ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดพลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แรงปลาย (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมข้อมูลด้านอาณาเขต
แรงปลาย (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3:
'''ตลาดพลู''' เป็นชุมชนและทางแยกตั้งอยู่บริเวณ[[ถนนเทอดไท]] แขวงตลาดพลู [[เขตธนบุรี]] ติดกับ[[คลองบางกอกใหญ่]] แต่เดิมเป็นพื้นที่ของชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่[[สมัยกรุงธนบุรี]] ต่อมาเมื่อย้ายราชธานีไปยังฝั่งพระนคร ชาวจีนบางส่วนที่ตลาดพลูจึงได้ย้ายไป[[สำเพ็ง]] และมีชาวมุสลิมจากภาคใต้ย้ายเข้ามาแทนที่<ref name=แต/> ได้ริเริ่มการทำสวนพลูที่นี่ ทั้งชาวมุสลิมและชาวจีนต่างทำสวนพลูจนเป็นอาชีพที่แพร่หลาย เกิดเป็นตลาดซื้อขาย[[พลู (พืช) |พลู]]ที่เรียกว่า "ตลาดพลู" จนบัดนี้<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000043802 ชมวัดงาม เที่ยวย่านถิ่นเก่าที่ "ตลาดพลู"]โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2550 15:15 น.</ref>
 
อาณาเขตของตลาดพลูในอดีต ด้านตะวันตกจะเริ่มนับจากคลองบางสะแก ทิศเหนือติดคลองบางกอกใหญ่ ทิศตะวันออกจะติดคลองสำเหร่ และด้านทิศใต้จรดคลองวัดบางสะแกใน (ก่อนจะเปลี่ยนจากคลองเป็นถนนซอยรัชดาภิเษก-ท่าพระ 13 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2532) อาณาเขตที่กล่าวถึงนี้มาจากจุดจอดขายหมากพลู ซึ่งมีมากมายเรียงรายตามแนวคลองบางใหญ่ แต่จุดที่นิยมในการซื้อขายมากที่สุดคือบริเวณชายคลองบางกอกใหญ่จากท่าน้ำวัดอินทรามถึงปากคลองบางสะแก จนถูกเรียกติดปากของคนในยุคนั้นว่า ย่านตลาดพลู ตลาดพลูยุคที่ 1 จึงเป็นยุคของพื้นที่ๆผลิตหมากพลูเป็นหลัก ชาวบ้านต่างประกอบอาชีพปลูกหมากพลู ยังไม่ใช่ย่านการค้าที่เจริญมากนัก (ยุคก่อน พ.ศ. 2475)
 
ตลาดพลูยุคที่ 2 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หลังจากปี 2475 จนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนถ่ายผู้อยู่อาศัยในย่านตลาดพลู ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงการทำมาหากินของคนในพื้นที่ จากพื้นที่ปลูกหมากพลูเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัยของคนจีนและคนจากจังหวัดใกล้เคียง โดยผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากการประกาศยกเลิกการกินหมากพลูในยุค จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้ชาวบ้านที่มีพื้นที่ดินในตลาดพลูหันมาปลูกอาคารเรือนไม้ 2 ชั้น ให้เช่าอาศัย โดยผู้อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกมักจะเป็นคนจีนที่หนีค่าครองชีพที่สูงในย่านหัวลำโพง หรือเยาวราช ฝั่งพระนคร มาพักอาศัยในย่านตลาดพลูนี้แทน (รูปแบบของเรือนไม้นี้ยังสามารถพบเห็นได้บริเวณริมทางรถไฟ ระหว่างสถานีรถไฟตลาดพลูจนถึงจุดตัดข้ามทางรถไฟซอยเทอดไท 33) ในช่วงเวลานี้ศูนย์กลางความเจริญของตลาดพลูอยู่บริเวณ วัดราชคฤห์ ซึ่งมีที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเดิมอยู่ และในเวลานั้นตลาดพลูไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กทม. แต่ขึ้นอยู่กับ จังหวัดธนบุรี (ยังมีหลักฐานหนึ่งที่หลงเหลือให้ระลึกถึงนั่นคือ ผ้าพันคอลูกเสือของ นร.ในกรุงเทพ หากเป็น นร.ฝั่งพระนครจะใช้ผ้าพันคอรูป ปราสาท แต่ถ้าเป็น นร.ฝั่งธน มักจะใช้ผ้าพันคอรูป พระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งก็คือตราประจำจังหวัดธนบุรีนั่นเอง)
 
