ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aefgh3962 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox language family |name=กลุ่มภาษาบอลโต-สลาวิก |map=Balto Slavic countries.svg |mapcaption=ประเทศที่ภ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:34, 25 มีนาคม 2564

กลุ่มภาษาบอลโต-สลาวิก เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เดิมประกอบด้วยเพียงกลุ่มภาษาบอลติกและกลุ่มภาษาสลาวิก โดยภาษาต่าง ๆ ในทั้งสองกลุ่มมีลักษณะหลายอย่างที่เหมือนกัน ซึ่งไม่พบในกลุ่มภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งนำไปสู่พัฒนาการที่มีร่วมกันของภาษาในกลุ่มนี้

กลุ่มภาษาบอลโต-สลาวิก
ภูมิภาค:ยุโรปเหนือ, ยุโรปตะวันออก, ยุโรปกลาง, ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียเหนือ, บางส่วนของเอเชียกลาง
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
  • กลุ่มภาษาบอลโต-สลาวิก
ภาษาดั้งเดิม:ภาษาบอลโต-สลาฟดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:balt1263[1]
{{{mapalt}}}
ประเทศที่ภาษาในกลุ่มต่อไปนี้เป็นภาษาประจำชาติ:
  กลุ่มภาษาสลาวิกตะวันออก
  กลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก
  กลุ่มภาษาสลาวิกใต้
  กลุ่มภาษาบอลติกตะวันออก

ถึงแม้ว่าจะมีการถกเถียงเกี่ยวกับการประกาศให้รวมกลุ่มภาษาบอลติกและกลุ่มภาษาสลาวิกเป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน[2] ซึ่งบางส่วนอาจมีสาเหตุมาจากประเด็นโต้แย้งทางการเมือง แต่ปัจจุบันก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนให้จัดกลุ่มภาษาบอลติกและกลุ่มภาษาสลาวิกเข้าเป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน แต่ก็ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านธรรมชาติต่าง ๆ ของภาษาที่อยู่ในกลุ่มนี้อยู่[3]

อ้างอิง

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Balto-Slavic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. "Balto-Slavic languages. Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online". Encyclopædia Britannica Inc. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012. Those scholars who accept the Balto-Slavic hypothesis attribute the large number of close similarities in the vocabulary, grammar, and sound systems of the Baltic and Slavic languages to development from a common ancestral language after the breakup of Proto-Indo-European. Those scholars who reject the hypothesis believe that the similarities are the result of parallel development and of mutual influence during a long period of contact.
  3. Fortson (2010), p. 414.