ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเดินขบวนสู่แวร์ซาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ไฟล์:A Versailles, à Versailles 5 octobre 1789 - Restoration.jpg|300px|thumb|การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซา...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:01, 16 ตุลาคม 2563

การเดินขบวนสู่แวร์ซาย (อังกฤษ: March on Versailles) บ้างเรียก การเดินขบวนเดือนตุลาคม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นการเดินขบวนของสตรีชาวปารีสเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1789 สู่พระราชวังแวร์ซาย

การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซาย

วิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงได้ส่งผลกระทบต่อสตรีซึ่งมีหน้าที่หาอาหารให้สามีและสมาชิกครอบครัว พวกเธอมองเห็นงานเลี้ยงอันใหญ่โตฟุ่งเฟือยในราชสำนักขณะที่ตัวเองกลับอดอยาก กลุ่มสตรีหลายพันคนซึ่งประกอบด้วยหญิงหาเช้ากินค่ำ, แม่ค้า, ช่างหัตกรรม, หญิงข้างถนน ตลอดจนโสณีชั้นสูง[1] รวมตัวกันที่ออแตลเดอวีล (ศาลาว่าการกรุงปารีส)[2] ในเช้าวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1789 จนกระทั่งมีจำนวนราว 7,000–9,000 คน จึงเริ่มเดินขบวนสู่แวร์ซายพร้อมด้วยอาวุธและปืนใหญ่ที่ยึดมาจากออแตลเดแซ็งวาลีดและการทลายคุกบัสตีย์เมื่อสองเดือนก่อนหน้า

การเดินขบวนของสตรีสู่แวร์ซาย

กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เวลาเดินเท้าจากปารีสไปแวร์ซายราวหกชั่วโมงท่ามกลางสายฝนในฤดูใบไม้ร่วง พวกเธอเต็มไปด้วยความโกรธแค้นต่อราชวงศ์ หวังจะคุมองค์กษัตริย์กลับปารีสและต้องการคุยกับพระนางมารี อ็องตัวแน็ต เมื่อพวกเธอไปถึงพระราชวังแวร์ซาย ก็พบกับผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่งที่รายล้อมพระราชวังอยู่ก่อน[3] พวกเธอเข้าไปหลบฝนและพักผ่อนในชานระเบียงของพระราชวัง แกนนำของพวกเธอพูดกับผู้แทนในสภาร่างธรรมนูญแห่งชาติว่าพวกเธอมาล้อมสภาเพื่อขอขนมปังเพียงเท่านั้น ประธานสภาจึงนำตัวแกนนำผู้ชุมนุมจำนวนหกคนไปพบองค์กษัตริย์ในพระราชวัง[4][5] องค์กษัตริย์แสดงความเห็นใจและเข้าไปกอดปลอบพวกเธอ[6] ทรงสัญญาว่าจะปันส่วนอาหารส่วนหนึ่งจากคลังหลวงให้ ฝูงชนจึงพอใจและเดินเท้ากลับปารีส[7]

อ้างอิง

  1. บทบาท “สตรี” กับการ “ปฏิวัติ” ฝรั่งเศส (1) ศิลปวัฒนธรรม. 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2560
  2. Doyle, p. 121.
  3. Schama, p. 462.
  4. Carlyle pp. 257–258.
  5. Schama, p. 465.
  6. Hibbert, p. 99.
  7. Hibbert, p. 100.