ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2496–2513)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 81:
ใน พ.ศ. 2506 พระนโรดม สีหนุได้ประกาศให้การธนาคาร การค้ากับต่างชาติและการประกันภัยเป็นของรัฐเพื่อลดอิทธิพลของต่างชาติในด้านเศรษฐกิจ ใน พ.ศ. 2507 ได้จัดตั้งบริษัทการค้าของรัฐคือสหกรณ์ส่งออก-นำเข้าแห่งชาติ เพื่อควบคุมการค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เน้นชาตินิยมเขมรมากกว่านิยมจีนหรือเวียดนาม ทำให้การลงทุนจากต่างชาติหายไป หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2509 พรรคสังคมชนะการเลือกตั้ง ลน นลได้เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ฝ่ายขวามีอิทธิพลในพรรคและรัฐบาลมากขึ้น เมื่อลน นลประอุบัติเหตุทางรถยนต์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 ซอน ซานได้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
===พัฒนาการภายในประเทศ===
[[ไฟล์:Sinn Sisamouth.jpg|thumb|150px|left|[[สิน ศรีสมุทร]]]]
 
== การสนับสนุนการศึกษา ==
[[ไฟล์:มหาวิทยาลัยสังคมราษฎรนิยม.jpg|right|180150px|thumb|
อาคารเรียนของมหาวิทยาลัยสังคมราษฎรนิยมซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น[[มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ]]ในสมัยการปกครองของพระสีหนุ]]
[[ไฟล์:The Duty of the Royal Cambodian is to Defend Your Family - NARA - 5729939.jpg|thumb|180px|right|''ปกป้องชาติพันธุ์สายเลือด[[ชาวเขมร|เขมร]]'' โฆษณาชวนเชื่อ[[พรรคสังคมราษฎร์นิยม]]ที่มีแนวคิด[[เชื้อชาตินิยม]]อย่างรุนแรง]]
 
หลังจากมีนโยบายดังกล่าวแล้วพระนโรดม สีหนุทรงสนับสนุนให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นในกัมพูชาจำนวนมาก ใน พ.ศ. 2508 ทรงให้จัดตั้งวางระบบมหาลัยวิทยาลัยของกัมพูชาขึ้นโดยยึดการจัดการของมหาวิทยาลัยในไทยเป็นแม่แบบ มีการตั้งมหาวิทยาลัยภูมินทร์วิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางทางด้านศิลปะ ในปีเดียวกันนี้ ในกัมพูชามีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาถึง 5 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยภูมินทร์วิจิตรศิลป์ [[มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ]] มหาวิทยาลัยภูมินทร์กำปงจาม มหาวิทยาลัยภูมินทร์ตาแก้ว-กำปอต และมหาวิทยาลัยภูมินทร์ปัจเจกเทศ โดยทุกแห่งมีอธิการบดีเป็นชาวกัมพูชา และพยายามจัดการศึกษาเป็นของตัวเองโดยไม่ตามอย่างฝรั่งเศส <ref>ธิบดี บัวคำศรี. ประวัติศาสตร์กัมพูชา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. เมืองโบราณ. 2555</ref>
==สังคม==
===ดนตรี===
[[ไฟล์:Sinn Sisamouth.jpg|thumb|150px|[[สิน ศรีสมุทร]]]]
หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว เจ้านโรดม สีหนุได้ทรงนำดนตรีมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับประเทศเกิดใหม่นี้ด้วยการให้การอุปถัมภ์นักดนตรีประจำราชสำนักหลายคนให้สร้างผลงานสไตล์ใหม่ ๆ เช่น [[สิน ศรีสมุทร]] ซึ่งเริ่มต้นอาชีพนักดนตรีหลวงด้วยการเป็นนักร้องแนวบัลลาดในพระราชวัง ก่อนจะเป็นที่รู้จักในฉายา ‘ราชาร็อกแอนด์โรลแห่งกัมพูชา’ ในปลายยุค ค.ศ. 1960 เจ้านโรดม สีหนุ นำเข้าดนตรีตะวันตกหลากหลายแนวสู่กัมพูชา ควบคู่กับการนำเข้ามาโดยชาวกัมพูชาที่ร่ำรวยซึ่งสำเร็จการศึกษาจากฝรั่งเศส ในยุคนั้นมีค่ายเพลงผุดขึ้นมากมายในกัมพูชา และมีไนต์คลับสำหรับการฟังดนตรี-เต้นรำอยู่ทั่วไปในกรุงพนมเปญ<ref>{{cite web|author= Piyakul Phusri|url=https://www.fungjaizine.com/article/guru/khmer |title=Saving the seven symbols|publisher=They Sang Before They Were Killed เรื่องราวบางเสี้ยวของบทเพลงกัมพูชายุคก่อนเขมรแดง|date= 17 เมษายน 2561|accessdate= 21 ตุลาคม 2561}}</ref>
 
ในยุครุ่งเรืองของดนตรีกัมพูชาช่วงปี ค.ศ. 1960 – 1970 ซุปเปอร์สตาร์ฝ่ายชายที่โด่งดังที่สุดของประเทศในขณะนั้นคือ สิน ศรีสมุทร เจ้าของฉายา ‘ราชาร็อกแอนด์โรลแห่งกัมพูชา’ ส่วนซุปเปอร์สตาร์ฝ่ายหญิงของประเทศคือ [[รส เสรีโสธา]] เจ้าของฉายา ‘ราชินีเสียงทอง’<ref>{{cite web|author= Piyakul Phusri|url=https://www.fungjaizine.com/article/guru/khmer |title=Saving the seven symbols|publisher=They Sang Before They Were Killed เรื่องราวบางเสี้ยวของบทเพลงกัมพูชายุคก่อนเขมรแดง|date= 17 เมษายน 2561|accessdate= 21 ตุลาคม 2561}}</ref>
=== นโยบายเชื้อชาติ ===
{{See also|ความรู้สึกต่อต้านไทย}}
รัฐบาลพระราชอาณาจักรภายใต้การบริหารของ[[พรรคสังคมราษฎร์นิยม]]ได้มีนโยบาย[[เชื้อชาตินิยม]]ในระยะแยกหลังเกิด[[คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505|คดีปราสาทเขาพระวิหาร]]ได้มีการต่อต้านชาวไทยหรือคนที่มีเชื้อสาย[[ไทยสยาม]]เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก พระนโรดมได้ประกาศให้ถือเชื้อสายชาวเขมรเป็นชาติพันธุ์บริสุทธิ์ ชาวไทยสยามจัดเป็นพลเมืองชั้นสอง โดยถูกห้ามเป็นเจ้าของกิจการ ห้ามแต่งงานกับชาวเขมร นโยบายดังกล่าวยังเป็นผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไทยสยามในจังหวัดเสียมราฐ [[พระตะบอง]] [[ศรีโสภณ]] ซึ่งมีประชาการไทยสยามจำนวนมากอาศัยอยู่ในสมัยที่เคยตกเป็นของไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนบริเวณจังหวัดเกาะกงมีการกวาดล้างครั้งใหญ่และรุนแรงที่สุดทำให้[[ไทยเกาะกง|ชาวไทยเกาะกง]]จำนวนมากต้องเสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว