ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเบลเยียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 104:
เบลเยียมได้รับ[[สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|คองโก]]เป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2428 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของ[[สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม|สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2]] แต่การปกครองคองโกของพระเจ้าโลโอโปลด์ที่ 2 เป็นไปอย่างโหดร้าย กดขี่ใช้แรงงานชาวอาณานิคมอย่างหนักเพื่อสร้างความมั่งคั่งจากการค้างาช้างและผลิตยาง ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตหลายล้านคน กลายมาเป็นกรณีอื้อฉาวระหว่างประเทศที่เสื่อมเสียอย่างมาก ชาวอาณานิคมต่อต้านอย่างรุนแรง ท้ายที่สุดพระองค์ทรงถูกบีบให้ยกเลิกและโอนการควบคุมคองโกรัฐบาลเบลเยียม ก่อตั้งเป็น[[เบลเจียนคองโก]]เมื่อ พ.ศ. 2451
 
[[ประเทศเยอรมนี|เยอรมนี]]เข้ารุกรานเบลเยียมในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]เพื่อเปิดเส้นทางสู่การบุกฝรั่งเศส ในช่วงนี้เบลเยียมเข้าครอบครอง[[รวันดา-อุรุนดี]] (ปัจจุบันคือ[[ประเทศรวันดา]]และ[[ประเทศบุรุนดี|บุรุนดี]]) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมนี [[สันนิบาตชาติ]]รับรองให้รวันดา-อุรุนดีอยู่ภายใต้การปกครองของเบลเยียม ต่อมาเบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรมนีอีกครั้งใน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพ[[สัมพันธมิตร]] หลังสงครามสงบเกิดการประท้วงนัดหยุดงานครั้งใหญ่ในเบลเยียมเมื่อปี พ.ศ. 2493 กดดันให้สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียมทรงสละราชสมบัติเนื่องจากมองว่าพระองค์ให้ความร่วมมือกับเยอรมนีในช่วงถูกปกครอง พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติให้กับ[[สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม|สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง]] พระราชโอรสในปีต่อมา
 
คองโกได้รับเอกราชในปี[[พ.ศ. 2503]] ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วม[[นาโต]] ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่[[บรัสเซลส์]] และจัดตั้งกลุ่ม[[เบเนลักซ์]]ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก<ref name="history1" /> เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของ[[ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป|ประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรป]]ในปี[[พ.ศ. 2494]] และในปี[[พ.ศ. 2500]] ก่อตั้ง[[ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป]]และ[[ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป]] ซึ่งต่อมาคือ[[สหภาพยุโรป]] เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น [[คณะกรรมาธิการยุโรป]] [[คณะมนตรียุโรป|คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป]] เป็นต้น
บรรทัด 158:
=== โครงสร้าง ===
เศรษฐกิจของเบลเยียมเชื่อมโยงกับตลาดโลกค่อนข้างมาก เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นของยุโรป เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิด[[การปฏิวัติอุตสาหกรรม]]<ref> {{cite web|title=Industrial History Belgium|publisher=European Route of Industrial Heritage|url=http://en.erih.net/index.php?pageId=114|accessdate=25 ก.ย. 2550}} {{en icon}}</ref> โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่น จนกลายเป็นประเทศที่มีการค้าขายระหว่างประเทศสูงสุดเป็นอันดับ 15 ของโลกในปี พ.ศ. 2550<ref>{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2078rank.html|title=Rank Order – Exports|work=CIA – The 2008 world factbook|quote=15[th]: Belgium $322,200,000,000 (2007 est.)|accessdate=5 October 2008|archiveurl=https://web.archive.org/web/20081004073036/https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook//rankorder/2078rank.html|archivedate=4 October 2008|url-status=live}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2087rank.html|title=Rank Order – Imports|work=CIA – The 2008 world factbook|quote=15[th]: Belgium $323,200,000,000 (2007 est.)|accessdate=5 October 2008|archiveurl=https://web.archive.org/web/20081004070323/https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook//rankorder/2087rank.html|archivedate=4 October 2008|url-status=live}}</ref> จุดเด่นของเศรษฐกิจเบลเยียมคือ ผลิตภาพของแรงงาน [[มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ|รายได้ประชาชาติ]] และการส่งออกต่อประชากรสูง<ref> {{cite web|title=Belgian economy|work=Belgium|publisher=กระทรวงการต่างประเทศ การค้าต่างประเทศ และความร่วมมือการพัฒนา เบลเยียม|url=http://www.diplomatie.be/en/belgium/belgiumdetail.asp?TEXTID=49019|accessdate=25 ก.ย. 2550}} {{en icon}}</ref> การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของ[[ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ]] (จีเอ็นพี) <ref name="US-state" /> สินค้าส่งออกหลักของเบลเยียมได้แก่เครื่องจักรและอุปกรณ์ สารเคมี เพชรเจียรไน ผลิตภัณฑ์จากเหล็กและโลหะ และอาหาร ส่วนสินค้านำเข้าหลักได้แก่วัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สารเคมี เพชรดิบ ยา อาหาร อุปกรณ์ระบบคมนาคม และผลิตภัณฑ์น้ำมัน<ref name="CIA">{{cite web|url=https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/be.html|title=Belgium|work=The World Factbook|publisher=[[Central Intelligence Agency]]|url-status=dead|archiveurl=https://web.archive.org/web/20160710084134/https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/be.html|archivedate=10 July 2016}}</ref> เบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกของ[[องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา]]
[[Fileไฟล์:Ougree_16.jpg|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Ougree_16.jpg|left|thumb|อุตสาหกรรมถลุงเหล็กริม[[แม่น้ำเมิซ]] ใกล้เมือง[[ลีแยฌ]]]]
เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของ[[ประชาคมยุโรป]] และสนับสนุนการขยายอำนาจของ[[สหภาพยุโรป]]เพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก<ref name="US-state" /> เบลเยียมเข้าร่วมใช้[[ยูโร|สกุลเงินยูโร]]ในปี[[พ.ศ. 2542]] และทดแทน[[ฟรังก์เบลเยียม]]อย่างสมบูรณ์ในปี[[พ.ศ. 2545]] ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับ[[ประเทศลักเซมเบิร์ก]]ตั้งแต่ปี[[พ.ศ. 2465]]<ref> {{cite web|title=Belgium in the European Union|work=Belgium|publisher=Belgian Federal Public Service (ministry) of Foreign Affairs, Foreign Trade and Development Cooperation|url=http://www.diplomatie.be/EN/belgium/belgiumdetail.asp?TEXTID=1730|accessdate=25 ก.ย. 2550}} {{en icon}}</ref>
 
