ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sir.Dojo (คุย | ส่วนร่วม)
นำเนื้อหาที่เกี่ยวกับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ออก เนี่องจาก Ref[3] และ Ref[5] ไม่น่าเชื่อถือ บทตวาม เนื้อหา ของ ใจจริง, ณัฐพล ไม่ได้รับการยอมรับ และถูกตั้งคำถามถึงข้อความอันเป็นเท็จในการเผยแผ่
TTBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
ผลจากรัฐประหารในครั้งนี้ ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ทำให้พวกเสรีนิยมและลัทธิรัฐธรรมนูญหมดอำนาจ[6]:187 มีการวิเคราะห์ว่า รัฐบาล พ.ต. ควง อภัยวงศ์ แม้จะได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งมา ก็ไม่มีอำนาจและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะนายทหาร ซึ่งหลังจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่งก่อตั้งมาก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็มีความแตกแยกกันเองภายในพรรค สืบเนื่องจากการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลจอมพล ป. ของสมาชิกพรรคบางคน ทำให้สมาชิกพรรคหลายคนได้ลาออก เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เลขาธิการพรรค, นายเลียง ไชยกาล, นายสุวิชช พันธเศรษฐ, นายโชติ คุ้มพันธ์ เป็นต้น ถือเป็นความแตกแยกกันของพรรคเป็นครั้งแรก[7]
 
ผลของรัฐประหารยังขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของปรีดี พนมยงค์ ซึ่งได้แก่ ขบวนการเสรีไทยและคณะราษฎรสายพลเรือน ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง รัฐประหารดังกล่าวเป็นการชิงตัดหน้าแผนของรัฐบาลในการปราบปรามผู้ต่อต้าน ทำให้ขั้วอำนาจปรีดีกระจัดกระจายอย่างฉับพลัน[1]:66 แต่พันธมิตรทางการเมืองของเขายังพยายามต่อต้านโดยคิดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น และการโฆษณาต่อต้านรัฐบาลในพระนครและภาคอีสาน จนคณะรัฐประหารใช้กฎหมายเข้าปราบปราม[1]:66–7 {{ไม่ได้ลงชื่อ|Sir.Dojo|14:39, 8 มิถุนายน 2564 (ICT)}}
กลับไปที่หน้า "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490"