ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Piyawat Sudkid (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Piyawat Sudkid (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 61:
== '''<u>[[เอื้อน กลิ่นสาลี|คดีความ]]</u>''' ==
 
<ref>8.รอลงอาญา 1 ปี ปรับ 8 พัน! “อดีตพระพรหมดิลก” อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา
 
''วันพฤหัสบดี ที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2563, 15.37 น.''</ref><ref>9.
 
<br />
คุก 6 ปี-คดีเงินทอน อดีตพระพรหมดิลก
 
#
ข่าวทั่วไทย
# '''<u>ศาลอาญาคดีทุจริตฯตัดสินคดีเงินทอนวัดสำนวัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๗</u>'''
# '''<u>[[เอื้อน กลิ่นสาลี#cite%20ref-4|↑]] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๓</u>'''
# '''<u>[[เอื้อน กลิ่นสาลี#cite%20ref-5|↑]] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 17 ข, เล่ม 121, 15 กันยายน 2547, หน้า 3</u>'''
# '''<u>[[เอื้อน กลิ่นสาลี#cite%20ref-6|↑]] ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 9 ข, เล่ม 128, 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554, หน้า 13</u>'''
# '''<u>[[เอื้อน กลิ่นสาลี#cite%20ref-7|↑]] ราชกิจ, ประกาศ เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์, ตอนที่ 15 ข, เล่ม 135, 30 พฤษภาคม 2561, หน้า 1</u>'''
 
SHARE</ref>'''ศาลอาญาคดีทุจริตฯตัดสินคดีเงินทอนวัดสำนวนวนวนที่ 2 สั่งจำคุก 6 ปี อดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยาและอดีตกรรมการ มส.''' และจำคุกอดีตเลขานุการวัด 3 ปี โดยศาลเห็นว่าวัดไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่รับเงินสนับสนุน 5 ล้านบาท จำเลยทั้งสองนำไปใช้บูรณะก่อสร้างอาคารแทนทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้รับเงินบูรณะไปแล้ว จากนั้นหมกเม็ดเอาฝากธนาคารกินดอกเบี้ย อันความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน และร่วมกันฟอกเงิน อีกทั้งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐต้องรับโทษเป็น 2 เท่า
ไทยรัฐฉบับพิมพ์17 พ.ค. 2562 05:22 น.
 
*
SHARE</ref>'''ศาลอาญาคดีทุจริตฯตัดสินคดีเงินทอนวัดสำนวนที่ 2 สั่งจำคุก 6 ปี อดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยาและอดีตกรรมการ มส.''' และจำคุกอดีตเลขานุการวัด 3 ปี โดยศาลเห็นว่าวัดไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่รับเงินสนับสนุน 5 ล้านบาท จำเลยทั้งสองนำไปใช้บูรณะก่อสร้างอาคารแทนทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้รับเงินบูรณะไปแล้ว จากนั้นหมกเม็ดเอาฝากธนาคารกินดอกเบี้ย อันความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน และร่วมกันฟอกเงิน อีกทั้งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐต้องรับโทษเป็น 2 เท่า
*
*
 
ศาลตัดสินคดีพระชั้นผู้ใหญ่ทุจริตเงินทอนวัดเป็นสำนวนที่ 2 เปิดเผยขึ้นที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนนครไชยศรี กทม. เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 พ.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 7 ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีทุจริตเงินทอนวัด คดีที่พนักงานอัยการสำนักงานปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอื้อน กลิ่นสาลี หรืออดีตพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และนายสมทรง อรรถกฤษณ์ หรืออดีตพระอรรถกิจโสภณ อดีตเลขานุการเจ้าคณะกรุงเทพฯ วัดสามพระยา ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน และร่วมกันฟอกเงิน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
 
สืบเนื่องจากเมื่อปลายปี 56-57 จำเลยร่วมกันทุจริตคดีเงินทอนวัดในส่วนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ควบคุมตัวจำเลยทั้งสองมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทั้งคู่อยู่ในชุดนุ่งขาวห่มขาวโดยมีญาติสนิท ผู้ที่ยังเคารพศรัทธา และพระวัดสามพระยาประมาณ 10 รูป เข้าร่วมฟังคำพิพากษา
 
