ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาโศก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oum13928 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
เรียบเรียงเนื้อหาและการอ้างอิงใหม่
บรรทัด 1:
'''พญาโศก''' เป็นชื่อเพลงไทยเพลงหนึ่งที่ใช้ในการร้องหรือบรรเลงประกอบอารมณ์โศกเศร้า และเป็นเพลงที่นิยมใช้บรรเลงในพิธีศพของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของศพเกียรติยศชั้นต่างๆ
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
'''“เพลงพญาโศก”'''<ref>https://www.sanook.com/news/3893638/</ref> หรือ '''“เพลงโศกประจำชาติ”''' พระนิพนธ์ใน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|'''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต''']] พระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงฯ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ทรงนำเพลงพญาโศกอัตรา 2 ชั้นมาเรียบเรียงเป็นโน้ตสากล ทั้งเพิ่มเติมเสียงประสานให้มีความไพเราะเป็นแบบเพลงตะวันตกเพื่อให้กองแตรวงทหารบรรเลงแทนเพลงสโลว์มาร์ชที่เป็นของต่างชาติ
 
== ประวัติ ==
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรเลงครั้งแรก ในการพระราชพิธีพระบรมศพ [[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] และทรงมีพระราชดำรัสว่า 
 
เพลงพญาโศก เป็นเพลงไทยเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในเพลงเรื่องพญาโศก (ประกอบด้วยเพลงพญาฝัน, พญาโศก, ท้ายพญาโศก, พญาตรึก, พญารำพึง และพญาครวญ) ใช้ในการร้องหรือบรรเลงประกอบอารมณ์โศกเศร้า เพลงนี้มีทั้งเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น และอัตราจังหวะ 3 ชั้น โดยเพลงพญาโศก 2 ชั้น นิยมบรรเลงเฉพาะเพลงพญาโศกเพียงเพลงเดียว แต่บางครั้งจะบรรเลงเป็นเพลงเรื่องทั้งชุด ส่วนเพลงพญาโศก 3 ชั้น นิยมบรรเลงแบบ "เดี่ยว" คือบรรเลงคนเดียวด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดตามแต่ถนัด เพื่ออวดฝีมือและทักษะการบรรเลงของนักดนตรีโดยเฉพาะ ซึ่งพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก นักดนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ริเริ่มประดิษฐ์เพลงพญาโศกทางบรรเลงเดี่ยวเป็นคนแรก
“เพลงนี้ได้ทำขึ้นเหมาะแก่การใช้นำศพอย่างยิ่ง เพราะดี สมควรเป็นเพลงโศกจริง ๆ ต่อไปขอให้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงโศกประจำชาติ และใช้นำตั้งแต่พระบรมศพ ตลอดจนศพสามัญได้”
 
สำหรับการใช้เพลงพญาโศกร้องประกอบการแสดงโขนละคร จะใช้เพลงพญาโศก 2 ชั้น และต้องร้องในบทที่ตัวละครโศกเศร้าอยู่กับที่ เช่น ยืน นั่ง นอน เท่านั้น จะใช้ในบทที่เดินเคลื่อนที่ไปไม่ได้ นอกจากนี้ บทที่ร้องด้วยเพลงพญาโศกจะต้องเลือกฐานะของตัวละคร  โดยมากจะต้องใช้กับตัวละครที่เป็นกษัตริย์ เจ้านาย หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสูง
หลังจากนั้นจึงใช้เพลงพญาโศกแทนที่ใช้บรรเลงมาก่อนหน้านี้ ต่อมา เมื่อเสด็จไปรับราชการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ทูลกระหม่อมบริพัตร ได้ทรงพระนิพนธ์เพิ่มเติม โดยนำเพลงต้นพญาโศก มาเรียบเรียงให้เป็นท่อน 2 เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น จนเป็นที่นิยมใช้กันในการบรรเลงขณะเคลื่อนขบวนศพจนถึงปัจจุบัน
 
== เพลงพญาโศกทางดุริยางค์สากล ==
เพลงพญาโศก บรรเลงโดยกรมดุริยางค์ทหารบกในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 2<ref>https://www.youtube.com/watch?v=VPaEsZ-pnWQ</ref><ref>เพลงพญาโศก เพลงประกอบริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ http://kingrama9.net/Honor/Detail/40</ref>
ในปี พ.ศ. 2462 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ดำริว่า สมัยนั้นประเทศไทยยังใช้เพลงสโลว์มาร์ชของต่างชาติในการเคลื่อนพระบรมศพหรือพระศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง จึงทรงนำเพลงพญาโศก 2 ชั้น มาเรียบเรียงใหม่ตามแนวดุริยางค์สากล สำหรับให้วงโยธวาทิตใช้บรรเลงนำขบวน
 
พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อได้ทรงฟังเพลงพญาโศกทางดุริยางค์สากลแล้ว ทรงโปรดเพลงนี้มาก และมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นเพลงที่มีลีลาสง่า ยิ่งใหญ่ อารมณ์เศร้า และที่สำคัญมีความหนักแน่นในตัวเอง จึงเหมาะสมแก่การอวมงคลเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงบรรเลงนำริ้วกระบวนเชิญพระบรมศพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นงานแรก นอกจากนี้ยังทรงพระรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้เพลงพญาโศกเป็น "เพลงโศกประจำชาติ" ให้ใช้ในงานศพได้ได้ตั้งแต่การพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพเจ้านาย ลงไปจนถึงงานศพของสามัญชน
==อ้างอิง==
 
{{รายการอ้างอิง}}
== อ้างอิง ==
* {{cite web |url=http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakkzTURFMU9BPT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE5TMHdNUzB5Tnc9PQ==l |title="พญาโศก" รู้ไปโม้ด โดย...น้าชาติ ประชาชื่น |author= น้าชาติ ประชาชื่น |date=27 มกราคม 2558 |work= |publisher=ข่าวสดออนไลน์ |accessdate=29 มิถุนายน 2563}}
* {{cite web |url=http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%81-%E0%B9%92%E0%B9%90-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95l |title="พญาโศก"|author= กนกวรรณ ทองตะโก |date=20 กุมภาพันธ์ 2557 |work= |publisher=สำนักงานราชบัณฑิตยสภา |accessdate=29 มิถุนายน 2563}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://rtafband.com/new/index.php?mode=academic&group=96&id=170&date_start=&date_end= โน้ตเพลงวงโยธวาทิต (Military Band) กองดุริยางค์ทหารอากาศ] (มีโน้ตเพลงพญาโศกทางดุริยางค์สากล)
 
[[หมวดหมู่:เพลงไทยเดิม]]
[[หมวดหมู่:เพลงมาร์ช]]
[[หมวดหมู่:พิธีศพ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พญาโศก"