ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
 
==== นาฏศิลป์ไทย ====
พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร เป็นเจ้านายที่ทรงพระปรีชารอบรู้และฝักใฝ่พระทัยใน[[ศิลปะ]]และ[[วรรณคดี]] และทรงเกื้อกูลและอุปถัมภ์ศิลปะและศิลปินตลอดมา ทรงชักชวนให้[[ธนิต อยู่โพธิ์]] เขียนเรื่องงานศิลป์เกี่ยวกับ[[โขน]]ต่อไปหลังจากที่ได้เขียนเรื่องโขนเมื่อหลายปีมาแล้ว และทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือ ศิลปละคอนรำ หรือ คู่มือนาฏศิลปไทย (พิมพ์ครั้งแรก) โดย ธนิต อยู่โพธิ์ ในงานฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 29 เมษายน 2516 และพระองค์ชายกลางยังได้มีพระเมตตาฝากฝังนาย[[แจ้ง คล้ายสีทอง]] ให้เรียนเสภากับนายเจือ นายแจ้งจึงได้วิธีการขับเสภาไหว้ครู รวมทั้งเกร็ดย่อยอื่นๆอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ในที่สุดจึงเป็น นายแจ้ง คล้ายสีทอง ของคนฟังเพลงไทยและคนฟังเสภาทั่วประเทศ จนได้รับสมญาว่า "ช่างขับคำหอม<ref>http://www.m-culture.in.th/album/14163</ref>"
 
จากพระปรีชาสามารถดังกล่าว เหล่านักเขียนและศิลปินทั้งหลายจึงได้ร้องขอให้พระองค์ทรงรับตำแหน่งนายก[[สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย]] และทรงดำรงตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2518
บรรทัด 40:
นอกจากนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ยังได้ก่อตั้งคณะละครขึ้นมา ชื่อว่า คณะละครนาฏราช โดยเสด็จพระองค์ชายกลางได้มีพระปรารภกับครู[[บุญยงค์ เกตุคง]] ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยที่มีฝีมือมากในขณะนั้นว่า มีพระประสงค์ให้แต่งเพลงประจำคณะละครของท่านสักเพลงหนึ่ง ครูบุญยงค์ เกตุคง ก็ได้แต่งถวายตามพระประสงค์ โดยได้นำเอาทำนองเพลงดับควันเทียนที่เป็นเพลงสุดท้ายในชุดเพลงเรื่องเวียนเทียนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่มีความมงคลมาเป็นแนวทางในการแต่งให้อยู่ในรูปของเพลงตระ จึงได้นำหน้าทับตระในอัตราจังหวะ 2 ชั้นมาใช้ จึงได้ออกมาเป็นเพลงหน้าพาทย์เพลงใหม่ชื่อเพลงตระนาฏราช ไปถวายเสด็จพระองค์ชายกลาง ต่อมาเพลงตระนาฏราชได้นำมาใช้ในการการแสดงครั้งแรกโดยการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] ก่อนที่จะมีการแสดงละครโดยคณะละครนาฏราช ก็จะมีเสียงเพลงตระนาฏราชขึ้นพร้อมกับผู้กำกับการแสดง ชื่อนักแสดง ผู้สร้าง ผู้สนับสนุนรายการต่าง ๆ เป็นการเปิดตัวของคณะละครนาฏราชมาตลอด โดยทั่วไปพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลปไทยจะมีผู้ประกอบพิธีและ[[วงปี่พาทย์]]บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ตลอดการประกอบพิธี [[เพลงหน้าพาทย์]]โดยทั่วไปเป็นเพลงหน้าพาทย์เก่าที่มีมาแต่โบราณ แต่ก็มีการใช้เพลงตระนาฏราชบรรเลงประกอบในพิธีไหว้ครูเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มใช้หลังจากที่เกิดเพลงตระนาฏราชขึ้นโดยคณะศิษย์ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้นำมาใช้บรรเลงเป็นเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครู แต่จะบรรเลงเฉพาะเมื่อผู้ประกอบพิธีเรียกเพลงตระนาฏราชเท่านั้น ก็มีใช้กันจนในหมู่ศิษย์ครูบุญยงค์ เกตุคง มาจนถึงปัจจุบัน<ref>นุกูล ทัพดี, ความสำคัญของเพลงตระนาฏราช ในวัฒนธรรมดนตรีไทย file:///C:/Users/admin/Downloads/66745-Article%20Text-262661-1-10-20171123.pdf</ref>
 