'''ศาลพิเคราะห์ว่า''' จากกรณีสำนักพระพุทธศาสนาอนุมัติเงินเบิกจ่ายให้แก่วัด 9 วัด จำนวน 72 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ วัดสามพระยาได้รับเงินจำนวน 5 ล้านบาท ในการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นลำดับที่ 6 ทั้งที่วัดสามพระยาไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำเลยทั้งสองนำเงินดังกล่าวไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมและบูรณะอาคารพักสงฆ์ อันผิดวัตถุประสงค์ในการมอบเงินของสำนักพระพุทธศาสนา ซึ่งจำเลยควรนำเงินดังกล่าวคืนสำนักพระพุทธศาสนาแต่กลับนำไปก่อสร้างอาคาร ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในปี 56 สำนักพระพุทธศาสนาเคยมอบเงินเพื่อเป็นการบูรณะอาคารร่มธรรมและอาคารพักสงฆ์ให้แก่วัดสามพระยา แต่จำเลยทั้งสองนำเงินไปฝากเพื่อรับดอกเบี้ยจากธนาคาร และนำเงินที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมไปเป็นเงินในการบูรณะก่อสร้างอาคารแทน โดยถอนออกจากบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยตลาดบางกรวย 2 ครั้ง
 
ทั้งนี้ จำเลยทั้งสองมีพฤติกรรม โอน เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือซุกซ่อน หรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน และการกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิด หรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงอันเป็นการฟอกเงิน
 
'''ศาลพิพากษาว่า'''จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (1) (2) และมาตรา 60 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานกระทำความผิดฐาน
 
ฟอกเงิน ต้องรับโทษเป็น 2 เท่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษ ลงโทษความผิดฐานฟอกเงินจำคุกจำเลยที่ 1 รวม 2 กระทง ลงโทษกระทงละ 3 ปี รวมจำคุกเป็นเวลา 6 ปี และจำคุกจำเลยที่ 2 รวม 2 กระทง กระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
 
'''อดีตพระพรหมดิลก''' '''/ เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง''' ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขแดงที่ อท. 122/2562 มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อดีตพระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี)” อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และอดีตเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และนายสมทรง อรรถกฤษณ์ “อดีตพระอรรถกิจโสภณ” อดีตเลขาฯ เจ้าคณะกรุงเทพฯ วัดสามพระยา ระหว่างอุทธรณ์คดี
 
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีการสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้วจำเลยทั้ง 2 ให้การปฏิเสธตลอดมาทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณากรณีไม่น่าที่จำเลยทั้ง 2 จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ขณะเกิดเหตุจำเลยทั้ง 2 เป็นพระภิกษุอยู่ในพระธรรมวินัย
 
อีกทั้งยังไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดที่ส่อว่าจำเลยทั้ง 2 จะหลบหนีประกอบกับหลักประกันที่จำเลยทั้ง 2 เสนอมาเป็นเงินสด ซึ่งน่าเชื่อถือ จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้ง 2 ระหว่างอุทธรณ์ และโดยที่คดีนี้มีค่าความเสียหายจำนวนมาก จึงให้ตีราคาหลักประกันคนละ 2 ล้านบาท ห้ามจำเลยทั้ง 2 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็วก่อนปล่อยตัวจำเลยทั้ง 2 โดยกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทั้ง 2 มารายงานตัวต่อศาลชั้นต้นทุก 1 เดือนต่อครั้ง ตามวันเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันและหลักประกันเพิ่มแล้วดำเนินการต่อไป
 
อนึ่งหากมีพฤติการณ์ว่าจำเลยทั้ง 2 จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานหรือข่มขู่พยาน หรือมีพฤติการณ์อันใดอันอาจทำให้เสียหาย หรือเกิดความไม่เป็นธรรมในรูปคดี ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งถอนประกันตัวจำเลยทั้ง 2 ทันที
 
สำหรับคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (ฟ้องอดีตเจ้าอาวาส) และเป็นผู้สนับสนันเจ้าพนักงานฯ, ร่วมกันฟอกเงินอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กรณีร่วมกันฟอกเงิน จากการทุจริตเงินทอนวัดในส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม
 
ซึ่งคดีนี้ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 พ.ค.62 พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีพฤติกรรม โอน เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สิน และการกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิด หรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง อันเป็นการฟอกเงิน
 
จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงินพุทธศักราช 2542 มาตรา 5 (1) (2) และมาตรา 60 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานฟอกเงินต้องรับโทษเป็น 2 เท่าการกระทำของจำเลยทั้ง 2 เป็นความผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษ ลงโทษความผิดฐานฟอกเงินจำคุกจำเลยที่ 1 รวม 2 กระทง ลงโทษกระทงละ 3 ปี รวมจำคุกเป็นเวลา 6 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 รวม 2 กระทง กระทงละ 1 ปี 6 เดือนรวมจำคุก 3 ปี
 
นอกจากคดีนี้แล้ว ศาลยังได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขดำที่ อท.254/2562 ที่อนุญาตให้ประกันตัวพระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) ในคดีที่ถูกพนักงานอัยการยื่นฟ้องร่วมกับนายพนม ศรศิลป์ และพวกรวม 5 คนร่วมกันทุจริตเงินทอนวัดอีก 1 สำนวน
 
โดยศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้การสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วจำเลยที่ 5 ให้การปฏิเสธตลอดมา ทั้งในระหว่างสอบสวนและชั้นพิจารณา กรณีไม่น่าที่จำเลยที่ 5 จะไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 5 เป็นพระภิกษุอยู่ในพระธรรมวินัย
 
อีกทั้งยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่ส่อว่าจำเลยที่ 5 จะหลบหนี ประกอบกับโจทก์ไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ปล่อยจำเลยที่ 5 ชั่วคราวในระหว่างพิจารณา และโดยที่คดีนี้มีมูลค่าราคาความเสียหายจำนวนมาก จึงให้ตีราคาหลักประกัน 2 ล้านบาท ห้ามจำเลยที่ 5 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น
 
ให้ศาลชั้นต้นแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็วก่อนปล่อยตัวจำเลยที่ 5 โดยกำหนดเงื่อนไขให้จำเลยที่ 5 มารายงานตัวต่อศาลชั้นต้นทุก 1 เดือนต่อครั้ง ตามวันเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ไปจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาหลักประกันแล้วดำเนินการต่อไป
 
อนึ่งหากมีพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 5 จะไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน หรือข่มขู่พยานหรือมีพฤติการณ์อันใดอันอาจทำให้เสียหายหรือเกิดความไม่เป็นธรรมในรูปคดีก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งถอนประกันตัวจำเลยที่ 5 ทันที
 
'''เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2563 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง''' ถ.นครไชยศรี ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีทุจริตการจัดสรรเงินงบประมาณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) สำนวนที่ 3  คดีหมายเลขดำ อท.254/2561 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง “'''นายพนม ศรศิลป์'''” อายุ 61 ปี อดีต ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ผอ.พศ.) , '''นายบุญเลิศ โสภา''' อายุ  54 ปี อดีต ผอ.กองพุทธศาสนศึกษา พศจ.ลำปาง , '''นายแก้ว ชิดตะขบ''' อายุ 54 ปี อดีตนักวิชาการศาสนาชำนาญการ กองพุทธศาสนศึกษา , '''นางพรเพ็ญ กิตติธรางกูร''' อายุ 51 ปี อดีตนักวิชาการศาสนาชำนาญการ กองพุทธศาสนศึกษา , “'''พระพรหมดิลก” หรือนายเอื้อน กลิ่นสาลี''' อายุ 75 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา/กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)/เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1-5
 
 
ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ , ทำ , จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ร่วมกันเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่น โดยทุจริตหรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์สินนั้นเสีย , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต , เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารฯ ทำการรับรองหลักฐานเป็นเท็จ , เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157,162 ประกอบมาตรา 83,86
 