ตลาดพลูในยุคที่ 2 มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือ 1.บริเวณสวนของชาวบ้านใกล้วัดบางสะแกในเป็นจุดที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรถูกยิงตก โดยบริเวณใกล้เคียงกับตลาดพลูในช่วงเวลานั้นคือ สามแยกไฟฉาย และ โรงเรียนชิโนรส เป็นที่ตั้งของไฟฉายขนาดใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยานเพื่อปกป้องการทิ้งระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตร เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นเหตุการณ์เดียวตลอดช่วงสงครามที่มีเครื่องบินถูกยิงตกในกรุงเทพ
 
2.หลังสงครามโลกสงบลง ตลาดพลูก้าวสู่ยุคภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ เนื่องจากประเทศจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ คนจีนที่จัดการเรียนการสอนหรือเป็นครูภาษาจีนจึงถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษว่ามีการสนับสนุนการกระทำอันส่งเสริมลัทธิคอมมิวนิสต์หรือไม่ ฝ่ายภาครัฐได้จัดตั้งกองโรงเรียนราษฏร์เพื่อตรวจสอบการเรียนการสอนของโรงเรียนจีนทั่วประเทศ มีอำนาจในการยุบหรือยกเลิกการอนุญาตการสอนของโรงเรียนได้ทันที และในการตรวจโรงเรียนฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะ[[โรงเรียนกงลี้จงซัน]] มักจะมีผลตรวจในระดับเรียบร้อยดีทุกครั้ง จนนักข่าวและสื่อมวลชนในยุคนั้นต่างเอาเหตุการณ์นี้มาเป็นวลี ประชดประชันว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" (โรงเรียนกงลี้จงซัน อยู่ท่ามกลางชุมชนชาวจีนซึ่งในเวลานั้นถือว่าเป็นรองแค่เยาวราชของฝั่งพระนครและในยุคที่เป็นจังหวัดธนบุรี ตลาดพลูมีสถานะไม่ต่างจากเยาวราชของจังหวัดกรุงเทพ)
 
3.คำเล่าขานว่าในยุคสมัยหนึ่งคนกรุงเทพเปิดประตูบ้านค้างไว้ก็ไม่ต้องกลัวขโมยเพราะประชาชนไม่กล้าทำผิด จุดเริ่มของคำเล่าขานนี้มาจากเหตุการณ์ไฟไหม้เรือนไม้ตลาดพลู ริมทางรถไฟ ในยุคจอมพลสฤษดิ์ (ปัจจุบันคือบ้านพักพนักงานรถไฟใต้สะพานตลาดพลู ไม่ไกลจากสถานีรถไฟตลาดพลูนัก) จุดเกิดเหตุคือเรือนไม้ที่ปลูกกันเรียงรายยาวขนานกับเส้นทางรถไฟ บ้านต้นเหตุเป็นร้านขายยา โดยจอมพลสฤษดิ์ได้ลงมาไต่สวนเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยตัวเองและในท้ายที่สุดเจ้าของร้านขายยาบ้านต้นเพลิงได้ถูกตัดสินประหารชีวิต
 
ในอดีต ตลาดพลูเป็นย่านที่มีความคึกคักมาก มีโรงภาพยนตร์ 2 โรง จนมีคำกล่าวว่า "[[ย่านเยาวราช|เยาวราช]]มีอะไร ตลาดพลูก็มีอย่างนั้น"<ref name=ตลา>{{cite web|url=https://talk.mthai.com/journey/450001.html|work=[[เอ็มไทยดอตคอม]]|author=thepureway|date=2017-09-27|title=Line กนก รากเหง้าหรืออำนาจเงิน ของดีย่านธนบุรี}}</ref>