ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาด็อล์ฟ ไอช์มัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
นาซีได้เริ่ม[[ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา|การบุกครองสหภาพโซเวียต]]ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 และนโยบายชาวยิวของพวกเขาได้ถูกเปลี่ยนจากการอพยพมาเป็นการกำจัดแทน เพื่อร่วมมือวางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ ไฮดริช ซึ่งเป็นหัวหน้าของไอช์มัน ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมข้าราชการระดับสูงของรัฐบาลใน[[การประชุมที่วันเซ]] เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1942 ไอช์มันได้รวบรวมข้อมูลให้แก่เขา ได้เข้าร่วมการประชุมและจัดเตรียมทำรายงานในการประชุม ไอช์มันและลูกน้องของเขาต้องทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการเนรเทศชาวยิวไปยัง[[ค่ายมรณะ]] ซึ่งเหยื่อทั้งหมด[[ห้องรมแก๊ส|ถูกรมควันด้วยแก๊สพิษจนตาย]] [[ปฏิบัติการมาร์กาเรต|เมื่อเยอรมนีบุกครองฮังการี]]ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 และไอช์มันคอยควบคุมดูแลประชากรชาวยิวส่วนใหญ่ เหยื่อส่วนมากจะถูกส่งไปยัง[[ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์]] ซึ่งราวประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ล้วนถูกสังหารเมื่อเดินทางมาถึง เมื่อถึงเวลาที่การขนส่งได้หยุดลงในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1944 จำนวนชาวยิว 437,000 คน จากจำนวนทั้งหมดในฮังการี 725,000 คน ต่างถูกสังหาร [[ดีเทอร์ วิสลีเซนี]]ได้เป็นพยานในการพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์กได้กล่าวว่า ไอช์มันได้บอกกับเขาว่า "จะกระโดดโลดเต้นและหัวเราะไปด้วยในหลุมศพ เพราะความรู้สึกที่ว่าเขามีผู้คนจำนวนห้าล้านคน{{efn|Between 5 and 6 million{{sfn|Bauer|Rozett|1990|pp=1797, 1799}} European Jews murdered in the Holocaust.}} ในจิตสำนึกของเขา น่าจะเป็นที่มาของความพึงพอใจที่ไม่ธรรมดาสำหรับเขา"{{sfn|Stangneth|2014|p=297}}
 
ภายหลังจากเยอรมนียอมจำนนในสงครามในปี ค.ศ. 1945 ไอช์มันถูกจับกุมโดยทหารสหรัฐ แต่หลบหนีออกจากค่ายกักขังและย้ายไปทั่วเยอรมนีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมอีกครั้ง เขาได้ลงเอยอยู่ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในโลเออร์ แซคโซนี ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1950 เมื่อเขาได้ย้ายไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้เอกสารเท็จที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรที่กำกับโดยนักบวชคาทอลิกระดับบิชอปที่ชื่อว่า [[อาลอย์ส ฮูเดล]] ข้อมูลที่ถูกรวบรวมโดยมอสซาด หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลได้รับการยืนยันตำแหน่งของเขาในปี ค.ศ. 1960 ทีมของสายลับของมอสซาดและ[[ชิน แบ็ด]] เข้าจับกุมไอช์มันและนำตัวเขาไปยังอิสราเอลเพื่อรับการพิจารณาคดีในข้อหาทางอาญา 15 ข้อหา รวมทั้งอาชญากรรมสงครามต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมต่อประชากรชาวยิว ในช่วงพิจารณาคดี เขาไม่ได้[[การปฏิเสธฮอโลคอสต์|ปฏิเสธฮอโลคอสต์]]หรือบทบาทของเขาในการจัดตั้ง แต่กล่าวอ้างว่า เขาทำตามคำสั่งในระบบ[[ฟือเรอร์พรินซิพ]]("หลักการของผู้นำ") ของ[[ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ|ระบอบเผด็จการ]] เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในทุกข้อกล่าวหาและถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1962{{efn|The execution was prepared to take place at midnight on 31 May but was slightly delayed; Eichmann thus died a few minutes into 1 June.{{sfn|Hull|1963|p=160}}|name=1june}} การพิจาณาคดีได้ถูกติดตามอย่างกว้างขวางในสื่อต่าง ๆ และต่อมาเป็นเรื่องราวในหนังสือหลาย ๆ เล่ม รวมทั้ง เรื่อง [[ไอช์มันในเยรูซาเล็ม]] ของฮันนา อาเรินท์ ซึ่งอาเรินท์เป็นผู้บัญญัติศัพท์ว่า "ความธรรมดาสามัญของความชั่วร้าย" (the banality of evil) เพื่ออธิบายถึงไอช์มัน{{sfn|Arendt|1994|p=252}}
 
[[ไฟล์:Adolf Eichmann at Trial1961.jpg|thumb|upright|left|ไอช์มันขณะถูกพิจารณาคดีในศาล ค.ศ. 1961]]