 
กรณีกล่าวหาทุจริตการจัดสรรงบในส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาประจำปีงบประมาณ 2557 วงเงิน 5 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.46 – 15 ส.ค.57 โดยอัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 ต.ค.61 พร้อมระบุคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ศาลสั่งจำเลยทั้งห้า ร่วมกับนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ อดีต ผอ.สำนักงาน พศ. (ตัวยังหลบหนีคดี) ชดใช้เงิน 5 ล้านบาทคืนให้สำนักงาน พศ. และให้นับโทษอดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยาในคดีฟอกเงิน หมายเลขดำ อท.196/2561 ด้วย
 
 
โดย “'''พระพรหมดิลก'''” หรือนายเอื้อน กลิ่นสาลี อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา” ได้ประกันตัวไป  ด้วยหลักทรัพย์ 2 ล้านบาท ก็เดินทางมาศาลมซึ่งสวมชุดกางเกงขายาวเสื้อแขนสั้นสีขาว มีกลุ่มลูกศิษย์พระนับ 10 รูปและฆราวาสกว่า 10 คนมาร่วมให้กำลังใจฟังคำพิพากษา
 
 
ส่วน “นายพนม” อดีต ผอ.พศ.จำเลยที่ 1 และกลุ่มลูกน้อง ในสำนักงานพศ.จำเลยที่ 2,3,4 ทั้งในส่วนที่ศาลไม่ให้ประกันตัว และไม่มีหลักทรัพย์เพียงพอจะยื่นประกันตัว ซึ่งปัจจุบันถูกคุมขังในเรือนจำและทัณฑสถานหญิงกลาง ศาลได้เบิกตัวจำเลยที่ 1-4 มาศาลพร้อมฟังคำพิพากษา
 
ขณะที่ “ศาล” พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์-จำเลยที่ได้ทำการไต่สวนแล้ว เห็นว่า จำเลยที่ 1-4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน ส่วน “อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา”  จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำผิด มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 จำคุก 1 ปีและปรับ 12,000 บาท
 
 
โดยจำเลยที่ 1, 3 , 4 ,5 ให้การเป็นประโยชน์ในชั้นพิจารณาคดีอยู่บ้างเห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1,3,4 คนละ 12 เดือน สำหรับจำเลยที่ 5 คงจำคุก 8 เดือนและปรับ 8,000 บาท โดยส่วนของอดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา จำเลยที่ 5 นั้นศาลเห็นว่า เคยประกอบคุณงามความดีในด้านพุทธศาสนา จบการศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดียทะนุบํารุง การศึกษาด้านพระพุทธศาสนา อีกทั้งไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกนั้น จึงให้รอการลงโทษ (รอลงอาญา) ไว้มีกำหนด 1 ปี
 
 
ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกไว้เป็นเวลา 9 เดือน
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ “อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา” ที่ถูกกล่าวหาคดีร่วมกันฟอกเงิน 5 ล้านบาท จากการทุจริตงบประมาณ พศ. ในส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งที่ไม่มีการดำเนินโครงการ ในคดีหมายเลขดำ อท.196/2561 นั้น “ศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง” ได้มีคำพิพากษาลงโทษไปแล้วเมื่อวันที่ 16 พ.ค.62 ให้จำคุก 2 กระทง รวม 6 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับคดีทุจริต จัดสรรเงินงบประมาณ สำนักงาน พศ.สำนวนแรก ที่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง ตัดสินนั้น คือคดีหมายเลขดำ อท.253/2561 กรณีเอาเงินงบประมาณ ของ พศ. ไปเป็นประโยชน์ของตน โดยใช้วัดเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดรับโอนเงินงบประมาณ ที่พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 3 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายพนม อดีต ผอ.พศ. , นายวสวัตติ์ กิตติธีระสิทธิ์ อดีต ผอ.ส่วนบูรณะพัฒนาวัดและการศาสนสงเคราะห์ กองพุทธศาสนสถาน พศ. , นายเจษฎา วงศ์เมฆ ฆราวาสติดต่อหาวัด , นายชรินทร์ มิ่งขวัญ ฆราวาส ทำหน้าที่ติดต่อหาวัด จำเลยที่ 1-4 ที่ให้จำคุกตั้งแต่ 1 ปี 8 เดือน – 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 กับให้ร่วมชดใช้เงินจำนวน 12 ล้านบาทด้วย
 
