ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 65:
ปี [[พ.ศ. 2518]] ได้มีการปรับปรุงและพัฒนางานด้านวิชาการครั้งใหญ่ ได้ขยายห้องสมุดขนาด 6 ห้องเรียนให้ได้มาตรฐาน จัดหาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้นักเรียนได้ทดลองด้วยตนเองจำนวนมาก สร้างกำแพงโรงเรียนด้านหน้าและด้านข้างบางส่วน แทนรั้วลวดหนามและรั้วเฟื่องฟ้าเดิม ปรับปรุงโรงเรียนอัสสัมชัญอาชีวศึกษา ที่เลิกกิจการไปให้เป็นนวกสถาน ปรับปรุงเป็นหอพักนักเรียนประจำ นำบ้านมงฟอร์ตมาเป็นสถานที่อบรมเยาวชนที่จะบวชเป็นภราดา ก่อนที่จะส่งไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย ในระหว่างนี้ ภราดาราฟาแอลได้ซื้อที่ดินที่ติดกับพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนเพิ่มอีก 11 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา และได้ซื้อที่ดินแปลงเล็ก ๆ เพิ่มอีก จนกระทั่งปัจจุบัน โรงเรียนมีเนื้อที่ทั้งหมด 80 ไร่ 27 ตารางวา
 
ปี [[พ.ศ. 2520]] ได้มีการเปลี่ยนวันหยุดประจำสัปดาห์ จากเดิมหยุดวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์ มาเป็นหยุดในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ในปีการศึกษา 2522 ได้ก่อตั้ง กองลูกเสือสำรองและสามัญขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาปีการศึกษา 2523 มาสเตอร์ทวี ปัญญา ได้แต่งเพลงมาร์ชอัสสัมชัญธนบุรี และภราดาพีรพงศ์ ดาราไทย ได้ตั้งคณะโขนขึ้น ในส่วนของอาคารสถานที่ ได้ปรับปรุงสนามตะกร้อ สร้างสนามกรีฑา สนามเทนนิส ห้องน้ำนักเรียน ถนนรอบโรงเรียน และหอพักนักเรียนประจำ ขยายจำนวนห้องเรียนจากชั้นละ 4 ห้องเรียน เป็น 5 ห้องเรียน รื้ออาคารไม้หลังแรกออก และได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีต 4 ชั้น 21 ห้องเรียน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2525 เรียกว่า “อาคาร 4” ปีการศึกษา 2525 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์และสายศิลป์ อย่างละ 1 ห้อง เป็นปีแรก ซึ่งนักเรียนรุ่นแรก สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังได้ตั้งวงดนตรีไทยวงใหญ่ขึ้น ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทยประเภทขับร้องเดี่ยว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ทั่วประเทศ ได้รับรางวัลโล่ชนะเลิศจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] ต่อมา ได้ตั้งวงโยธวาทิตพร้อมเครื่องดนตรีใหม่ครบชุด 36 ชิ้น ขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงเรียน
 
ปี [[พ.ศ. 2526]] ได้มีการจัดทำแผนแม่บทระยะ 12 ปี ได้สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ทางด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับอาคาร 4 เดิม แล้วเสร็จในปีการศึกษา 2529 ซึ่งเป็นวโรกาสโอกาสที่โรงเรียนก่อตั้งครบ 25 ปี และได้รับพระกรุณาคุณกรุณาธิคุณจาก[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ]]กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพิธีเปิด ภราดามีศักดิ์ ยังได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญธนบุรี สร้างกำแพงด้านข้างและด้านหลังโรงเรียนต่อจากของเดิม ทำให้โรงเรียนมีกำแพงล้อมรอบโรงเรียนครบทั้ง 4 ด้าน สร้างโรงอาหารขนาดมาตรฐาน 2 ชั้น เริ่มจัดทำวารสารประจำโรงเรียน จัดให้มีงานราตรีสัมพันธ์เป็นครั้งแรก จัดตั้งโรงเรียนคอมพิวเตอร์อัสสัมชัญธนบุรี สร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิกเป็นสระลอย 2 สระ โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2535 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อสระว่ายน้ำว่า “เทิดเทพรัตน์’ 36” ในวโรกาสที่พระองค์ท่านมีพระชนมายุ 36 ชันษา นอกจากนั้น ยังได้สร้างเรือนไทยคีตวัณณ์ สำหรับฝึกซ้อมวงดนตรีไทย ได้ปรับปรุงวงโยธวาทิตโดยจัดหาเครื่องดนตรีเพิ่มเติมหลายชิ้น และมีการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง จนได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2533 นอกจากนั้นยังได้รับเชิญให้ไปร่วมแสดงงานดนตรีเยาวชน 90 ในโอกาสที่ประเทศสิงคโปร์เฉลิมฉลองเอกราชครบ 25 ปี ได้สร้างสนามกรีฑาขนาดมาตรฐานพร้อมอัฒจันทร์และกระถางคบเพลิง ปรับปรุงสนามฟุตบอล สร้างอาคารมัธยมศึกษาตอนปลายชั่วคราว สร้างอาคารเก็บพัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ปรับปรุงประตูทางเข้า พัฒนาโรงอาหารจนได้รับรางวัลโรงอาหารมาตรฐานระดับดีเยี่ยม ริเริ่มให้มีการแข่งขันกีฬาครูสัมพันธ์อัสสัมชัญ 4 สถาบัน ขึ้นเป็นครั้งแรก
 
