ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาทรียานง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wittawin Panta (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
สนธิสัญญาทรียานงร่างขึ้นจากคำร้องขอสงบศึกของ อดีตจักรพรรดิและรัฐบาลขุนนางจักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรและผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องได้ยอมรับคำขอสงบศึกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918<ref>[https://www.loc.gov/law/help/us-treaties/bevans/m-ust000002-0020.pdf "MILITARY ARRANGEMENTS WITH HUNGARY"] (PDF). ''Library of Congress''. US Congress. Retrieved 5 May 2020.</ref> โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้กำหนดให้ฮังการีเป็นรัฐอิสระและกำหนดเขตแดนเสียใหม่ การแบ่งดินแดนทำให้ประเทศฮังการีกลายเป็น[[ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล]] มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% จากพื้นที่เดิมของฮังการีเมื่อยังเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) มีประชากร 7.6 ล้านคน ซึ่งนับเป็นเพียง 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน<ref>http://open-site.org/Regional/Europe/Hungary</ref> พื้นที่ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด ส่วนใหญ่ประชากรไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ 31% ของชาวฮังการี (3.3 ล้านคน) ถูกทิ้งไว้นอกเขตแดนของประเทศฮังการี<ref>Macartney, C. A. (1937). ''Hungary and her successors: The Treaty of Trianon and Its Consequences 1919–1937''. Oxford University Press.</ref> ห้าในสิบเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรก่อนสงครามตกไปอยู่ในการครอบครองของประเทศอื่น ๆ<ref>Macartney, C. A. (1937). ''Hungary and her successors: The Treaty of Trianon and Its Consequences 1919–1937''. Oxford University Press.</ref> สนธิสัญญาทรียานงจำกัดขนาดกองทัพของฮังการีให้มีทหารเพียง 35,000 คน และกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีถูกยุบลงไป<ref>https://en.wikipedia.org/wiki/Austro-Hungarian_Navy</ref>
[[ไฟล์:Trianon Statue Bekescsaba big.jpg|thumb|อนุสรณ์สถานการเสียดินแดนจากสนธิสัญญาทรียานง ในเมือง[[เบเกชชอบอ]] ประเทศฮังการี]]
ประเทศที่ได้ครองดินแดนของอาณาจักรฮังการีที่เสียไป ประกอบด้วย[[ราชอาณาจักรโรมาเนีย]], [[ประเทศเชโกสโลวาเกีย|สาธารณรัฐเชโกสโลวัก]], [[ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย]] และ[[สาธารณรัฐออสเตรีย]] หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาคือแนวคิด "การตัดสินใจโดยประชาชน" เป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่[[ชาวฮังการี]] มีรัฐชาติและความเป็นเอกราชของตนเอง<ref>Martin P. van den Heuvel,Jan Geert Siccama: ''The Disintegration of Yugoslavia'', Yearbook of European Studies, 1992 [1]</ref> นอกจากนี้ฮังการีจะต้องจ่าย[[ค่าปฏิกรรมสงคราม]]ให้กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่าการเจรจาร่วมกับชาวฮังการี และชาวฮังการีไม่มีทางเลือกนอกจากต้องยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา คณะผู้แทนชาวฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม)<ref>"[http://www.encyclopedia.com/doc/1E1-TrianonTr.html Trianon, Treaty of]". ''The Columbia Encyclopedia''. 2009.</ref> เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ที่พระราชวังกร็องทรียานง ในเมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในชุดสนธิสัญญาของ[[สันนิบาตชาติ]]เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1921<ref>''League of Nations Treaty Series'', vol. 6, p. 188.</ref> อาณาเขตของประเทศสาธารณรัฐฮังการีในปัจจุบันมียังมีขนาดคงเดิมตามสนธิสัญญาทรียานง มีการแก้ไขเล็กน้อยจนถึงปี ค.ศ. 1924 เกี่ยวกับชายแดนฮังการีและออสเตรีย ([[รัฐบูร์เกนลันด์]])<ref>Botlik, József (June 2008). "[http://www.vasiszemle.hu/2008/06/botlik.htm AZ ŐRVIDÉKI (BURGENLANDI) MAGYARSÁG SORSA]". ''vasiszemle.hu''. VASI SZEMLE.</ref> รวมไปถึงหมู่บ้านสามแห่งที่กลายเป็นดินแดนของ[[ประเทศเชโกสโลวะเกียเชโกสโลวาเกีย]]ในปี ค.ศ. 1947<ref>http://adatbank.sk/lexikon/pozsonyi-hidfo/</ref> หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]
 
== อ้างอิง ==