ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 61:
ปฏิบัติการครั้งนี้จะต้องใช้กองกำลังทหารโดดร่มจำนวนมากมาย โดยมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์คือเพื่อปกป้องสะพานและเพื่อให้หน่วยกองกำลังยานเกราะทางภาคพื้นดินได้รุกคืบไปอย่างรวดเร็วเพื่อรวมตัวกันในทางตอนเหนือของเมืองอาร์เนม ปฏิบัติการดังกล่าวจำเป็นจะต้องเข้ายึดสะพานโดยทหารโดดร่มในการข้าม[[แม่น้ำเมิซ]] แขนสองข้างของแม่น้ำไรน์([[แม่น้ำวาลล์]]และ[[แม่น้ำโลเออร์]]) พร้อมกับข้ามลำคลองและแควน้ำเล็ก ๆ หลายแห่ง อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม กองกำลังทหารโดดร่มขนาดใหญ่ กองกำลังทางภาคพื้นดินขนาดเบาโดยมีเพียงกองทัพน้อยหน่วยเดียวที่เคลื่อนทีไปทางเหนือของไอนด์โฮเวน กองทัพน้อยที่ 30 กองทัพน้อยที่ 30 ได้นำยานพาหนะจำนวน 5,000 คัน ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ทอดสะพานข้ามแม่น้ำและทหารช่างจำนวน 9,000 นาย<ref name="auto">The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 4 The Road to Arnhem</ref>
 
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดสะพานหลายแห่ง ระหว่างเมือง[[ไอนด์โฮเวน]] และ[[ไนเมเคิน]] ในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการ การรุกคืบของกองกำลังทางภาคพื้นดินของกองทัพน้อยที่ 30 ภายใต้การนำโดยพลโท Brian Horrock นั้นล่าช้า เนื่องจากความล้มเหลวครั้งแรกของหน่วยทหารโดดร่มในการปกป้องสะพานที่ Son en Breugel และไนเมเคิน กองทัพเยอรมันได้ทำลายสะพานข้ามคลอง Wilhelmina ที่ Son ก่อนที่จะถูกเข้ายึดครองโดย[[กองพลส่งทางอากาศที่ 101]] ของสหรัฐ และสะพานเบลีย์ที่สำเร็จรูปถูกทำขึ้นได้เพียงแค่บางส่วนได้ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนคลองโดยทหารช่างบริติช การรุกคืบของกองทัพน้อยที่ 30 นั้นล่าช้าไป 12 ชม. อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ทำเวลา เดินทางมาถึงไนเมเคินตามเวลาที่กำหนด กองพลขนส่งทางอากาศที่ 82 ของสหรัฐ นั้นล้มเหลวในการเข้ายึดสะพานทางหลวงหลักในการข้ามแม่น้ำวาลล์ที่ไนเมเคิน ก่อนวันที่ 20 กันยายน ทำให้การรุกคืบล่าช้าไป 36 ชม. กองทัพน้อยที่ 30 ต้องเข้าไปยึดสะพานด้วยตัวพวกเขาเองก่อน แทนที่จะเร่งรีบข้ามสะพานที่ยึดมาเพื่อไปยังอาร์เนม ที่ซึ่งพลทหารโดดร่มบริติชยังคงยึดครองทางตอนเหนือสุดของสะพาน<ref name="auto12">The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 5 Nijmegen</ref>
 
ที่จุดทางตอนเหนือของปฏิบัติการการโดดร่ม [[กองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 (สหราชอาณาจักร)|กองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 ของบริติช]]ได้เผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรง ด้วยความล่าช้าในการเข้ายึดสะพานที่ไนเมเคินและการสร้างสะพานเบลีย์ที่ Son ทำให้กองทัพเยอรมันมีเวลา ([[กองพลยานเกราะที่ 9 แห่งเอ็สเอ็ส "โฮเอินชเตาเฟิน"]] และ[[กองพลยานเกราะที่ 10 แห่งเอ็สเอ็ส "ฟรุนทซ์แบร์ค"]] ซึ่งอยู่ในพื้นที่อาร์เนม ในช่วงเริ่มต้นของการโดดร่ม) เพื่อจัดระเบียบในการโจมตีตอบโต้กลับของพวกเขา<ref>{{harvnb|Middlebrook|1995|pp=64–65}}</ref> กองกำลังขนาดเล็กของบริติชสามารถเข้ายึดทางเหนือสุดของ[[สะพานจอห์น ฟรอสต์|สะพานถนนอาร์เนม]] การไม่ยอมใช้สะพานที่ไม่เสียหายต่อกองทัพเยอรมัน ภายหลังจากกองกำลังทางภาคพื้นดินล้มเหลวในช่วยเหลือทหารโดดร่มตามเวลา พวกเขาถูกบุกในวันที่ 21 กันยายน ในเวลาเดียวกัน เมื่อรถถังของกองทัพน้อยที่ 30 ได้เคลื่อนที่ผ่านสะพานไนเมเคิน ซึ่งช้าไป 36 ชม. ภายหลังจากยึดครองได้จากเยอรมัน ทหารโดดร่มของบริติชที่สะพานอาร์เนมก็ได้ยอมจำนน ซึ่งไม่สามารถยึดครองได้อีกต่อไป<ref name="auto1">The Battle for the Rhine 1944 by Robin Neillands, Chapter 5 Nijmegen</ref> ส่วนที่เหลือของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 1 ของบริติชที่ติดอยู่ในวงล้อมขนาดเล็ก ๆ ทางตะวันตกของสะพานอาร์เนม ซึ่งได้ถูกอพยพ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ภายหลังจากประสบความสูญเสียอย่างหนัก