ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (เสือ สนธิรัตน์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ สนธิรัตน์) เป็นบุตรชายของ[[เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)]] แม่ทัพและ[[สมุหนายก]]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มารดาของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ) คือเจ้าสุมณฑาเชื้อพระวงศ์ลาวเวียงจันทน์<ref>[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร|พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น]]. '''ศกุนตลา บทลครร้องสำหรับเล่นบทเวที''': ประวัติท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร. พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร, กรกฎาคม พ.ศ. 2504.</ref> เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ) มีพี่น้องได้แก่ [[เจ้าจอมอำพัน ในรัชกาลที่ 2]] พระยาเสนาพิพิธ (หมี) [[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (มั่ง สนธิรัตน์)|เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (มั่ง)]] และ[[เจ้าจอมมารดาปุก ในรัชกาลที่ 3]]
 
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ) ปรากฏครั้งแรกดำรงตำแหน่งเป็น''พระยาราชนิกูล'' ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทยในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]]พ.ศ. 2374 [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ยกทัพไปตีเมือง[[ไซ่ง่อน]] พระยาราชนิกูล (เสือ) เป็นแม่ทัพติดตามเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ไปกับการศึกในครั้งนี้ เมื่อยกทัพถึงเมือง[[พนมเปญ]] เจ้าพระยาบดินทรเดชามอบหมายให้[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)|เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)]] และพระยาราชนิกูล (เสือ) ยกทัพบกจำนวน 7,000 คน ไปทางตะวันออกทางเมืองบาพนมตัดตรงสู่เมืองไซ่ง่อน ในขณะที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาและ[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] ยกทัพเรือไปทาง[[แม่น้ำบาสัก]]ไปเมืองไซ่ง่อน ปรากฏว่าทัพเรือญวนสามารถเอาชนะทัพเรือสยามได้ใน[[การรบที่คลองหวั่มนาว]] (Vàm Nao) เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังถอยทัพกลับ<ref name=":0">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref> ชาวกัมพูชาจึงลุกฮือขึ้นต่อต้านกองทัพสยาม ฝ่ายเจ้าพระยานครราชสีมาและพระยาราชนิกูลถูกชาวกัมพูชาโจมตีจึงทราบว่าทัพหลักของสยามพ่ายแพ้และถอยกลับไปแล้ว จึงยกทัพกลับปรากฏว่าพอถึง[[แม่น้ำโขง]]เรือที่ใช้ข้ามแม่น้ำถูกชาวกัมพูชาเก็บหายไปสิ้น พระยาพิไชยสงคราม (เพชร) ผูกแพเป็นทุ่นข้ามแม่น้ำโขง<ref name=":0" /> ทัพของพระยาราชนิกูล (เสือ) จึงสามารถข้ามแม่น้ำโขงกลับมาได้ พระยาราชนิกูลและพระยาจ่าแสนยบดี ไปตั้งหลักที่บ้านอินกุมารแขวงเมืองกำพงสวาย เจ้าพระยาบดินทรเดชาจงจึงมีคำสั่งให้พระยาราชนิกูลถอยทัพกลับ[[นครราชสีมา]]
 
สงครามอานัมสยามยุทธครั้งต่อมาในพ.ศ. 2383 ขุนนางกัมพูชาทั้งหลายต่างลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของเวียดนาม เจ้าพระยาบดินทรเดชามอบหมายให้พระยาราชนิกูล (เสือ) ยกทัพจากเมือง[[เสียมราฐ (เมือง)|เสียมราฐ]]ขึ้นไปทางด้านเหนือของทะเลสาบเขมรเข้าโจมตีค่ายของญวนที่เมืองชีแครงและเมืองกำปงสวาย พระยาราชนิกูลสามารถยึดเมืองชีแครงและกำปงสวายได้สำเร็จ แต่ต่อมาไม่นาน"องเตียนกุน" [[เจือง มิญ สาง|เจืองมิญสาง]] (Trương Minh Giảng) แม่ทัพญวนยกทัพมาตีเมืองกำพงสวายและชีแครงคืนไปทัพของพระยาราชนิกูลแตกพ่ายกลับมา<ref name=":0" />