ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nateeto (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมประวัติในวัยเรียนและช่วงต้นของการรับราชการ
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 46:
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยมัธยม ([[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]]) ในปี พ.ศ. 2457 เหล่าปืนใหญ่ ซึ่งในรุ่นที่จบการศึกษานั้นเป็นเหล่าปืนใหญ่ทั้งหมดไม่สามารถเลือกเหล่าได้แบบรุ่นที่ผ่านๆมา หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตรับราชการครั้งแรกที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 จังหวัดลพบุรี แต่ภายหลังได้ลาออกจากราชการเนื่องจากมีความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาซึ่งได้ว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการใช้ชีวิตส่วนตัวแบบคนหนุ่มทั่วไปประกอบกับตอนนั้นมีภรรยาทำอาชีพค้าขายอยู่ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) จึงได้ลาออกไปช่วยกันทำมาหากินโดยการนำสินค้าจากกรุงเทพเข้ามาขายทางเรือซึ่งได้กำไรดี แต่ต้องค้าขายโดยการลำบากต้องถ่อเรือและหวนคิดถึงเกียรติยศของความเป็นนายทหารจึงได้หลบหนีภรรยาออกมาเพื่อสมัครเข้ามารับราชการใหม่รวมระยะเวลาที่ลาออกจากราชการ 8 เดือน<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
 
เมื่อกลับเข้ารับราชการใหม่หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตถูกบรรจุที่กรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 2 บางซื่อเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนปืนใหญ่ ลพบุรี เมื่อสำเร็จการศึกษาได้บรรจุที่เดิมได้แค่ 2 เดือนมีคำสั่งให้ไปเป็นผู้บังคับหมวดที่โรงเรียนปืนใหญ่ ประจำอยู่ที่โรงเรียนปืนใหญ่ 4 ปีก็โยกย้ายไปรับราชการเป็นผบ.ร้อยที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 8 เชียงใหม่ ประจำอยู่เชียงใหม่ได้ 2 ปีมีคำสังให้ย้ายมากรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลกซึ่งอยู่ได้ 1 ปีครึ่งต่อมาภายหลังกรมทหารปืนใหญ่ที่ 7 ได้ยุบหน่วยมารวมกับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 นครสวรรค์และประจำการเป็นเวลา 2 ปีครึ่งก่อนที่จะย้ายมาเป็นผบ.ร้อยอยู่ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์เมื่อรับราชการได้ 1 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475<ref>หนังสือ ''สละชีวิตเพื่อคนข้างหลัง สกุล "เกรียงศักดิ์พิชิต" จัด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2507''</ref>
 
หลวงเกรียงศักดิ์พิชิตเป็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันกับ จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]], พลตำรวจเอก [[อดุล อดุลเดชจรัส]], พลเอก [[มังกร พรหมโยธี]], พลอากาศโท [[กาจ กาจสงคราม]] และจอมพล [[ผิน ชุณหะวัณ]] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2475 นักเรียนนายร้อยรุ่นเดียวกันนี้หลายคนได้เข้าร่วมเป็น[[คณะราษฎร]] [[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ]] ซึ่งรวมถึงตัวของหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตด้วย<ref>''สองฝั่งประชาธิปไตย'', "2475". สารคดีทางไทยพีบีเอส: พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2556</ref>