ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลดทอนเนื้อหาให้กระชับกว่าเดิม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 9:
 
=== ก่อนกำเนิด (พ.ศ. 2474 - 2475, พ.ศ. 2492 - 2498) ===
[[ประเทศไทย]]รู้จักสิ่งที่เรียกว่า "Television" เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2474 โดย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น มีพระประสงค์ที่จะทรงจัดตั้งกิจการนี้ในประเทศไทยขึ้น โดยติดต่อกับบริษัทเอกชนรายหนึ่งของ[[สหรัฐ]] เพื่อจัดหาและติดตั้งเครื่องส่งและอุปกรณ์เพื่อทดลองออกอากาศ และหากโครงการนี้เป็นที่พอพระทัยก็จะโปรดให้สั่งซื้อเพื่อเก็บเอาไว้ใช้ในงานราชการ แต่เนื่องจากมี[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] โครงการดังกล่าวจึงถูกยกเลิก (ซึ่งหากสำเร็จ ไทยอาจเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีโทรทัศน์)<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=246355 เมื่อเริ่มกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย] จากบล็อก โอเคเนชั่น</ref><ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย หน้า 34</ref> ผ่านไป 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2492 [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] เขียนบทความเพื่อแนะนำ "[[วิทยุภาพ]]" เทคโนโลยีสื่อสารชนิดใหม่ของโลกให้ผู้อ่านรู้จัก ต่อมากรมประชาสัมพันธ์ส่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งไปศึกษางานดังกล่าวที่[[สหราชอาณาจักร]]ในราวปี พ.ศ. 2493 เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อจอมพล[[แปลก พิบูลสงคราม]] [[นายกรัฐมนตรี]] เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์รัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่เมื่อเรื่องเข้าสู่[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 5|สภาผู้แทนราษฎร]] ส.ส. ส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน<ref>{{Cite web|last=|first=|date=26 ตุลาคม 2549|title=ขุดกรุ : จากสถานี HS 1 PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ|url=http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=614|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=18 ธันวาคม 2563|website=รถไฟไทยดอทคอมดอตคอม}}</ref>
 
จากนั้น บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง มาทดลองแพร่ภาพการแสดงดนตรีของ[[วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์]] จากห้องส่งวิทยุกระจายเสียงของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]]ภายในกรมประชาสัมพันธ์ โดยถ่ายทอดสดไปยังเครื่องรับ 4 เครื่อง ภายในทำเนียบรัฐบาล, ใกล้กรมประชาสัมพันธ์ และโถง[[ศาลาเฉลิมกรุง]]ชั้นล่าง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีและประชาชนรับชมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ในระยะนี้[[สื่อมวลชน]]ต้องการนำเสนอถึง "Television" ดังกล่าวนี้ แต่ไม่แน่ใจชื่อเรียกในภาษาไทย จึงกราบทูลถามไปยัง[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] อดีตนายก[[ราชบัณฑิตยสถาน]] และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]]ในขณะนั้น ด้วยเป็น[[ศาสตราจารย์]]ทางอักษรศาสตร์ ให้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ ก่อนจะทรงบัญญัติขึ้นเป็นคำว่า "วิทยุโทรทัศน์" และต่อมาประชาชนนิยมเรียกอย่างสังเขปว่า "[[โทรทัศน์]]"<ref>{{Cite web|last=|first=|date=5 กรกฎาคม 2552|title=ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย|url=http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=246355|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=18 ธันวาคม 2563|website=โอเคเนชั่น}}</ref>