ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 101:
{{มีอักษรพม่า}}
 
'''พม่า'''<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=118|issue=พิเศษ 117 ง |pages=2|title=ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/117/2.PDF|date=26 พฤศจิกายน 2544|language=}}</ref><ref>ราชบัณฑิตยสถาน. ''พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔.'' กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 804. "พม่า ๑ [พะม่า] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย."</ref> หรือ '''เมียนมา'''<ref>{{Cite web |url=http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2015/05/Rohingya.pdf|title=ข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาชี้แจงคำ "โรฮีนจา" และ "เมียนมา"|work=สำนักงานราชบัณฑิตยสภา|date=|accessdate=1 กุมภาพันธ์ 2564}}</ref> ({{lang-my|မြန်မာ}}, {{IPA|[mjəmà]}}, ''มฺยะหฺม่า'') มีชื่อทางการว่า '''สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า''' หรือ '''สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา''' ({{lang-my|ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်‌}}, {{IPA|[pjìdàuɴzṵ θàɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀]}} ''ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ'') เป็นรัฐเอกราชใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] มีพรมแดนติดกับ[[อินเดีย]] [[บังกลาเทศ]] [[ประเทศจีน|จีน]] [[ลาว]] และ[[ไทย]] หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตาม[[อ่าวเบงกอล]]และ[[ทะเลอันดามัน]] ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่[[รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมด|ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก]] และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุง[[เนปยีดอ]] และนครใหญ่สุด คือ [[ย่างกุ้ง]]<ref name="CIA geos">{{cite web |url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/bm.html |title=The World Factbook&nbsp;– Burma |publisher=cia.gov |access-date=4 May 2016}}</ref> ประเทศพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ[[สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] (อาเซียน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
 
อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐ[[ปยู]]ที่พูดภาษา[[ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า|ตระกูลทิเบต-พม่า]]ในพม่าตอนบน และ[[อาณาจักรมอญ|ราชอาณาจักรมอญ]]ในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 [[ชาวพม่า]]ได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่ม[[แม่น้ำอิรวดี]]ตอนบน และสถาปนา[[อาณาจักรพุกาม|ราชอาณาจักรพุกาม]]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 [[ราชวงศ์ตองอู]]สร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้<ref>[[#Lieberman|Lieberman]], p. 152</ref> ต้นศตวรรษที่ 19 [[ราชวงศ์โก้นบอง]]ได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุม[[รัฐมณีปุระ|มณีปุระ]]และ[[รัฐอัสสัม|อัสสัม]]ในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลัง[[สงครามอังกฤษ-พม่า]]ทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็น[[พม่าภายใต้การปกครองของบริเตน|อาณานิคมบริติช]] ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ช่วงต้นปกครองแบบชาติประชาธิปไตย และหลัง[[รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2505|รัฐประหารใน ค.ศ. 1962]] เป็นการปกครองแบบเผด็จการทหาร แม้เผด็จการทหารสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2011 แต่ผู้นำพรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังเป็นอดีตนายทหาร