ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ริชชาร์ท วากเนอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
'''ริชชาร์ท วากเนอร์''' ({{lang-de|Richard Wagner}}) เป็น[[คีตกวี]] [[วาทยกร]] ผู้กำกับมหรสพ และนักโต้วาทีชาวเยอรมัน เขาถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในวงการ[[อุปรากร]]
 
ชีวิตของวากเนอร์นับว่ามีสีสันมาก เคยลี้ภัยการเมือง วนเวียนเรื่องรักใคร่มากมาย เดี๋ยวตกยากเดี๋ยวได้ดี ด้วยเหตุนี้ ผลงานของเขาทั้งคีตกรรมและการละครจึงมีความย้อนแย้งกันเองขึ้นกับช่วงเวลา เช่นผลงานของเขาเรื่อง ''{{lang|de|Die fliegende Hollander''}} (''"บุรุษดัตช์ล่องนภา''") แต่งขึ้นขณะที่เขาโดยสารเรือเพื่อหนีหนี้แล้วเผชิญพายุ ระหว่างนั้นก็ได้รับฟังตำนานของเรือ[[ฟลายอิงดัตช์แมน]] ทั้งหมดนี้เป็นแรงบันดาลใจแก่เขา
 
อีกผลงานเด่นคืออุปรากรเรื่อง ''[[โลเอินกรีน]]'' เกี่ยวกับอัศวินที่ขี่หงส์ขาวมาช่วยหญิงสาวผู้ถูกกล่าวหาว่าฆ่าน้องชายของตนผู้เป็นเจ้าครองแคว้น อัศวินต่อสู้กับผู้สำเร็จราชการจนได้รับชัยชนะ อุปรากรเรื่องนี้สร้างความประทับใจอย่างมากต่อ[[พระเจ้าลูทวิชที่ 2 แห่งบาวาเรีย]] ถึงกับทรงตั้งชื่อปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่ตามชื่อหงส์ขาวว่า[[ปราสาทน็อยชวานชไตน์]] พระเจ้าลูทวิชอุดหนุนวากเนอร์หนักมาก ถึงขั้นเกิดข่าวลือว่าทั้งสองเป็นคู่รักกัน
บรรทัด 29:
 
== ประวัติ ==
ริชชาร์ท วากเนอร์ เกิดที่เมือง[[ไลพ์ซิช]] เมื่อ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เป็นบุตรคนที่เก้าของนายคาร์ล ฟรีดริช วากเนอร์ (Carl Friedrich Wagner) เสมียนตำรวจเมืองไลพ์ซิช กับนางโยฮันนา โรซีเนอ (Johanna Rosine) ลูกสาวช่างอบขนมปัง<ref>Wagner (1992) 3; Newman (1976) I, 12</ref> นายคาร์ลเสียชีวิตด้วย[[ไข้รากสาดใหญ่]]ขณะเด็กชายมีอายุเพียงหกเดือน หลังจากนั้น มารดาจึงไปอาศัยอยู่กับนายไกเออร์ เพื่อนของคาร์ลผู้เป็นนักแสดงและนักเขียนบทละคร<ref>Newman (1976) I, 6</ref> เชื่อว่าโยฮันนากับไกเออร์สมรสกันในค.ศ. 1814 แต่ไม่ปรากฎหลักฐานในงานทะเบียนของโบสถ์ เธอพาลูกย้ายไปอาศัยที่บ้านไกเออร์ที่เมือง[[เดรสเดิน]] เด็กชายริชชาร์ทจึงเติบโตที่นั่นจนมีอายุสิบสี่ปี ซึ่งตลอดที่ผ่านมา เด็กชายมีอีกชื่อว่า '''วิลเฮล์ม ริชชาร์ท ไกเออร์''' (Wilhelm Richard Geyer) วากเนอร์เกือบจะเชื่อว่านายไกเออร์คือพ่อที่แท้จริงของตนเอง<ref>Newman (1976) I, 9</ref>
 
ความหลงใหลในงานละครของนายไกเออร์เริ่มส่งอิทธิพลต่อลูกบุญธรรมของเขา ในที่สุด วากเนอร์ก็เริ่มมีส่วนร่วมในการแสดงละครของไกเออร์ ในหนังสือ ''{{lang|de|Mein Leben''}} (''ชีวิตของข้าพเจ้า'') ซึ่งเป็นอัตชีวิตประวัติของวากเนอร์ระบุว่าตนเองมักจะมีส่วนร่วมในบททูตสวรรค์<ref>Wagner (1992) 5</ref> ต่อมาในปลายค.ศ. 1820 วากเนอร์เข้าศึกษาที่โรงเรียนเมืองโพเซินดอร์ฟ ใกล้กับเดรสเดิน เขามีโอกาสเรียนเปียโนที่นั่นแต่ประสบปัญหาเมื่อต้องเล่นบน[[บันไดเสียง]] จึงอาศัยการฝึกฝนแบบฟังด้วยหูมากกว่า
 
หลังไกเออร์เสียชีวิตใน ค.ศ. 1821 วากเนอร์ถูกส่งตัวไปยังโรงเรียนกางเขน ({{lang|de|Kreuzschule}}) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสวดกางเขนเดรสเดิน ({{lang|de|Dresdner Kreuzchor}}) ด้วยทุนทรัพย์จากน้อยชายของไกเออร์ ขณะที่มีอายุเก้าขวบ วากเนอร์มีโอกาสได้รับชมงานโอเปร่าอุปรากร ''{{lang|de|Der Freischütz''}} ของ[[คาร์ล มารีอา ฟ็อน เวเบอร์|เวเบอร์]]และเกิดความประทับใจมาก<ref>Gutman (1990) 78</ref> เขาเริ่มมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนบทละคร บทละครแรกของเขาคือโศกนาฎกรรมที่ชื่อ ''Leubald'' ซึ่งเขียนจบในค.ศ. 1826 ขณะที่ยังเรียนอยู่ งานชิ้นนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผลงานของ[[วิลเลียม เชกสเปียร์|เชกสเปียร์]]และ[[โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ|เกอเทอ]] เขาเริ่มสนใจดนตรีและร้องขออนุญาตจากครอบครัวให้เขาเรียนดนตรี<ref>Wagner (1992) 25–7</ref>
 
ก่อน ค.ศ. 1827 ครอบครัวของเขาย้ายกลับมาพำนักที่เมืองไลพ์ซิช ใน ค.ศ. 1828 วากเนอร์ในวัยสิบห้าปีได้รับฟัง[[ซิมโฟนีหมายเลข 7 (เบทโฮเฟิน)|ซิมโฟนีหมายเลข 7]] และ[[ซิมโฟนีหมายเลข 9 (เบทโฮเฟิน)|ซิมโฟนีหมายเลข 9]] ของ[[ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน|เบทโฮเฟิน]] ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจหลักให้เขา นอกจากนี้ วากเนอร์ยังประทับใจมากต่อผลงาน[[เรควีเอ็ม (โมทซาร์ท)|เรควีเอ็ม]]ของ[[ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท|โมทซาร์ท]]<ref>Newman (1976) I, 62</ref>