ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันติ กีระนันทน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ '''สันติ กีระนันทน์''' เป็นนักการเมืองชาวไท...
 
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
สันติ กีระนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เขาสำเร็จการศึกษาจาก[[โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]] และ[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ระดับละ 2 ปริญญา คือ บัญชีบัณฑิต (การบัญชี) เกียรตินิยม จาก[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) จาก[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Computer Science) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้นเขายังจบการศึกษาระดับปริญญาเอก บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (Finance) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref name="สภา">[https://hris.parliament.go.th/ss_detail.php?sapa_id=82&ssp_id=21333&lang=th สภาผู้แทนราษฎร]</ref><ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/887951 ฉะใคร? 'สันติ กีระนันทน์' โพสต์ ‘botox-big eyes ไม่สามารถปกปิดสันดานต่ำทราม’]</ref> ภายใต้โครงการนานาชาติ (International Program) ร่วมผลิตดุษฎีบัณฑิตทางบริหารธุรกิจร่วม 3 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (Joint Doctoral program in Business Administration - JDBA) ซึ่่งได้รับการสนับสนุนจาก Canadian International Development Agency (CIDA) โดยเขาได้รับ Merit Award ตลอดการเรียนในหลักสูตร
 
== การทำงาน ==
สันติ กีระนันทน์ เคยทำงานเป็นอาจารย์ประจำ[[คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต่อมาเขาลาออกไปเป็นในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เคยดำรงตำแหน่งคณบดี[[คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต]]<ref name="สภา" /> ตามคำชักชวนของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยทำงานใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] ตำแหน่งรองผู้จัดการ เขาเข้ามาทำงานร่วมกับพรรคพลังประชารัฐโดยรับผิดชอบสายงานการตลาดผู้ลงทุน และการชักชวนของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ตลาดผู้ระดมทุน เป็นหนึ่งในผู้ที่ขับเคลื่อนเบื้องหลังริเริ่มการจัดทำนโยบายพรรคชุด "ประชารัฐ"Live ร่วมกับplatform [[นฤมลเพื่อสนับสนุนให้เกิดการสนับสนุน ภิญโญสินวัฒน์]]startup และโดยใช้กลไกตลาดทุน [[วิเชียร ชวลิต]]<ref name="คมชัดลึก" />
 
หลังจากออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้สร้าง InnoSpace เพื่อสนับสนุนให้เกิด startup ในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือในการก่อตั้งจาก CyberPort, Hong Kong.
 
เขาเข้ามาทำงานร่วมกับพรรคพลังประชารัฐโดยการชักชวนของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่ขับเคลื่อนเบื้องหลังการทำนโยบายพรรคชุด "ประชารัฐ" ร่วมกับ [[นฤมล ภิญโญสินวัฒน์]] และ [[วิเชียร ชวลิต]]<ref name="คมชัดลึก" />
 
ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562]] ผศ.ดร.สันติ ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในลำดับที่ 6 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก โดยสันติ เป็นสมาชิกในกลุ่ม 4 กุมารในพรรคพลังประชารัฐ<ref>[https://www.naewna.com/politic/503317 พปชร.เดือด!!! เด็ก4กุมาร โพสต์ด่าไฟแล่บ‘บิ๊กอาย’เนรคุณ-หักหลังเพื่อน]</ref>
 
มีผลงานวิชาการที่น่าสนใจ คือ
 
'''ตำราและหนังสือวิชาการ'''
 
สันติ กีระนันทน์, เงินทองต้องใส่ใจ, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๔๕
 
สันติ กีระนันทน์, ความรู้พื้นฐานการเงิน: หลักการ เหตุผล แนวคิด และการวิเคราะห์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๔๖     
 
สันติ กีระนันทน์, การลงทุนในตราสารหนี้, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๔๗
 
สันติ กีระนันทน์, 360 องศา ตราสารหนี้, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๔๙
 
สันติ กีระนันทน์, ตลาดทุนยุคใหม่, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๕๙
 
สันติ กีระนันทน์, วิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทตลาดทุน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๖๐
 
'''งานวิจัย'''
 
สันติ กีระนันทน์, การสำรวจพฤติกรรมของนักลงทุนบุคคลที่เน้นการลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นไทย, บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด, เอกสารประกอบการสัมมนาเพื่อการพัฒนาตลาดทุนไทย ประจำปี ๒๕๕๓, สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
 
Kulabutr Komenkul and Santi Kiranand, Aftermarket Performance of Health Care and Biopharmaceutical IPOs: Evidence from ASEAN Countries, A Journal of Medical Care Organization, Provision and Financing 54(4):004695801772710, August 2017.
 
Santi Kiranand, Alternatives for Stock Market Integration Measurement: Investigation of Asian Stock Markets, FINANCE INDIA, Vol. XVIII No. 1, March 2004, Pages 57 – 102.
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==