ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Miwako Sato/ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
เอกสารดังกล่าวยังระบุว่า<ref>''[[#พนร|สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน (2558]], น. 289–290)</ref> เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พระเจ้าเสือรับสั่งให้เจ้าพญาจักรี สมุหนายก เกณฑ์เลกจากหัวเมืองทั้งหลายให้ได้ 30,000 คน แล้วมอบให้พระราชสงครามเป็นแม่กองคุมไปขุดคลองโคกขามให้ตรง โดยกำหนดให้ลึก 6 ศอก ปากคลองกว้าง 8 วา พื้นคลองกว้าง 5 วา เจ้าพญาจักรีก็ไปเกณฑ์เลกจาก "เมืองนนทบูรีย์ เมืองธนบูรีย์ เมืองนครไชยศรี เมืองสาครบูรีย์ เมืองสมุทสงคราม เมืองเพชบูรีย์ เมืองราชบูรีย์ แลเมืองสมุทปราการ" การขุดเริ่มใน จ.ศ. 1067 (พ.ศ. 2248) วิธีขุด คือ ให้ฝรั่งส่องกล้องตัดทางให้ตรง แล้วเอาตรุยปักไว้เป็นแนวไป ก่อนให้ขุดตามแนวนั้น แบ่งปันหน้าที่โดยให้คนหนึ่งรับผิดชอบขุดยาวคืบหนึ่ง แต่พระเจ้าเสือสวรรคตก่อนการขุดคลองจะแล้วเสร็จ
 
==ความเป็นไปได้ความเห็นทางประวัติศาสตร์==
 
''พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฯ'' ดังกล่าว เกิดจากการที่รัชกาลที่ 1 ไม่พอพระทัยบางอย่างในพงศาวดารที่ชำระก่อนหน้า คือ ''ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'' จึงรับสั่งให้สมเด็จพระพนรัตน์แห่งวัพระเชตุพนนำ ''ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'' ไปแก้ไขปรับปรุง หรือที่เรียกว่า "ชำระ" ใหม่<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 190)</ref> [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] ตั้งข้อสังเกตว่า พงศาวดารที่ผ่านการชำระนั้น มีการตัดเนื้อหายกย่อง[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ออกไป และเพิ่มการโจมตีราชวงศ์นี้เข้ามาอย่างมาก<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 181)</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับพระเจ้าเสือนั้น ''ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ฯ'' เพิ่มเนื้อหาเชิงประณามเข้ามามากมาย ซึ่งไม่ปรากฏในพงศาวดารก่อน ๆ หน้า เช่น ระบุว่า "ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมิได้เสด็จอยู่ในพระนครนาน... เสด็จด้วยเรือพระที่นั่ง...ทรงเบ็ดตกนานามัจฉาชาติทั้งปวงต่าง ๆ ทรงสร้างแต่อกุศลทุจริตผิดพระราชประเพณีมาอย่างแต่ก่อน และพระองค์ฆ่าเสียซึ่งหมู่มัจฉาชาติทั้งหลายด้วยเบ็ดแลข่ายล้มตายเป็นอันมาก" และ "มักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู... ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ก็ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่มัจฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย"<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 197–198)</ref> ซึ่งนิธิเห็นว่า เป็นความพยายามในสมัยรัตนโกสินทร์ที่จะ "สร้าง" ความเสื่อมทั้งให้ทั้งแก่ตัวบุคคลและรัฐอยุธยา<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 198)</ref> ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชนชั้นนำสมัยรัตนโกสินทร์เพิ่งผ่านเหตุการณ์อันน่าตระหนกมา คือ ความล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา และพยายามเหลียวกลับไปมองอดีตเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์นั้น<ref>[[#นธ|นิธิ เอียวศรีวงศ์ (ม.ป.ป.]], น. 176)</ref>
 
สำหรับเหตุการณ์พันท้ายนรสิงห์นั้น กำพล จำปาพันธ์ เห็นว่า เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชนชั้นนำสมัยรัตนโกสินทร์หยิบยกมาใช้ "บั่นทอนบุญบารมีของพระเจ้าเสือที่ไปประหารคนดี ผลักให้พระเจ้าเสือเป็นผู้ร้ายไปอย่างสมบูรณ์"<ref name = "กพ"/>
 
==อ้างอิง==