ปี [[พ.ศ. 2534]] ได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทในการพัฒนาโรงเรียน ปีการศึกษา 2538 ได้ร่วมกับ The Bell Educational Trust จากสหราชอาณาจักร เปิดศูนย์ภาษาอังกฤษอัสสัมชัญธนบุรี Bell โดย ดร.เจริญ คันธวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานพิธีเปิด นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยให้บุคลากรทุกคนอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2539 เป็นวโรกาสในโอกาสที่[[ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดช]]มหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้นทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ร่วมกับคณะผู้ปกครอง ได้ร่วมกันสมทบทุนสร้างสวนกาญจนาภิเษก จากนั้น ได้เริ่มโครงการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ และ[[พระคาร์ดินัล]]ไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] [[อัครมุขนายก]][[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]] เป็นประธานพิธีเสกอาคาร และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอาคาร และได้พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “รัตนบรรณาคาร” แปลว่า อาคารแห่งหนังสือที่รุ่งเรือง พร้อมกันนี้ โรงเรียนได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายห้องทรงงานบนชั้น 3 ของอาคาร โดยได้รับพระราชานุญาต ให้ใช้นามห้องนี้ว่า “สิรินธร” และในคราวเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการ มีพระกรุณาธิคุณผสมเกสรดอกกล้วยไม้ระหว่างพันธุ์มาดามวิภากับพันธุ์เขียวบางเลน และได้พระราชทานนามกล้วยไม้ที่ผสมนี้ว่า “พันธุ์อัสสัมชัญ” ปีการศึกษา 2540 ได้เปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรับนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก จากนั้นได้ก่อสร้างอาคาร “ราฟาแอล” โดยมีศิษย์เก่า คือ ฯพณฯ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ และมุขนายกยอร์ช [[ยอด พิมพิสาร]] เป็นประธานพิธีเสกอาคาร จากนั้น ได้ก่อสร้างอาคารหอประชุมหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต ในโอกาสที่ก่อตั้งโรงเรียนครบ 36 ปี นับได้ว่ายุคนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการเข้าสู่ยุคการศึกษาสมัยใหม่อย่างแท้จริง
 
ปี [[พ.ศ. 2541]] ได้มีการก่อสร้างหอประชุมหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต จนแล้วเสร็จ ในปีการศึกษา 2542 มุขนายกไมเกิ้ล [[ประพนธ์ ชัยเจริญ]] ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีเสกอาคาร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จากนั้น ภราดาเลอชัยได้ก่อสร้างอาคารบ้านพักภราดาหลังใหม่แทนบ้านพักภราดาหลังเดิม ก่อตั้งทุน “ลวสุต” เพื่อมอบให้กับนักเรียนในชุมชนโดยรอบที่เรียนดีแต่ขาดแคลน สร้างบรรยากาศคาทอลิกโดยการติดตั้งรูปปั้น[[พระนางมารีย์พรหมจารี]] รูปปั้นนักบุญ[[หลุยส์ เดอ มงฟอร์]] ตามบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน ทำรูปหล่อคุณไถง สุวรรณฑัต และภราดายอห์น แมรี่ ถมคลองทำถนนรอบโรงเรียน ปรับปรุงสถานที่ด้านหลังโรงเรียนให้เป็นสวนเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฏีใหม่ สร้างแปลงนาสาธิต ตลอดจนสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีสัตว์เลี้ยงนานาชนิด สนับสนุนการแข่งขันกีฬาฟุตบอลภายใน ให้ชื่อว่า “ตากสินคัพ” ริเริ่มโครงการนักกีฬาฟุตบอลช้างเผือกโดยใช้หอพักเดิมที่อยู่ในบริเวณวัดนักบุญหลุยส์ฯ เป็นที่พัก สนับสนุนพัฒนาห้องสมุดเป็นอย่างมาก โดยปีการศึกษา 2543 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษให้กับโรงเรียน นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ได้จัดตั้งกองทุนต่าง ๆ อาทิ กองทุนสวัสดิการครู กองทุนถาวรครูไม่สูญสลาย กองทุนครูเกษียณ และเริ่มก่อสร้างอาคาร “ยอห์น แมรี่”
 
