ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2381 ตนกูทาอิบได้แบ่งทัพ 300 คน นำโดยตนกูมูฮาหมัดยิหวาไปทางตะวันออกเข้าโจมตีเมือง[[อำเภอจะนะ|จะนะ]] ในเวลานั้นเจ้าเมืองจะนะคือพระยาจะนะ (บัวแก้ว) ไม่อยู่ไปราชการที่สงขลา ปลัดเมืองจะนะเป็นผู้รักษาป้องกันเมือง ฝ่ายไทรบุรีสามารถเข้ายึดเมืองจะนะได้และเผาทำลายเมือง จากนั้นจึงยกไปตั้งอยู่ที่บ้านนาเกลี้ยกล่อมเมือง[[อำเภอเทพา|เทพา]]และ[[อำเภอหนองจิก|หนองจิก]]ให้เข้าร่วมการกบฏ เมืองหนองจิกจึงเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ<ref name=":2" /> ตนกูยิหวายกทัพต่อเข้าโจมตีเมืองปัตตานี พระยาระแงะ (ตุวันบอซู) และพระพิทักษ์ธานีเมืองสายสามารถป้องกันเมืองปัตตานีไว้ได้ ตนกูยิหวาถอยร่นออกไป ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2382 พระยาสงขลาส่งหลวงไชยสุรินทร์ยกทัพ 500 คน ไปโจมตีทัพฝ่ายมลายูของตนกูยิหวาที่บ้านนา ตนกูยิหวาเอาชนะหลวงไชยสุรินทร์ได้ หลวงไชยสุรินทร์จึงถอยกลับมาตั้งอยู่ที่ปลักแรด (ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ) ตนกูยิหวายกทัพติดตามมาสู้รบที่ปลักแรด พระยาสงขลาให้กำลังเสริมแก่หลวงไชยสุรินทร์ที่ปลักแรด 500 คน หลวงไชยสุรินทร์จึงต้านทานตนกูยิหวาได้ คุมเชิงกันอยู่อีกเช่นกัน
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริ<ref name=":2" />ว่าสถานการณ์ทางเมืองสงขลาและปัตตานีไม่สู้ดี จึงมีพระราชโองการให้พระวิชิตณรงค์และพระราชวรินทร์นำทัพเรือจำนวน 700 คน ยกลงไปช่วยเมืองสงขลา พระวิชิตณรงค์โดยสารเรือกำปั่น''แกล้วกลางสมุทร''และพระราชวรินทร์ลงเรือกำปั่นอีกลำหนึ่งยกทัพไปจากกรุงเทพฯในเดือนกุมภาพันธ์ และในเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตก<ref name=":2" />ว่าหัวเมืองแขกมลายูปัตตานีจะเข้ากับฝ่ายกบฏจึงโปรดฯให้[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค)]] และ[[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)|เจ้าพระยายมราช (บุนนาค)]] ยกทัพเรือออกไปช่วยปราบกบฏทางใต้อีกทัพหนึ่ง
 
=== สยามยึดไทรบุรีคืน ===