ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
อนุสาวรีย์ดังกล่าว ประดิษฐานบริเวณหน้า[[วัดคุ้งตะเภา]]หันหน้าสู่[[เมืองสวางคบุรี|ทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี]] เพื่อรำลึกถึงอดีต[[เมืองสวางคบุรี]]ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]ตอนปลายซึ่งเคยเป็นพื้นที่ ๆ พระยาพิชัยดาบหักได้มาฝึกมวยกับครูเมฆแห่งบ้านท่าเสา-คุ้งตะเภา ในวัยเด็ก และเป็นพื้นที่เกิดวีรกรรมการปราม[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]]แห่ง[[เมืองสวางคบุรี]] สิ้นสุด[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] เป็นชุมนุมสุดท้ายใน[[สมัยธนบุรี]] รวมถึงยังเป็นสถานที่พระยาสีหราชเดโชได้รับเลื่อนยศเป็นพระยาพิชัยผู้สำเร็จราชการครอง[[เมืองพิชัย]] รับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในพระราช[[พงศาวดาร]]<ref> ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). '''สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ ๒๔๕ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา'''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1</ref>
 
ง;:== ประวัติการก่อสร้าง ==:'ง
 
การก่อสร้างอนุสาวรีย์คู่บารมี ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี เกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนและผู้เคารพศรัทธาในพระเกียรติคุณและความกล้าหาญของพระองค์ท่านมาช้านาน ต่อมาได้มีการจัดตั้งมูลนิธิ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/044/49.PDF ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ "มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา"], เล่ม ๑๓๓ ตอน ๔๔ ง, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๔๙-๕๐</ref> เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสร้าง[[อนุสาวรีย์]] โดยมีนายภีมเดช อมรสุคนธ์ และคณะผู้ศรัทธาจากจังหวัดระยอง เป็นประธานที่ปรึกษา และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้พร้อมใจกันจัดพิธีเชิญดวงวิญญาณ[[พระยาพิชัยดาบหัก]] (แทนอัฐิ) ตามโบราณประเพณี และมีพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ฯ โดยมี ฯพณฯ [[ศาสตราจารย์]] นพ.[[เกษม วัฒนชัย]] [[องคมนตรี]] เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งประชาชนได้นำไม้โบราณมาแกะสลักเป็นอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักจากไม้ตะเคียนองค์แรกขนาดเท่าครึ่ง เพื่อประดิษฐานในบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนผู้เคารพศรัทธาได้ระลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญเสียสละของท่าน ในปี พ.ศ. 2561 เป็นเบื้องต้น<ref> ข่าวสดออนไลน์. (2563). '''เหรียญคู่บารมีกู้แผ่นดิน พระเจ้าตาก-พระยาพิชัยดาบหัก'''. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/news_4830891</ref> ต่อมาได้มีการระดมทุนจากการบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และมีการก่อสร้างฐานอนุสาวรีย์สำเร็จมาโดยลำดับ