ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเปลือกไม้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 20:
[[ไฟล์:Manipur Treecreeper Certhia manipurensis by Raju Kasambe (cropped).jpg|thumb|หางยาวของนกเปลือกไม้ ขณะค้ำยันเปลือกไม้]]
 
'''นกเปลือกไม้''' ({{lang-en|Manipur treecreeper หรือ Hume's treecreeper}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Certhia manipurensis}}) เป็นนกขนาดเล็กที่ไต่หากินตามแนวดิ่งของเปลือกลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ในป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ มีปากเรียวแหลมยาวและโค้ง ลำตัวสีน้ำตาลลาย หางยาวแข็งช่วยในการค้ำยันต้นไม้ขณะไต่ นกเปลือกไม้ (''C. manipurensis'') แยกเป็นชนิดใหม่ออกจากนกเปลือกไม้สิกขิม (''C. discolor'') จากสีโทนส้มที่โดดเด่นที่คางและก้น รวมทั้งเสียงร้องที่ลากยาวกว่า และยังเป็นชนิดเดียวในวงศ์นกเปลือกไม้ (Certhioidea) ที่ถูกจัดให้เป็นนกประจำถิ่นของประเทศไทย<ref>[https://dktnfe.com/web59/?p=1454 นกเปลือกไม้ Hume’s Treecreeper] ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย. 12 กันยายน 2556.</ref> มีถิ่นอาศัยทางตอนเหนือของไทยที่ติดกับลาวและพม่า ได้แก่ที่ตาก แม่ฮ่องสอน และน่าน
 
== อนุกรมวิธาน ==
บรรทัด 38:
 
== ลักษณะทางชีววิทยาและพฤติกรรม ==
นกเปลือกไม้เป็นนกป่าขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 14 ซม. น้ำหนัก 9-11 กรัม<ref>Simon Harrap. [https://birdsoftheworld.org/bow/species/bnttre2/1.0/introduction Hume's Treecreeper ''Certhia manipurensis''] The Cornell Lab of Ornithology - Birds of the World, 4 มีนาคม 2563.</ref> ปากเรียวแหลม ค่อนข้างยาวและโค้งลงเล็กน้อย ใช้สำหรับชอนไชจับแมลงออกจากเปลือกไม้ แถบหน้าน้ำตาลดำ มีคิ้วน้ำตาลเทาอ่อน ขนลำตัวด้านบนน้ำตาลมีลายดำและน้ำตาลอ่อน หางน้ำตาลแดงค่อนข้างยาว มีขนหางแข็งคล้ายนกหัวขวาน ใช้ในการค้ำยันต้นไม้ ลำตัวด้านล่างสีขาวหม่น หรือเทาอ่อน คอและก้นมีสีน้ำตาลแกมส้ม ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพเด่นที่ทำให้แยกออกจาก นกเปลือกไม้สิกขิม (Sikkim Treecreeper) ที่มีสีมอ ๆ<ref name=":2" />
 
เป็นนกที่ไต่หาตัวอ่อนแมลงกินตามแนวดิ่งของเปลือกลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "นกเปลือกไม้" ในภาษาไทย และ "Treecreeper" หรือนักไต่ต้นไม้ในภาษาอังกฤษ อาจพบเป็นฝูงเป็นครั้งคราวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มักร้องเสียง "ชิว - จิ๊ด" (เสียงกลาง - สูง) ซ้ำ ๆ เป็นจังหวะลากยาว และช้ากว่าของนกเปลือกไม้สิกขิม<ref name=":2">[https://ebird.org/species/bnttre2?siteLanguage=th นกเปลือกไม้] eBird. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564.</ref>