนเจริญนคร ช่วงสี่แยกบุคคโล]]
'''ถนนเจริญนคร''' ({{lang-roman|Thanon Charoen Nakhon}}) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งทาง[[ฝั่งธนบุรี]] [[กรุงเทพมหานคร]] มีความยาวประมาณ 4,900 เมตร<ref>กองนโยบายและแผนงาน. สำนักผังเมือง. กรุงเทพมหานคร. '''รายงานการศึกษา เรื่อง โครงข่ายถนนและทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร.''' [ม.ป.ท.], 2551.</ref> จุดเริ่มต้นของถนนอยู่ที่ทางแยกคลองสานในพื้นที่แขวงคลองสาน [[เขตคลองสาน]] เลียบ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ไปทางทิศใต้ ข้ามสะพานเจริญนคร 1 (คลองสาน) ตัดกับถนนเจริญรัถและเข้าพื้นที่แขวงคลองต้นไทร ข้ามสะพานเจริญนคร 2 (คลองวัดทองเพลง) ตัดกับถนนกรุงธนบุรีที่ทางแยกกรุงธนบุรี (เหนือและใต้) เลียบแม่น้ำไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามสะพานเจริญนคร 3 (คลองต้นไทร) และเข้าพื้นที่แขวงบางลำภูล่าง ข้ามสะพานเจริญนคร 4 (คลองบางลำภูล่าง) ข้ามสะพานเจริญนคร 5 (คลองบางไส้ไก่) และเข้าพื้นที่แขวงสำเหร่ [[เขตธนบุรี]] ข้ามสะพานเจริญนคร 6 (คลองสำเหร่) และสะพานเจริญนคร 7 (คลองบางน้ำชน) ตัดกับถนนมไหสวรรย์ที่ทางแยกบุคคโลและเข้าพื้นที่แขวงดาวคะนอง เมื่อผ่านปากซอยเจริญนคร 72 จะโค้งไปทางทิศใต้ ไปสิ้นสุดที่สะพานเจริญนคร 8 ([[คลองดาวคะนอง]]) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ[[ถนนราษฎร์บูรณะ]]ในพื้นที่[[เขตราษฎร์บูรณะ]]
 
==ประวัติ==
[[File:พระยามไหสวรรย์ (กอ สมบัติสิริ หรือ กวย สมบัติสิริ).jpg|thumb|พระยามไหสวรรย์]]
ถนนเจริญนครตัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2482–2483<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 51.</ref> ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างถนนต่อจาก[[ถนนสมเด็จเจ้าพระยา]] กิ่งอำเภอคลองสานขึ้นอำเภอธนบุรี ไปถึงตำบลปากคลองดาวคะนองฝั่งใต้ อำเภอราษฎร์บูรณะ [[จังหวัดธนบุรี]] พุทธศักราช 2482 โดยพระยามไหสวรรย์ (กอ สมบัติศิริ) ขณะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครธนบุรีเป็นผู้ริเริ่มโครงการถนนสายนี้ ถนนเจริญนครเป็นถนนสายแรกที่สร้างเป็นถนนขนาดกว้างถึง 30 เมตร<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/> เมื่อสร้างถนนเสร็จ เทศบาลนครธนบุรีได้ขอให้[[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]]ตั้งชื่อถนนให้ ในชั้นแรกกระทรวงมหาดไทยจะตั้งชื่อถนนว่า "ถนนมไหสวรรย์" ตามราชทินนามของพระยามไหสวรรย์ แต่พระยามไหสวรรย์ขอให้ใช้ชื่อถนนว่า '''ถนนเจริญนคร''' เพื่อล้อกับชื่อ[[ถนนเจริญกรุง]]ที่อยู่ในแนวขนานกันทาง[[ฝั่งพระนคร]]<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/> กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ใช้ชื่อดังกล่าว ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้นำชื่อถนนมไหสวรรย์ไปตั้งเป็นชื่อถนนตัดใหม่ซึ่งเชื่อมถนนเจริญนครกับ[[ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน]] เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยามไหสวรรย์ (กอ สมบัติศิริ)<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/>
== ทางแยกสำคัญ ==