ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดพลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แรงปลาย (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหา
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 13:
3.คำเล่าขานว่าในยุคสมัยหนึ่งคนกรุงเทพเปิดประตูบ้านค้างไว้ก็ไม่ต้องกลัวขโมยเพราะประชาชนไม่กล้าทำผิด จุดเริ่มของคำเล่าขานนี้มาจากเหตุการณ์ไฟไหม้เรือนไม้ตลาดพลู ริมทางรถไฟ ในยุคจอมพลสฤษดิ์ (ปัจจุบันคือบ้านพักพนักงานรถไฟใต้สะพานตลาดพลู ไม่ไกลจากสถานีรถไฟตลาดพลูนัก) จุดเกิดเหตุคือเรือนไม้ที่ปลูกกันเรียงรายยาวขนานกับเส้นทางรถไฟ บ้านต้นเหตุเป็นร้านขายยา โดยจอมพลสฤษดิ์ได้ลงมาไต่สวนเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยตัวเองและในท้ายที่สุดเจ้าของร้านขายยาบ้านต้นเพลิงได้ถูกตัดสินประหารชีวิต
 
''ตลาดพลูในยุคที่ 3'' ยุคแห่งเรื่องราวและจุดแวะพักของนักแสวงโชค ตลาดพลูในช่วงเวลานี้กินเวลายาวนานตั้งแต่ปี 2505 - 2530 หลังจากมีการประกาศใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมมากมาย ส่งผลกระทบทางอ้อมให้มีคนจำนวนมากต้องหลีกหนีกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในฝั่งกรุงเทพ โดยเฉพาะกับชาวจีนจำนวนหนึ่งที่ตัดสินใจมาอาศัยอยู่ในย่านตลาดพลูโดยมากจะเริ่มจากการเช่าอาศัยอาคารเรือนไม้ที่สร้างขึ้นอย่างมากมายจนเกิดเป็นชุมชนต่างๆ เช่น ชุมชนวัดใหม่จีนกัน ชุมชนซอยคุณพระ ชุมชนวัดโพธิ์นิมิตร ชุมชนวัดบางสะแกนอก และชุมชนหลัง รสพ. หรืออู่รถเมล์สาย 103 นอกจากชาวจีนแล้วยังมีชาวบ้านในจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ต่างก็เข้ามาปักหลักทำมาหากินกันเป็นจำนวนมากในตลาดพลู การหล่อหลอมของชาวบ้านไทยและจีนนี้ปรากฎปรากฏผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในยุคนั้นคือ ขบวนแห่เทียนของวัดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ วัดขุนจันทร์ วัดราชคฤห์ วัดอินทราราม วัดโพธิ์นิมิตรและวัดเวฬุราชิน ชาวบ้านต่างรวมใจจัดขบวนแห่เทียนเข้าพรรษานี้ร่วมกัน ในยุคนั้นการดูขบวนแห่เทียนเหล่านี้ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชม. และจะมีการละเล่นต่างๆมากมายตลอดเส้นทาง มีขบวนแห่ป้ายที่ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยด้ายขนาดใหญ่เป็นอักษรมงคลของจีนร่วมในขบวนความยาวของขบวนหลายสิบเมตร จากอดีตจนถึงปัจจุบันผู้พิมพ์ก็ยังไม่เคยเห็นการแห่ป้ายนี้จากที่ใดในประทศไทยเลย (ขบวนแห่เหล่านี้เริ่มหายไปจากตลาดพลูประมาณปี 2530)
 
ความพิเศษของชุมชนตลาดพลูในยุคนี้คือ ผู้คนต่างอยูร่วมกันในเรือนไม้ห้องแถวและเริ่มมีการก่อสร้างอาคารพานิชโครงสร้างปูนผสมไม้ตามซอยต่างๆเช่น ซอยวัดโพธิ์นิมิตร ซอยวัดใหม่จีนกัน ซอยโรงเจ และซอยวัดบางสะแกนอก ในแต่ละซอยจะมีคนหลากหลายอาชีพมาอยู่ร่วมกัน ทั้งช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างทาสี ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า มีทั้งคนไทยและจีนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ ในส่วนของซอยวัดบางสะแกนอก จะเป็นแหล่งรวมของช่างอัญมณี ช่างทอง ที่ทำงานให้กับร้านเพชรและร้านทองต่างๆในย่านเยาวราช โดยมากจะเป็นช่างจากจังหวัดราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก (ปัจจุบันยังคงมีร้านขายข้าวต้มอยู่หนึ่งร้านที่ครอบครัวสืบเชื้อสายมาจากช่างทองเหล่านี้)