ปี[[พ.ศ. 2544]] ได้มีการสร้างอาคาร “ยอห์น แมรี่” จนแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียน ห้องอาหาร ที่ทำการสมาคมผู้ปกครองฯ ที่ทำการสมาคมศิษย์เก่า และห้องประชุม ปีการศึกษา 2544 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้มอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ให้กับโรงเรียน ปรับปรุงอาคาร “มาร์ติน” ให้เป็นหอพักนักกีฬาฟุตบอลช้างเผือก ส่งเสริมสนับสนุนทีมนักกีฬาฟุตบอลจนกระทั่งได้รับชัยชนะหลายรายการ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและประเทศชาติ โดยเป็นตัวแทนโซนเอเชีย ไปแข่งขันในรายการ “แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด พรีเมียร์คัพ 2003 เวิลด์ไฟนัล” ที่รัฐโอเรกอนประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อันดับที่ 5 จาก 20 ทีมทั่วโลก สนับสนุนให้คณะครูแต่งเครื่องแบบของโรงเรียน เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับสถาบัน Knoten Welmar สาธารณรัฐเยอรมัน โดยนำเศษกิ่งไม้ใบไม้มาทำปุ๋ยหมักเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ปรับปรุงสวนสัตว์โดยการสร้างกรงนกขนาดใหญ่ และได้ก่อสร้างอาคารเซนต์แอนดรูว์สำหรับเป็นบ้านพักครูต่างชาติ ได้เช่าสถานที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียลที่คลองทวีวัฒนา เพื่อทำสนามฝึกซ้อมให้กับนักกีฬาฟุตบอลช้างเผือก นอกจากนั้นยังได้นำหลักสูตรภาษาจีนเข้ามาสอนในโรงเรียน และเริ่มวางแผนการเปิดหลักสูตร English Program
บรรทัด 80:
ปี [[พ.ศ. 2550]] ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานใหม่ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเอา Interactive Board พร้อมระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ตลอดจนจอ LCD ขนาดใหญ่ มาใช้ในห้องเรียน ปรับเปลี่ยนคอมพิวเตอร์จำนวนมาก นำระบบ School Web-based Information System SWIS มาใช้ในการบริหารงาน ติดระบบวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยตามสถานที่ต่างๆ ของโรงเรียน ขยายหลักสูตร English Program ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพิ่มแผนการเรียนสหศิลป์ ดนตรี กีฬา คอมพิวแตอร์ จัดตั้งศูนย์ดนตรีและจัดหลักสูตรเรียนดนตรีในเวลาเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ขยายหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษกับศูนย์ Bell ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และสอนภาษาจีนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นอกจากนั้นยังบูรณาการ การสอนภาษาอังกฤษในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และคอมพิวเตอร์ สนับสนุนให้ครูทำงานวิจัยและเขียนบทความ จัดทำห้องศูนย์การพิมพ์ให้ครูใช้ผลิตสื่อการสอน เปิดรับนักเรียนหญิงในทุกระดับชั้น นับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีเป็นโรงเรียนสหศึกษาโดยสมบูรณ์ ในด้านอาคารสถานที่ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเซนต์ปีเตอร์ ในคราวที่โรงเรียนก่อตั้งครบ 48 ปี และสร้างอาคารยิมเนเซียม ในโอกาสฉลอง 50 ปีโรงเรียน นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างอาคาร ลวสุต เป็นที่พักนักกีฬาโครงการพิเศษ (ช้างเผือก) สร้างอาคารสำนักงานฝ่ายอาคารสถานที่สำหรับเป็นที่เก็บวัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ ปรับปรุงอาคารเซนต์คาเบรียล และอาคารอิลเดอฟองโซ ให้เป็นสถานที่เรียนอย่างเป็นสัดส่วนของนักเรียน English Program ปรับปรุงประตูทางเข้าและแนวรั้วด้านหน้าโรงเรียนใหม่ ปรับปรุงสนามกีฬา ลู่วิ่ง กระถางคบเพลิง และอัฒจันทร์ใหม่ ให้ชื่อว่า “สนามว่องประชานุกูล” ปรับปรุงอาคารมาร์ติน ให้เป็นสถานที่เรียนกิจกรรม ปรับปรุงสระว่ายน้ำ สถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนภูมิทัศน์โดยรอบโรงเรียนใหม่ให้สวยงาม นอกจากนั้น ยังได้นำบทสวดมนต์ภาษาอังกฤษมาใช้ในโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนให้ฝึกซ้อมวงโยธวาทิตอย่างจริงจัง ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง รณรงค์ให้โรงเรียนเป็นแหล่งอนุรักษ์พลังงาน จนได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน สนับสนุนให้นักฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศ ส่งผลให้ทีมฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ได้เลื่อนชั้นไปเล่นฟุตบอลอาชีพ ลีกดิวิชั่น 2 ในชื่อ “อัสสัมชัญธนบุรี เดอะแพค เอฟซี” นอกจากนั้นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ ในระดับชาติอีกมากมายหลายรายการ
 