นอกจากพระปรีชาสามารถด้านนาฏศิลป์ไทยแล้ว เสด็จพระองค์ชายกลาง ยังทรงมีความเกี่ยวพันกับตำนานการสร้าง พระ[[หลวงปู่ทวด]] วัดช้างให้ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากท่านทรงคบหาสนิทสนมเป็นมิตรกับคหบดีใหญ่ปักษ์ใต้คือ คุณอนันต์ คนานุรักษ์ และได้รับมอบพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497 จากคุณอนันต์มาหนึ่งองค์โดยทรงบูชาติดตัวเป็นประจำ โดยครั้งหนึ่งรถยนต์พระที่นั่งเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่พระองค์เองไม่มีอันตรายแม้แต่รอยขีดข่วน ทำให้พระองค์ท่านเกิดความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อย่างสูง และเมื่อทางวัดโดยพระอาจารย์ทิม และ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ จะจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดปี 2505 พระองค์ท่านจึงปวารณาตัวขอเป็นผู้อุปถัมภ์ในการจัดสร้าง และได้นำชนวนโลหะอันศักด์สิทธิ์มาเทหล่อเป็นเนื้อโลหะต่างๆต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานคร จนกลายเป็นพระหลวงพ่อทวด รุ่น พ.ศ. 2505 ที่ลือลั่นมาจนถึงปัจจุบัน<ref>คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง : พระกริ่งเฉลิมพลฯปี"05<nowiki/>https://www.khaosod.co.th/amulets/news_133530</ref> ในการจัดสร้างพระครั้งนั้น เนื่องด้วยเสด็จพระองค์ชายกลางเป็นองค์อุปถัมภ์ จึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี และพระองค์ท่านยังได้จัดสร้าง '''"พระกริ่ง"''' อันงดงามด้วยพุทธลักษณะขึ้นในครั้งนั้นด้วย เมื่อทำการหล่อพระกริ่งได้โปรดให้ช่างแกะแม่พิมพ์ขึ้น และเททองปลุกเสกโดยพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้พร้อมกันกับพระเครื่องหลวงปู่ทวดปี 2505 ครั้นเสร็จจากพิธีเสด็จ ท่านได้ถวายพระกริ่งซึ่งสำเร็จขึ้นมีพุทธลักษณะงดงามให้กับวัดช้างให้จำนวน 300 องค์ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า '''"พระกริ่งใหญ่หลวงปู่ทวด"''' หรือ "พระกริ่งวัดช้างให้" ส่วนที่เหลือทรงนำมาถวายให้วัดตาก้อง ด้วยเหตุที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร นั้นท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์เอกของ[[หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง]] และปลุกเสกอีกวาระโดยเกจิอาจารย์สายนครปฐม ผู้คนเรียกขานกันว่า '''"พระกริ่งเฉลิมพล"''' รวมถึงในคราวฉลองครบวาระ 200 ปี แห่งชาตะกาล [[สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)]] พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ยังได้ทรงเป็นองค์ประธานการจัดงานสมโภชน์เฉลิมฉลองในวาระดังกล่าวและมีการปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นประวัติศาสตร์ อนุสรณ์ 200 ปี พ.ศ. 2531 โดยพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกด้วย<ref>สมุดสมเด็จ พ.ศ. 2531 อนุสรณ์ 200 ปี แห่งชาตะกาล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)</ref>
 
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ด้วยภาวะพระหทัยล้มเหลว สิริพระชันษา 78 ปี ในการนี้[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ และพระราชทาน[[พระโกศ]]มณฑปทรงพระศพ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ประดิษฐานพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี [[วัดเทพศิรินทราวาส]] และในการนี้ทรงพระกรุณาฯ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ณ [[เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์]] [[วัดเทพศิรินทราวาส]] กรุงเทพมหานคร เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535<ref>อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ม.จ.ก., ป.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕</ref>