ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบโฆษณา
Witwatarun (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) เจ้าตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Zzzzzaaaaaxx019.jpg|thumb|หลวงปู่นาค วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2482]]
'''พระพิมลธรรม''' นามเดิม '''นาค''' ฉายา '''สุมนนาโค''' เป็น[[พระราชาคณะเจ้าคณะรอง]][[เขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ|หนเหนือ]] เจ้าคณะมณฑลชุมพร [[เจ้าอาวาส]][[วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร]] นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระ[[เกจิอาจารย์]]ผู้มีชื่อเสียงจากการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
 
[[ไฟล์:Zz005.jpg|thumb|รูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณราชวราราม ปี พ.ศ. 2475 ]]
ท่านหลวงปู่นาคท่านยังได้สร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ เพื่อไว้แจกแก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะไม่แจกพร่ำเพรื่อ เพราะตามตำราการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาคที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายนั้น ท่านจะต้องทำพิธีปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านได้เฉพาะปีที่มีเสาร์ห้าเท่านั้น ซึ่งในสมัยนั้นหากลูกศิษย์ลูกหาคนใดอยากได้ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณของท่านหลวงปู่นาคเอาไว้บูชา ส่วนใหญ่จะพากันมาสั่งหนังเสือที่ร้านเจ้ากรมเป๋อหน้าวัดสามปลื้มเหตุเพราะในสมัยนั้นใครมีของป่าและยาสมุนไพรป่าก็จะนิยมนำมาขายหรือฝากขายที่ร้านนี้ เมื่อได้มาแล้วจะนำส่วนหน้าผากของเสือมาตัดแบ่งตามขนาดใหญ่เล็กแล้วแต่ขนาดของหน้าผากเสือที่ได้มา ถ้าเล็กก็ประมาณ 1 นิ้วหากใหญ่ก็ไม่เกิน 2 นิ้วต่อ 1 ชิ้นหนังหน้าผากเสือ
 
ซื่งเสือหนึ่งตัวจะสามารถตัดแบ่งหนังหน้าผากได้ไม่กี่ชิ้น จากนั้นจะนำมาแช่น้ำเพื่อขูดขนออกให้เกลี้ยงแล้วนำมาฝนให้หนังหน้าผากเสือมีความหนาที่บางลง เพื่อง่ายต่อการจารและม้วนเป็นตะกรุด เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามขนาดที่ต้องการแล้วก็จะนำมาถวายให้ท่าน หลวงปู่นาคท่านจะทำพิธีจารอักขระเลขยันต์ตามสูตร เมื่อจารอักขระเลขยันต์เสร็จแล้ว ท่านจะทำการม้วนตะกรุดโดยใช้ด้ายสายสินเล็กๆมาควั่นเพื่อมัดให้หนังเสือแห้งอยู่ตัวไม่คลายออก ซึ่งในยุดหลังๆปลายชีวิตท่านหลวงปู่นาค ท่านจะให้พระเณรหรือลูกศิษย์วัดในกุฎิของท่านทำการควั่นเชือกตะกรุดแทนท่านเมื่อเสร็จในขั้นตอนนี้แล้ว ก็จะทำการลงรักเพื่อรักษาให้หนังเสือมีการรัดตัวและมีอายุการใช้งานคงทนยืนนาน ซึ่งหนังเสือที่นำมาลงรักนั้นจะมีทั้งยังมีเชือกที่ควั่นไว้และไม่มีเชือกที่ควั่นไว้ก็มี และมีทั้งการลงรักแล้วปิดทองและไม่ปิดทองก็มี
[[ไฟล์:Zz012.jpg|thumb|ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณราชวราราม แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทองยุคต้นของท่าน]]
 
 
เมื่อเสร็จสมบูณ์เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านจะเริ่มปลุกเสกของท่านไปเรื่อยๆเพื่อรอให้ถึงฤกษ์เสาร์ห้าในปีนั้นๆจึงจะทำพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าอีกครั้ง เมื่อเสร็จจากพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านจึงจะทำการแจกจ่ายกับศิษย์ที่ศัทธาหรือศิษย์ที่ได้นำหนังหน้าผากเสือมาไว้ให้ท่านทำพิธีให้ จะเห็นได้ว่าด้วยขั้นตอนวิธีการทำที่สลับซับซ้อนของการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จึงทำให้ได้ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ที่มีจำนวนค้อนข้างน้อย
 
