ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฟ้างุ้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 93:
 
จากนั้นเจ้าขุนทั้งหลายก็ออกไปกินบ้านกินเมืองของตนฝ่ายพระองค์ยกพลออกทางบกฮวดเสด็จถึงเชียงดงเชียงทองเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ วันอังคาร มื้อกาบซะง่า นางแก้วฟ้าผู้สำเร็จราชการแทนพร้อมชาวบ้านชาวเมืองประกอบพระราชพิธีบายสีหลวง (สู่เข้าเล่าขวัญ) กระทำราชพิธีอุสาภิเษก (บรมราชาภิเษก) ให้ ๒ พระองค์เป็นมหากษัตริย์และพระอัครมเหสีในเชียงดงเชียงทอง ให้มีพระชนม์มั่นยืนมีพระราชโอรสธิดาสืบสายราชสมบัติไปไม่ขาดสาย<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๖.</ref>
 
===เหตุแห่งการสร้างและเหตุแห่งการอัญเชิญพระบางสู่ล้านช้าง===
เมื่อพระยาฟ้างุ้มปราบบ้านเมืองได้ทั้ง ๑๐ทิศแล้วจึงเสด็จประทับเสวยราชย์นครเชียงดงเชียงทอง ยามนั้นประชาชนล้านช้างยังนับถือศาสนาเดิมคือศาสนาผีฟ้าผีแถนผีพ่อผีแม่ (ผีบรรพบุรุษ) เป็นที่พึ่ง ไม่รู้คุณพระรัตนตรัยใจหยาบกร้านหาญกล้าชอบใช้หอกดาบ นางแก้วฟ้าพระราชธิดาพระยานครหลวงตรัสกับพระราชสวามีว่า ''"..เมืองอันใดบ่อมีศาสนาพระเจ้าดังนี้ข้าก็อยู่บ่เป็น ข้าจักคืนเมือหาพ่อข้าชื่อเมืองพระนครหลวงพุ้นแล..."'' พระองค์เห็นดังนั้นตรัสว่า ''"...เฮาพาไปไหว้พระนครหลวงขอเอาศาสนาพระพุทธเจ้ามาเทอญ..."'' ทรงแต่งนายคนใช้นำคำ ๓๐,๐๐๐ เงิน ๓๐๐,๐๐๐ แก้วน้ำดง แก้วภูก่อ และแก้วจอมเพ็ชรเป็นราชบรรณาการถวายกษัตริย์พระนครหลวง พระยานครหลวงรำพันถึงพระราชธิดาว่าอยากให้พระพุทธศาสนาแผ่ทั่วชมพูทวีป จึงโปรดฯ พระมหาเถรปาสมันเจ้าตนพี่กับพระมหาเถรเจ้าเทพลังกาพร้อมศิษย์พระ ๒๐ รูปไปอัญเชิญพระบางเจ้า พระบางเจ้าเป็นพระพุทธรูปที่ชาวลังการวมเงินคำมาตั้งที่พระเจดีย์หลวงแล้วบอกพระมหาจุลนาคเถรเจ้าว่าอยากหล่อรูปพระพุทธเจ้าไว้โปรดสัตว์ เรื่องราวของพระบางเจ้าเต็มไปด้วยปาฏิหาริย์เช่นเดียวกับพระแก้วมรกตคือหลังพระมหาจุลนาคเถรเจ้าทราบความปรารถนาของชาวลังกาจิงเข้าสมาบัติทะยานสู่ป่าหิมพานต์ถึงก้อนหินเสลาบาทในป่าซึ่งมีมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ พระมหาจุลนาคเถรเจ้าพบเจ้ารัสสี (ฤษี) ๒๐ ตนมีรัสสีทองและรัสสีซาวเป็นประธานจิงกล่าวกับเจ้ารัสสีว่าชาวลังกาอยากหล่อรูปพระพุทธเจ้า เรื่องนี้ร้อนถึงบันฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระยาอินทร์ พระยาอินทร์พร้อมวิสุกรรมเทวบุตรและเทวดาทั้งหลายบนชั้นฟ้าดุสิดา ยามา ตาวติงสา และจาตุม (จตุมหาราชิกา) กับเทวดาทั้งหลายที่อยู่ในแผ่นดินและจักรวาฬทั้งมวลพร้อมกันมีพระยาอินทร์และพระมหาจุลนาคเถรเจ้าเป็นประธาน ให้รัสสี ๒ ตนนำเงินคำจากพระยาลังกาที่ชาวลังการวมไว้ที่มหาเจดีย์หลวงรวมเข้ากัน มีขนาดเท่าเม็ดข้าวฝ้างบ้าง เม็ดงาบ้าง ฝ่ายพระยาลังกานำคำ ๑๐๐ นิกขะถวายเจ้ารัสสีรวมหล่อเข้ากับของชาวเมืองและเทวดาทั้งหลายพร้อมอธิษฐานว่า ''"..