ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จอห์น ที ทอมป์สัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military person|name=จอห์น ที ทอมป์สัน|birth_name=จอห์น ทาเลียเฟอร์โร ทอมป์สั...
 
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 19:
 
[[ไฟล์:Thompson-and-his-gun.jpg|thumb|นายพล จอห์น ที ทอมป์สันกำลังถือปืน เอ็ม1921]]
การนำเสนอสงครามสนามเพลาะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไดได้เปลี่ยนยุทธวิธีไปอย่างมาก และในปี ค.ศ. 1916 ทอมป์สันได้ทำการทดลองอาวุธปืนขนาดเล็กแบบอัตโนมัติอีกครั้ง ครั้งนี้ ได้พยายามที่จะออกแบบอาวุธปืนที่กองกำลังทหารสามารถใช้งานได้เพื่อกวาดล้างศัตรูในสนามเพลาะ สิ่งที่เขาเรียกว่า "ไม้กวาดสนามเพลาะ" ทอมป์สันได้ศึกษาการออกแบบหลายครั้งและประทับใจกับระบบ delayed-blowback breech ที่ถูกออกแบบโดย จอห์น บลิช ผู้บัญชาการในกองทัพเรือสหรัฐ ด้วยการเป็นหุ้นส่วนของบลิช ทำให้ทอมป์สันได้รับเงินร่วมทุนที่จำเป็นในการก่อตั้งบริษัท Auto-Ordnance และเริ่มทำงานด้านการออกแบบในสิ่งที่กลายเป็นปืนกลมือทอมป์สันในที่สุด<ref name="The Thompson-LaGarde Cadaver Tests">http://www.sightm1911.com/lib/history/background.htm#test The Thompson-LaGarde Cadaver Tests</ref>
 
เมื่อสหรัฐได้เข้าร่วมสงครามในที่สุดในปี ค.ศ. 1917 ทอมป์สันกลับเข้าสู่กองทัพบกและได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นนายพลจัตวา เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคลังสรรพาวุธตลอดช่วงที่เหลือของสงคราม ซึ่งเขาสามารถดูแลการผลิตอาวุธปืนขนาดเล็กทั้งหมดให้กับกองทัพบก สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ เขารับเหรียญปฏิบัติหน้าที่ดีเด่น(Distinguished Service Medal) เขาได้ลาออกจากกองทัพอีกครั้งในช่วงหลังสงครามในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1918 และกลับมาทำงานต่อเพื่อทำให้ "ปืนทอมมี" ได้เสร็จสมบูรณ์