ปี พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน ในสมัยผู้อำนวยการคนล่าสุดคือ ภราดา ดร.วีรยุทธ บุญพราหมณ์ ได้มีงานสำคัญ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ได้ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธาน ในการเปิดอาคารเรียน ยิมเนเซียม และ อาคารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งอาคารยิมเนเซียมเป็นอาคารใหม่ เปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2555 เพื่อเป็น โรงอาหาร ห้องเรียนทำอาหาร ห้องเรียนเทควอนโด และชั้นบนเป็น สนามกีฬาในร่ม ซึ่งสามารถดัดแปลงไปเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ได้ และอาคารเซนต์ปีเตอร์ เป็นอาคารมัธยมปลาย เปิดใช้ในปี 2552 ภายในอาคารประกอบด้วยเทคโนโลยี ด้านสื่อการเรียนการสอนครบวงจร อาทิเช่น การใช้จอ iBoard หรือ กระดานเรียนที่ใช้ระบบสัมผัสได้ ในการเข้ามาประกอบการเรียน นอกจากนี้ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำซีรีส์ [[ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น]] อีกด้วย
 
== ผู้ก่อตั้งโรงเรียน ==
บรรทัด 196:
โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี มีอาคารหลักทั้งหมด 18 อาคาร เป็นอาคารเรียน 8 อาคาร และอาคารอเนกประสงค์ 10 อาคาร <ref>http://www.weekendhobby.com/act50th/webboard/Question.asp?ID=99</ref>
 
'''อาคารรัตนบรรณาคาร''' เป็นอาคารศูนย์การเรียนรู้ที่ครบวงจรขนาดใหญ่ พื้นที่ใช้สอยจำนวน 4 ชั้นโดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อว่า "รัตนบรรณาคาร" อีกทั้งยังมีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร นอกจากนี้ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ และ[[พระคาร์ดินัล]]ไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] [[อัครมุขนายก]][[เขตมิสซังกรุงเทพ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]] เป็นประธานเสกอาคาร อาคารรัตนบรรรณาคาร ประกอบด้วย ห้องสมุดทวีปัญญา ซึ่งเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่พิเศษใช้พื้นที่บริเวณชั้น 3 และ ชั้น 4 ภายในประกอบไปด้วย ห้องสมุดเสียง ห้องสิรินธร ห้องฉายภาพยนตร์ และห้องพิพิธภัณฑ์ ในส่วนชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2 ประกอบไปด้วย ห้องประชุมรัตนบรรณาคาร ห้องประชุมไถง สุวรรณฑัต ห้องวิจัยครู สำนักผู้อำนวยการ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการแมคอินทอช ห้องปฏิบัติการวินโดวส์ ตลอดจนห้องปฏิบัติการสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องเลขาผู้อำนวยการ ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติการเคมี
 
