ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาคารชุนะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3:
'''นาคารชุนะ''' ({{lang|sa|नागार्जुन}}; {{lang-la|Nāgārjuna}}; {{lang-te|నాగార్జునా}}; {{Zh-all|龍樹}}; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็น[[นักปรัชญาอินเดีย]] เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกาย[[มหายาน]] แห่ง[[พุทธศาสนา]] และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจาก[[พระพุทธเจ้า]] เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทาง[[พระพุทธศาสนา]]ที่มีผลงานโดดเด่นในด้าน[[ปรัชญา]]และ[[ตรรกวิทยา]] ผลงานสำคัญของท่านคือ '''มาธยมิกการิกา''' (มาธยมิกศาสตร์) อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านัก[[ตรรกวิทยา]]ที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก{{อ้างอิง}} ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
 
== ประวัติพระนาคารชุนุุ ==
ตามประวัติที่แปลเป็นภาษาจีนโดยพระ[[กุมารชีวะ]]เมื่อประมาณ ค.ศ. 405 ได้กล่าวว่า พระนาคารชุนะเป็นชาว[[อินเดีย]]ภาคใต้ เกิดในสกุล[[พราหมณ์]] แต่ข้อมูลที่บันทึกโดย[[พระถังซำจั๋ง]]ระบุว่า ท่านเกิดในแคว้นโกศลภาคใต้, ท่านเป็นพระสหายที่มีอายุไล่เลี่ยกับพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร (ค.ศ. 166-196) ประวัติในตอนต้นไม่แน่ชัด หลักฐานของ[[ทิเบต]]กล่าวว่าท่านออกบวชตั้งแต่วัยเด็กเนื่องจากมีผู้ทำนายว่าจะอายุสั้น บ้างก็ว่าในวัยเด็กมารดาของท่านได้รับคำทำนายว่าท่านนาคารชุนะจะไม่อาจมีบุตร ทางแก้คือต้องจัดพิธีเลี้ยงพราหมณ์ 100 คน ครอบครัวของท่านจึงต้องจัดพิธีดังกล่าว แต่หลังจากนั้นพราหมณ์ก็ยังทำนายว่าต้องจัดพิธีเช่นนี้อีกเนื่องจากยังไม่สิ้นเคราะห์ กระทั่งหลังจากที่มารดาทำพิธีเลี้ยงพราหมณ์เป็นครั้งที่สาม มารดาจึงตัดสินใจให้ท่านออกบวชขณะอายุยังไม่ครบ 7 ปี และให้ท่านออกจาริกแสวงบุญเพื่อแสวงหาผู้ที่สามารถช่วยชีวิตท่านให้รอดพ้นจากความตาย ท่านจาริกมาจนถึง[[นาลันทา]] ท่านได้พบกับท่านราหุลภัทระและได้รับการศึกษาที่นั่น