ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเลอเวือะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
 
ภาษาเลอเวือะประกอบด้วยวิธภาษาหรือภาษาย่อยที่แตกต่างกันสองกลุ่มซึ่งแหล่งข้อมูลบางแหล่งถือว่าเป็นภาษาแยกจากกัน ได้แก่ ภาษาเลอเวือะตะวันตกและภาษาเลอเวือะตะวันออก ภาษาทั้งสองมีความแตกต่างกันพอสมควร (แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายอย่างสูง) เนื่องจากไม่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้จากคำให้การที่สอดคล้องกันของผู้พูดภาษาเลอเวือะตะวันตกและผู้พูดภาษาเลอเวือะตะวันออกและจากการทดสอบโดย[[เอสไอแอล อินเทอร์เนชันนัล|สถาบันภาษาศาสตร์ฤดูร้อน]]<ref>Nahhas, Dr. Ramzi W. 2007. [http://li.payap.ac.th/images/stories/survey/Sociolinguistic%20Survey%20of%20Lawa%20in%20Thailand.pdf Sociolinguistic survey of Lawa in Thailand]. Chiang Mai: Payap University.</ref> นอกจากนี้บรรดาหมู่บ้านที่พูดภาษาเลอเวือะของแต่ละกลุ่มก็ยังมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไปอีก มิชชันนารีที่เคยเข้าไปเผยแพร่[[ศาสนาคริสต์]]ได้พัฒนาการเขียนภาษาเลอเวือะตะวันตกด้วย[[อักษรละติน]]และ[[อักษรไทย]]<ref name="คู่มือระบบเขียน หน้า 2">สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. ''คู่มือระบบเขียนภาษาเลอเวือะอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา.'' กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2558, หน้า 2.</ref>
 
ภาษาเลอเวือะตะวันออกมีความมีชีวิตชีวาทางภาษาในระดับสูงและใช้สื่อสารกันในบ้านโดยผู้พูดทุกวัย การศึกษาของรัฐ ประกาศของหมู่บ้าน และธุรกิจทางการมักใช้[[ภาษาไทย|ภาษาไทยกลาง]] ผู้พูดภาษาเลอเวือะตะวันออกส่วนใหญ่พูด[[คำเมือง]]ได้เป็นอย่างน้อย แต่มีผู้พูดสูงอายุบางคนตอบเป็นภาษาเลอเวือะเมื่อมีผู้พูดคำเมืองด้วย ผู้พูดรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะพูดภาษาไทยกลางได้คล่องเนื่องจากระบบการศึกษา และส่วนใหญ่พูดคำเมืองได้คล่องเนื่องจากการแต่งงานระหว่างชาวเลอเวือะกับ[[ชาวยวน]]
 
== ระบบการเขียน ==