'''หอประชุมหลุยส์ มารี เดอ มงฟอร์ต''' เป็นอาคารศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณรำลึกบุญคุณของ นักบุญ[[หลุยส์ เดอ มงฟอร์]] ผู้ก่อตั้ง[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร อาคารดังกล่าว ประกอบด้วย ห้องประชุมอเนกประสงค์ขนาดใหญ่พิเศษที่สามารถใช้เป็นได้ทั้งสถานที่ประชุม สนามกีฬาในร่ม และโรงละคร สามารถจุคนได้มากกว่า 2,000 คน นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมมงฟอร์ตออดิโธเรียม ตลอดจนศูนย์ดนตรี ซึ่งประกอบด้วยห้องเรียนดนตรีไทยและสากล 20 ห้อง <ref>http://www.icons.co.th/Architectsubdb.asp?name=6831</ref>
 
'''อาคารอัสสัมชัญ''' พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุกรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงเปิดอาคารในงานฉลองครบ 30 ปีของโรงเรียน เป็นอาคารเรียนที่มีความยาวที่สุดในโรงเรียน ขนาดความยาว 135 เมตร ปัจจุบันประกอบด้วย ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น ป.5 - ม.2 จำนวน 40 ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 6 ห้อง ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ 2 ห้อง ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ห้องเรียนภาษาจีน
 
'''อาคารราฟาแอล''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ ภราดาราฟาแอล ภักดี ทุมมกานนท์ ภราดาอาวุโส เป็นอาคารเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 6 ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น ป.1 - ป.4 ห้องเรียนเปียโน ห้องคอมพิวเตอร์ 4 ห้อง ห้องเรียนศิลปะ ห้องแล็บ ห้องเรียนภาษาจีน ห้องเรียนเซรามิค ห้องประชุมราฟาแอล ห้องเสริมทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนโถงอเนกประสงค์ขนาดใหญ่<ref>http://www.civiltechdesign.com/project_education_h.html</ref>
 
'''อาคารเทิดเทพรัตน์ 36''' เป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา โดยได้รับพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร อาคารหลังดังกล่าวประกอบด้วยสระว่ายน้ำขนาด 25 เมตร และ 50 เมตร รวม 2 สระ ตลอดจนห้องเก็บอุปกรณ์พลศึกษา ห้องเก็บอุปกรณ์ศิลปะ ห้องพยาบาล และมีห้องอาหารอยู่บริเวณใต้อาคาร <ref>http://www.act.ac.th/department/pool/</ref>
 
'''อาคารอิลเดอฟองโซ''' เดิมชื่ออาคารอำนวยการ หรืออาคาร 1 ต่อมาตั้งนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ ภราดาอิลเดอฟองโซ มาเรีย ซีซีเรีย อดีตผู้อำนวยการคนที่ 2 ของโรงเรียน ประกอบด้วยห้องเรียนนักเรียนระดับชั้น EP (ENGLISH PROGRAM) และห้องปกครอง
บรรทัด 222:
'''อาคารลวสุต''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ภราดาชาลล์ โบโรเมโอ เลอชัย ลวสุต อาคารหลังนี้ใช้เป็นบ้านพักนักกีฬาโครงการพิเศษ
 
'''อาคารเซนต์ปีเตอร์''' เป็นอาคารเรียนขนาดใหญ่ของระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร โดยอาคารนี้ตั้งนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ภราดาเปโตร อานันท์ ปรีชาวุฒิ อธิการคนที่ 9 ของโรงเรียน ใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยตั้งขนาบกับอาคารอิลเดอฟองโซและอาคารเซนต์คาเบรียล ประกอบด้วยห้องการเรียนที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน มีคอมพิวเตอร์ โปรเจกต์เตอร์ สมาร์ทบอร์ด ทุกห้องเรียน โดยในชั้นบนจะเป็นห้องประชุมเซนต์ปีเตอร์
 
'''อาคารโกลเด้นจูบิลี่ (ยิมเนเซียม)''' เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงรองรับกีฬาในร่มประเภทต่างๆได้โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคาร ออกแบบโดยบริษัท ไทยโพลิคอนส์<ref>http://www.thaipolycons.co.th/2009/th/Service/previous/hospital_.aspx</ref> โดยประกอบทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นใต้ดินเป็นลานจอดรถ ชั้น 1 เป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ ชั้น 2 เป็น ห้องเรียนกอล์ฟ ห้องเรียนเทคอนโด ห้องเรียนการแสดงจากบางกอกแดนซ์ ห้องคหกรรม ห้องฟิตเนส เป็นต้น ส่วนชั้น 3 เป็นโรงยิมในร่มชื่อว่า มาร์ตินยิมเนเซียม ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ได้ โดยสามารถรองรับได้ 1,000 คน