สำนวนที่ 2 ร่วมอนุมัติเงินอุดหนุนที่อนุมัติโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม 37 ล้านบาท และโครงการศูนย์กลางเผยแผ่กิจการพระพุทธศาสนา จำนวน 32.5 ล้านบาท ประจำปีงบประมาณ 2559 ให้วัดสระเกศราชวรมหาวิหารเพียงแห่งเดียวโดยมิชอบ คดีหมายเลขดำ อท.251/2561 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 2  ยื่นฟ้อง นายพนม อดีต ผอ.พศ. , นายชยพล พงษ์สีดา อายุ 64 ปี อดีตรอง ผอ.สำนักงาน พศ. , นายณรงค์เดช ชัยเนตร อดีต ผอ.กองส่งเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา , นายพัฒนา สุอำมาตย์มนตรี อายุ 50 ปี อดีตนักวิชาการศาสนาชำนาญการ กองส่งเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา , “พระพรหมสิทธิ ธงชัย สุขโข” หรือนายธงชัย สุขโข อายุ 64 ปี อดีตพระราชาคณะเจ้าคณะรอง/อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร/ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม จำเลยที่ 1-5  จำคุกตั้งแต่ 3 ปี – 3 ปี 18 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยส่วนของ “อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ” ศาลให้ปรับ 27,000 บาท ส่วนโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ซึ่งทั้งสองคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์
 
สำหรับกรณีกล่าวหาร่วมกันฟอกเงินนั้น ที่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง ตัดสินแล้วก็มี 2 สำนวน ประกอบด้วย 1.คดีหมายเลขดำ อท.38/2561 กล่าวหาฟอกเงินจากการที่นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ อายุ 61 ปี อดีต ผอ.สำนักงาน พศ. (ตัวยังหลบหนี) ทุจริตจัดสรรงบประมาณ 28 ล้านบาท ให้วัด 12 แห่งในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ , ตาก , นครสวรรค์ , ชุมพร โดยมิชอบ ซึ่งศาลลงโทษจำคุก “พระครูกิตติ พัชรคุณ” หรือนายสมเกียรติ ขันทอง อายุ 56 ปี อดีตเจ้าคณะอำเภอชนแดน จ.เพชรบูรณ์/อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดแค  รวม 13 กระทง เป็นเวลา 26 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยไม่ได้ประกันตัว
 
2.คดีหมายเลขดำ อท.196/2561 กล่าวหาฟอกเงินจำนวน 5 ล้านบาท ในงบส่วนอุดหนุนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งที่ไม่มีการดำเนินโครงการ โดยเจ้าอาวาสวัดสามพระยา นำงบที่ได้มานั้นไปใช้ก่อสร้างอาคารร่มธรรมแทน ทั้งที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นมาตั้งแต่แรก ศาลลงโทษ 2 กระทง “พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)” หรือนายเอื้อน กลิ่นสาลี” อายุ 75 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา/เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร จำคุก 6 ปี  และ “พระอรรถกิจโสภณ”หรือนายสมทรง อรรถกฤษณ อายุ 53 ปี อดีตเลขาเจ้าคณะกรุงเทพ จำคุก 3 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ทั้งสองได้ประกันตัวคนละ 2 ล้านบาท
 
 
ขณะที่ วันที่ 19 พ.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ศาลอาญาคดีทุจริตฯ กลาง กำหนดนัดฟังคำพิพากษาคดีกล่าวหาฟอกเงินทุจริตการจัดสรรงบประมาณ พศ.อีกสำนวน ที่อัยการ ยื่นฟ้อง “พระพรหมสิทธิ ธงชัย สุขโข” หรือนายธงชัย สุขโข อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ด้วย
 
<br />