และมีจำนวนการสร้างที่มีจำนวนจำกัดเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เป็นที่ใฝ่หาของบรรดาท่านที่นิยมศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณ เป็นอย่างยิ่ง จนในยุคปัจจุบันนี้จะหาตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านจริงๆชมกันได้ยากยิ่ง ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ นั้นเข้มขลังมาก มีประสบการณ์มากมาย ถึงขนาดใครใส่ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านเดินผ่านคอกวัวควายในสมัยนั้น วัวควายยังตื่นกลัววิ่งหนีแตกตื่นกันอย่างลนลาน
 
รูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณราชวราราม ปี พ.ศ.2475
 
หลวงปู่นาคท่านได้เคยแจกรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดในปี พ.ศ.2475 เนื่องในโอกาสทำบุญครบ 5 รอบอายุ 60 ปี ซึ่งจริงๆแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านไม่มีเจตนาจะสร้างรูปกระจกข้าวหลามตัดนี้เลย แต่ด้วยเพราะบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านในสมัยนั้นเห็นว่าปีนี้เป็นงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่าน และก็อยากจะได้รูปถ่ายของท่านไว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลกัน จึงได้ไปขอให้ท่านหลวงปู่นาคสร้างรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด ท่านหลวงปู่นาคจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นท่านไม่ขอยุ่งเกี่ยว ถ้าอยากได้กันจริงๆก็ให้ไปหาท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังเพื่อขอคำแนะนำเพราะท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังท่านได้ทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดแบบนี้ขึ้นมาก่อนเมื่อปี 2471 เมื่อทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดเสร็จแล้ว ลูกศิษย์จึงนำมาถวายท่านหลวงปู่นาคให้ท่านปลุกเสก และแจกในงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่านดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
[[ไฟล์:Zz0001.jpg|thumb|ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) เจ้าตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม 01]]
 
 
ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) เจ้าตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
 
คณะสงฆ์วัดอรุณราชวราราม โดย พระครูปลัดดิลกวัฒน์(ชุมพร นิติสาโร) เลขานุการวัดอรุณราชวราราม - ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม และคณะกรรมการจัดงานแห่องค์พระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ประจำปี 2563 โดย คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์(วิทย์ วัดอรุณ) คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์(โต วัดอรุณ) และกลุ่มลูกหลานศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ได้ร่วมใจกันจัดสร้าง ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) เจ้าตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐ เพื่อระลึกและเชิดชูเกียรติในองค์ หลวงปู่นาค สุมนฺนาโค(พระพิมลธรรม) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐
[[ไฟล์:Zz0002.jpg|thumb|ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) เจ้าตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม 02]]
 
 
และร่วมแสดงความยินดีฉลองสมณศักดิ์เนื่องในโอกาสเลื่อนสมณศักดิ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค9 เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เนื่องในวาระโอกาสที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯจาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ พระราชทานสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ในชั้นธรรม และยังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ โดยได้จัดพิธีพุทธาภิเษกเพื่อฟรีเป็นของขวัญแก่พี่น้องประชาชนผู้เคารพศรัทธาในองหลวงปู่นาค และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
<br />[[ไฟล์:Zz005.jpg|thumb|รูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณราชวราราม ปี พ.ศ. 2475 ]]
== ประวัติ ==
'''พระพิมลธรรม''' มีนามเดิมว่า '''นาค''' เป็นชาวบ้านบางพูน [[จังหวัดปทุมธานี]] เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2415 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2416) เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับเจ้าอธิการหว่าง วัดสารพัดช่าง (ภายหลังเป็นพระครูธรรมานุสารี วัดเทียนถวาย) ได้เข้าสอบครั้งแรกในปีขาล พ.ศ. 2433 ได้[[เปรียญธรรม 4 ประโยค]] เมื่ออายุครบอุปสมบท อาจารย์จึงนำมาฝากกับ[[สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)|พระธรรมวโรดม (แดง สีลวฑฺฒโน)]] [[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]]<ref name="หน้า250">''เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑'', 250</ref>
เส้น 19 ⟶ 43:
== มรณภาพ ==
พระพิมลธรรม ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2488<ref>''ประวัติวัดอรุณราชวราราม'', หน้า 85</ref> สิริอายุได้ {{อายุปีและวัน|2416|1|3|2488|7|14}}
 
<br />
 
== อ้างอิง ==