คำข้านี้ให้เป็นตีนทั้งสองให้เป็นมือทั้งสองให้เป็นหัวใจพระพุทธเจ้าเทอญ..."'' แล้วสั่งเจ้ารัสสีทั้ง ๒ ว่า ''"...เมื่อใดหล่อพระเจ้าแล้วเจ้ากูจงให้มหานาคเถรเจ้ามาหาผู้ข้าแด่ จักมุทธาภิเสกในเมืองลังกาพี้ให้ลือชาปรากฏทั่วทีปทั้งมวล..."'' แล้วเจ้ารัสสีจึงไปหาพระมหาจุลนาคเถรเจ้า มหาเถรเจ้าเป็นประธานพร้อมพระอินทร์และเทวดาทั้งหลายรวมเงินคำและทองของตนมอบแก่วิสุกรรมเทวบุตรเพื่อหล่อพระบางเจ้าในเดือน ๔ เพ็ง (เพ็ญ) วันอาทิตย์ ยามใกล้รุ่ง หล่อแล้วพระมหาจุลนาคเถรเจ้าพร้อมพระยาอินทร์และเทวดาทั้งหลายนำพระพุทธรูปตั้งไว้ ณ ข่วงหลวงกลางเมืองลังกาให้คนไปเฝ้าพระยาลังกา พระยาลังกาจึงนำราชสมบัติทั้งมวลมาบูชาธาตุพระพุทธเจ้า ๕ องค์แล้วประดิษฐานเหนือไตคำ (ถาดทองคำ) ตั้งไว้หน้าพระพุทธรูปพระบางเจ้าพร้อมถวายราชสมบัติทั้งมวลบูชาด้วย ทรงอธิษฐานว่า ''"...ผิว่าพระพุทธเจ้าองค์นี้จักตั้งอยู่โผดสัตว์ทั้งหลายในลังกาทีปแลชมภูทีปให้แล้วคำมักคำปรารถนาแห่งคนทั้งหลายดังนั้น จงให้ธาตุพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์นี้เสด็จเข้าในตนตัวพระพุทธเจ้าณบัดนี้เทอญ..."'' ธาตุพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าในพระนลาฏ ต่อมคอ กลางอุระ ฝ่าพระหัตถ์ขวา ฝ่าพระหัตถ์ซ้ายอย่างละองค์ต่อหน้าพระมหาจุลนาคเถรเจ้าพร้อมพระยาลังกาและเสนาอำมาตย์ เทวดาทั้งหมื่นโลกจักรวาฬถึงชั้นฟ้าดุสสิดาพากันสาธุการโปรยข้าวตอกดอกไม้บูชาประทูปประทีปจำนวนมาก พระยาลังกาประทับในที่นั้น ๗ วัน ๗ คืนแล้วสร้างวิหารที่ข่วงหลวงเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทรงใช้นิมิต ๓ ประการเรียกชื่อพระบาง ประการแรกข้างข่วงวิหารนั้นมีสระใหญ่ชื่อสระบางพุทธาคนทั้งหลายจึงเรียกนามพระพุทธรูปว่าพระบางเจ้า ประการที่สองถือนิมิตครั้งนำเงินคำจากพระยาลังกามาหล่อเหล่าเสนาชาวเมืองลังกาทั้งหลายพากันกล่าวโวหารว่า ''"...เอาของขาใส่บ้าง ๆ..."'' ประการที่สามผู้ใดได้ไหว้บูชาแล้วความโกรธกิเลสตัณหาพยาธิในตัวก็ ''"...ลวดน้อยลวดบางหายเสีย..."'' พระบางเจ้าโปรดสัตว์และคนทั้งหลายในลังกา ๗ ชั่วพระยา ต่อมาพระมหาพุทธโฆษาจารย์เจ้าไปจารหนังสือที่ลังกาเดินทางถึงนครหลวงจึงเล่าถวายพระยานครหลวงว่า ''"...ยังมีพระบาท (พระบาง) เจ้าตนหนึ่งอยู่เมืองลังกาวิเศษนัก ย่อมให้แล้วคำมักคำปรารถนาแห่งคนทั้งหลาย องค์พระเจ้านั้นหนักสี่หมื่นสี่พันห้าฮ้อยเป็นปัญจโลหะคำทั้งเงินทั้งทองหล่อกับดอมกัน อนึ่งหากเป็นแต่ตำนานแต่ลังกามากับพระบางเจ้าแล..."'' พระยานครหลวงจึงใช้ทูตเจริญสัมพันธไมตรีหรือทำมิตรทำสหายกับพระยาลังกาแล้วขอธรรมไตรปิฏกทั้ง ๓ กับพระบางเจ้ามาบูชาโปรดสัตว์ในนครหลวง พระยาลังกาพระราชทานธรรมไตรปิฏกทั้ง ๓ มาก่อนส่วนพระบางเจ้าอัญเชิญภายหลังในเดือน ๔ เพ็ง อยู่โปรดสัตว์เมืองนครหลวง ๗ ชั่วพระยาจึงมาอยู่เมืองล้านช้าง<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๖-๑๑๐.</ref>
 
==ข้อแตกต่างของพระราชประวัติในหลักฐานลายลักษณ์อื่น==