ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประกันภัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Peeraphonj (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรายละเอียดประเภทของประกันภัยในประเทศไทย โดยเน้นรายละเอียดที่ชี้ให้เห็นถึงปลีกย่อยของ การประกันภัยรูปแบบต่างๆให้มีความชัดเจน และละเอียดกว่าเดิม เนื่องจากของเดิมมีแค่ 2 ประเภท เท่านั้น
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 61:
* '''ประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance)''' สำหรับการประกันชีวิตแบบรายบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงและคุ้มครองในการสูญเสียรายได้อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตรวมถึงเป็นการออมทรัพย์ โดยมีการกำหนดเบี้ยประกันแบบยืดหยุ่นรายเดือน รายครึ่งปี ราย 3 เดือน หรือ รายปี และประกันลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ
 
* '''ประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance)''' แตกต่างจากประเภทสามัญในเรื่องของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ต่ำกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลาง และมีการชำระค่าเบี้ยประกันเป็นรายเดือนเพื่อแบ่งเบาภาระให้กับผู้เอาประกัน การประกันรูปแบบนี้ อาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอคอย (Waiting Period) มาตรฐานที่ 180 วัน ซึ่งหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทประกันสามารถปฎิเสธปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยได้
 
* '''ประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance)''' เรียกอีกอย่างว่าการประกันชีวิตประเภทหมู่ เป็นการรวมบุคคลหลายคนเข้าอยู่ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยที่เบี้ยประกันจะถูกเฉลี่ยตามจำนวนผู้เอาประกันภัย มักพบมากในการทำประกันในรูปแบบพนักงานบริษัท องค์กร โดยมีจุดประสงค์ในการคุ้มครองความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ อันเนื่องมาจากการทำงานหรือไม่ก็ตาม
บรรทัด 101:
===== ประเภทของการประกันรถยนต์ =====
 
* '''ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)''' อีกชื่อหนึ่งคือ ประกันภัย พ.ร.บ. ประกันภัยประเภทนี้ถูกบังคับโดย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535<ref>{{Cite web|title=ระบบสืบค้นกฏหมายกฎหมายประกันภัย E-Law Library : สมาคมประกันวินาศภัย|url=http://www2.tgia.org/elawlibrary/announced_table.asp?mstid=PRB02|website=www2.tgia.org}}</ref> โดยที่รถยนต์ทุกประเภทต้องมีประกันภัยลักษณะนี้
* '''ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)''' เป็นประกันภัยที่ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่าง บริษัทประกันภัย และ ผู้ซื้อ หรือเจ้าของรถยนต์ โดยไม่ใช่ภาคบังคับ ซึ่งบริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบจาก ประกันภัย พ.ร.บ.