ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มเนื้อหา และราชกิจจา ในช่วงการโอนกรรมสิทธิที่ดินให้จุฬา
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 52:
ระหว่าง พ.ศ. 2476–2486 มีการโอนย้ายส่วนราชการออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้น กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2476 มีการโอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ([[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ในปัจจุบัน)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/1007.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476], เล่ม 50, ตอน 0ก, 20 มีนาคม พ.ศ. 2476, หน้า 1007</ref> และ พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ เพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ([[มหาวิทยาลัยมหิดล]]ในปัจจุบัน)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/A/007/212.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช 2486], เล่ม 60, ตอน 7 ก, 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486, หน้า 212</ref> อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังคงใช้สถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดการศึกษาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 3 คณะจึงโอนกลับมาเป็นคณะวิชาในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในระยะต่อมา<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/060/9.PDF ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 121 มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ กำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ ข้าราชการ ลูกจ้าง นักศึกษาและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดลเฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], เล่ม 89, ตอน 60 ก ฉบับพิเศษ, 14 เมษายน พ.ศ. 2515, หน้า 9</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2510/A/126/1.PDF พระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ไปเป็นของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510], เล่ม 84, ตอน 126 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2510, หน้า 1</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2482 จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานกรรมสิทธิที่ดินที่ได้รับเช่า คณะรัฐมนตรีจึงได้มีการเสนอให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความว่าจะยกกรรมสิทธิที่ดินนั้นให้แก่มหาวิทยาลับได้หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฏีกาได้เสนอความเห็นไว้ว่า เงื่อนไขในพระบรมราชโองการัชชการที่ 5 ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้น เฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราว ยังคงใช้ได้อยู่ ฉะนั้นการที่จะโอนไปให้แก่จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย จะกระทำได้ก็แต่โดยทางพระราชบัญญิติ กระทรวงการคลังจึงได้ขอเสนอร่างพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้แก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีความเห็น เห็นชอบ และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฏร<ref>[https://twitter.com/somsakjeam/status/840086159568982017 เอกสารรัฐบาลคณะราษฏร ยกที่ดินปทุมวัน]</ref> อันเป็นที่มาของประกาศเป็นพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482 ลงนามโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ณ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2482<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 หน้า 1364 วันที่ 30 ตุลาคม 2482 [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/1364.PDF?fbclid=IwAR008_BiXDsZk-Z8LQXHgXl8EAR4MKVfeWlDEDCuYIFHZ8vNS21xdTvTlzY พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482]</ref>
 
เมื่อจอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]] ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านภาษาและหนังสือหลายประการ<ref>[http://www.uamulet.com/articleAmuletBoardDetail.asp?qid=763 ตามรอยโบราณ "ค้นคว้าอักขระโบราณ" ตัวหนังสือไทย ตอน 2]</ref> จึงได้ปรากฏการเขียนชื่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่นอีก ได้แก่ "จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย"<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/A/007/198.PDF พระราชบัญญัติ จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย พุทธสักราช2486]</ref> อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ใน พ.ศ. 2487 ก็มีการประกาศยกเลิกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และให้กลับไปใช้การเขียนภาษาในรูปแบบเดิม การเขียนชื่อมหาวิทยาลัยจึงกลับเป็นแบบเดิม หลังจากนั้น ในช่วง พ.ศ. 2497–2514 ยังสามารถพบการเขียนนามมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งไม่มีเครื่องหมาย[[ทัณฑฆาต]]ที่ "[[ณ]]"<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/055/1.PDF พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522]</ref>