ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดพลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แรงปลาย (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมข้อมูล
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 17:
ความพิเศษของชุมชนตลาดพลูในยุคนี้คือ ผู้คนต่างอยูร่วมกันในเรือนไม้ห้องแถวและเริ่มมีการก่อสร้างอาคารพานิชโครงสร้างปูนผสมไม้ตามซอยต่างๆเช่น ซอยวัดโพธิ์นิมิตร ซอยวัดใหม่จีนกัน ซอยโรงเจ และซอยวัดบางสะแกนอก ในแต่ละซอยจะมีคนหลากหลายอาชีพมาอยู่ร่วมกัน ทั้งช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างทาสี ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า มีทั้งคนไทยและจีนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ ในส่วนของซอยวัดบางสะแกนอก จะเป็นแหล่งรวมของช่างอัญมณี ช่างทอง ที่ทำงานให้กับร้านเพชรและร้านทองต่างๆในย่านเยาวราช โดยมากจะเป็นช่างจากจังหวัดราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก
 
''ตลาดพลูยุคที่ 4'' ดินแดนแห่งอาหาร ช่วงเวลาของยุคนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2531-2550 ถือเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของชุมชนตลาดพลู เมื่่อเมื่อมีการตัดถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ ผ่ากลางชุมชนซอยคุณพระ ซึ่งเป็นชุมชนเรือนไม้ขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดพลูและมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือ เหตุการณ์เพลิงไหม้ชุมชนซอยคุณพระ ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีผู้เสียชีวิตหลายราย และทำให้คนในชุมชนหลายร้อยครอบครัวต้องไร้บ้าน ส่งผลกระทบให้คนจำนวนมากต้องออกจากตลาดพลูเพื่อหาที่อยู่ใหม่ (เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดต่อจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ในสมัยจอมพล ป.) ปัจจุบันบริเวณชุมชนซอยคุณพระเดิมนี้คือ ที่ตั้งของสะพานรัชดา-ท่าพระ ตั้งแต่ตีนสะพานจนถึงบริเวณจุดตัดรถไฟตลาดพลู ส่วนหนึ่งของซากชุมชนที่เหลืออยู่คือ บริเวณที่ว่างรกร้างด้านข้างสะพานรัชดา-ท่าพระ นั่นเอง ที่ว่างแห่งนี้ในอดีตคือจุดถ่ายทำภาพยนต์ภาพยนตร์เรื่อง GOOD MORNING, VIETNAM ในปี 1987 บริเวณนี้ในอดีตมีเศษซากห้องแถวเรือนไม้ที่ถูกไฟไหม้ให้จำลองเป็นเหตุการณ์ของสงครามในภาพยนต์ภาพยนตร์ได้ (ส่วนหนึ่งที่ทำให้เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้รุนแรงมากนั่นคือความล่าช้าในการดับเพลิง จากเหตุการณ์นี้คือที่มาของการจัดตั้ง สถานีดับเพลิงย่อยตลาดพลู นั่นเอง)
 
เมื่อบ้านที่เคยอยู่อาศัย อาชีพที่เคยทำถูกเพลิงไหม้ไปหมด ประกอบกับวิกฤติครั้งสำคัญของประเทศไทยคือ วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ทำให้อาชีพต่างๆในอดีตที่เคยรุ่งเรืองในตลาดพลูค่อยๆเลือนหายไป เช่น กลุ่มช่างทอง อัญมณีในซอยวัดบางสะแกนอกหรือกลุ่มช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ต่างต้องยุติอาชีพของตนลงและเปลี่ยนมาทำการค้าขายแทน จุดเปลี่ยนนี้คือจุดสำคัญที่ทำให้ชุมชนตลาดพลู เป็นดินแดนของอาหารในเวลาต่อมา เมื่อคนในชุมชนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีชีวิตเดิมของชุมชนมีการประกอบอาหารกันเองในครอบครัวอยู่แล้ว ทางเลือกหนึ่งของคนกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มาจากจังหวัดราชบุรีคือการหันมาประกอบอาชีพขายอาหารแทนนั่นเอง ช่วงเวลานี้ศูนย์กลางของตลาดพลูได้เกิดขึ้นบริเวณใต้สะพานตลาดพลูเพราะเป็นจุดคมนาคมที่สำคัญมากของคนฝั่งธน เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายของผู้คนในชุมชนริมทางรถไฟจากย่านบางบอน บางขุนเทียน หากต้องการเข้าสู่กรุงเทพชั้นในผู้คนจะเดินทางไปสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ แต่หากต้องการเข้าสู่ย่านจรัลสนิทวงศ์ ถนนตก บางไผ่ ราชฎร์บูรณะ ผู้คนจะลงสถานีรถไฟตลาดพลูเพื่อเดินทางต่อไปย่านดังกล่าว หากต้องการเดินทางด้วยรถโดยสารไปฝั่งพระนครไม่ว่าจะสนามหลวง รถเมล์สาย 9 / เยาวราช รถเมล์สาย 4 / นนทบุรี รถเมล์สาย 103 / ประชาชื่น รถเมล์สาย 66 / สาธุประดิษฐ์ รถเมล์ 205 / อนุเสาวรีย์ รถเมล์สาย 108 หรือแม้แต่การโดยสารเรือสาธารณะ ธงเหลือง สะพานพุทธ-ตลาดบางแค ธงเขียว รร.ราชินี-พาณิชยการธนบุรี