ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสักยันต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ พงศ์ สาริตาจินดา (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Aranya
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
การสักยันต์มีมาก่อน[[อาณาจักรสุโขทัย]] โดยต้นแบบน่าจะมาจาก[[ขอม]]ในขณะที่ขอมยังครอบครอง[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]เมื่อประมาณ 1,400 ปีที่แล้ว เพราะ[[อักษร|อักขระ]]และลวดลายที่ใช้สักกันนั้นเป็นแบบ[[อักษรขอม]] และใช้[[ภาษาบาลี]]เป็นส่วนใหญ่<ref>[http://tattoothai-magic.com/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=60&lang=en ความเป็นมาของการสักยันต์]</ref>
 
ส่วนใน[[ประเทศไทย]][[การสัก]]สืบทอดกันมาแต่โบราณ ในอดีต[[ข้าราชการ]]ของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของแผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย สันนิษฐานว่า การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัย[[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยา]]ตอนต้น ในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]<ref name="ประวัติ"/><ref> พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2561). รหัสพุทธธรรม : ยันต์โสฬสที่วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา Code of Buddhadahmma : Yantra Solasa in Wat Na Phra Meru in Ayutthaya http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/Yantra-12-6-63-1-1.pdf</ref>
 
แม้ว่าการสักยันต์ในประเทศไทยจะมีมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนนัก จะมีก็แต่หลักฐานที่ปรากฏใน[[วรรณคดี]]เรื่อง "[[ขุนช้างขุนแผน]]" และ[[วรรณกรรม]]อื่น ๆ โดยเชื่อมโยงกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ ทำให้แคล้วคลาดต่ออันตรายต่าง ๆ เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจมีความมั่นคง ซึ่งการสักยันต์เพื่อหวังผลทางไสยศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เพื่อผลทางเมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี<ref name="ประวัติ"/>