ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ริชชาร์ท วากเนอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
ความหลงใหลในงานละครของไกเออร์เริ่มส่งอิทธิพลต่อลูกบุญธรรมของเขา ในที่สุด วากเนอร์ก็เริ่มมีส่วนร่วมในการแสดงละครของไกเออร์ ในหนังสือ {{lang|de|Mein Leben}} ("ชีวิตของข้าพเจ้า") ซึ่งเป็นอัตชีวิตประวัติของวากเนอร์ระบุว่าตนเองมักจะมีส่วนร่วมในบททูตสวรรค์<ref>Wagner (1992) 5</ref> ต่อมาในปลาย ค.ศ. 1820 วากเนอร์เข้าศึกษาที่โรงเรียนเมืองโพเซินดอร์ฟ ใกล้กับเดรสเดิน เขามีโอกาสเรียนเปียโนที่นั่นแต่ประสบปัญหาเมื่อต้องเล่นบน[[บันไดเสียง]] จึงอาศัยการฝึกฝนแบบฟังด้วยหูมากกว่า
 
หลังไกเออร์เสียชีวิตใน ค.ศ. 1821 วากเนอร์ถูกส่งตัวไปยังโรงเรียนกางเขน ({{lang|de|Kreuzschule}}) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสวดกางเขนเดรสเดิน ({{lang|de|Dresdner Kreuzchor}}) ด้วยทุนทรัพย์จากน้อยชายของไกเออร์ ขณะที่มีอายุเก้าขวบ วากเนอร์มีโอกาสได้รับชมงานอุปรากร {{lang|de|Der Freischütz}} ของ[[คาร์ล มารีอา ฟ็อน เวเบอร์|เวเบอร์]]และเกิดความประทับใจมาก<ref>Gutman (1990) 78</ref> เขาเริ่มมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนบทละคร บทละครแรกของเขาคือโศกนาฎกรรมที่ชื่อ ''{{lang|de|Leubald''}} ซึ่งเขียนจบใน ค.ศ. 1826 ขณะที่ยังเรียนอยู่ งานชิ้นนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผลงานของ[[วิลเลียม เชกสเปียร์|เชกสเปียร์]]และ[[โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ|เกอเทอ]] เขาเริ่มสนใจดนตรีและร้องขออนุญาตจากครอบครัวให้เขาเรียนดนตรี<ref>Wagner (1992) 25–7</ref>
 
ก่อน ค.ศ. 1827 ครอบครัวของเขาย้ายกลับมาพำนักที่เมืองไลพ์ซิช ใน ค.ศ. 1828 วากเนอร์ในวัยสิบห้าปีได้รับฟัง[[ซิมโฟนีหมายเลข 7 (เบทโฮเฟิน)|ซิมโฟนีหมายเลข 7]] และ[[ซิมโฟนีหมายเลข 9 (เบทโฮเฟิน)|ซิมโฟนีหมายเลข 9]] ของ[[ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน|เบทโฮเฟิน]] ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจหลักให้เขา นอกจากนี้ วากเนอร์ยังประทับใจมากต่อผลงาน[[เรควีเอ็ม (โมทซาร์ท)|เรควีเอ็ม]]ของ[[ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท|โมทซาร์ท]]<ref>Newman (1976) I, 62</ref>