บรรทัด 195:
 
=== ศาสนา ===
[[Fileไฟล์:Basilica_of_the_Sacred_Heart-2.jpg|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:Basilica_of_the_Sacred_Heart-2.jpg|left|thumb|186x186px|มหาวิหารพระหฤทัยแห่ง[[บรัสเซลส์]]]]
นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ [[ศาสนาคริสต์]][[นิกายคาทอลิก]]กลายเป็นศาสนาหลักของเบลเยียมแต่ได้มีการผสมกับแนวความคิดเสรี เบลเยียมเป็น[[รัฐโลกวิสัย]]คือรัฐมีความเป็นกลางทางศาสนา<ref>See for example [[wikisource:en:Catholic Encyclopedia (1913)/Belgium|Belgium]] entry of the [[Catholic Encyclopedia]]</ref> ให้อิสรภาพและความเคารพในการนับถือศาสนา ราชวงศ์ของเบลเยียมนับถือนิกายคาทอลิกมาอย่างช้านาน<ref name="MarshallCavendish2009">{{cite book|publisher=Marshall Cavendish|year=2009|author1=Loopbuyck, P.|author2=Torfs, R.|lastauthoramp=yes|volume=4|title=The world and its people – Belgium, Luxembourg and the Netherlands|isbn=978-0-7614-7890-4|page=499}}</ref>
 
บรรทัด 206:
 
=== การศึกษา ===
[[Fileไฟล์:2011-09-24_17.42_Leuven,_universiteitsbibliotheek_ceg74154_foto4.jpg|link=https://en.wikipedia.org/wiki/File:2011-09-24_17.42_Leuven,_universiteitsbibliotheek_ceg74154_foto4.jpg|thumb|หอสมุดกลางแห่งมหาวิทยาลัยคาทอลิก[[เลอเฟิน]]]]
การศึกษาภาคบังคับของเบลเยียมอยู่ระหว่าง 6 ถึง 18 ปี องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจระบุว่าชาวเบลเยียมศึกษาต่อหลังระดับมัธยมศึกษาราว 42 เปอร์เซ็นต์<ref name="NCES_Tbl-388">{{cite web|title=Table 388. Percentage of population enrolled in secondary and postsecondary institutions, by age group and country – Chapter 6. International Comparisons of Education, data: 2002|work=Digest of Education Statistics—Tables and Figures|year=2005|publisher=[[National Center for Education Statistics]], [[Institute of Education Sciences]] (IES), [[US Department of Education]]|url=http://nces.ed.gov/programs/digest/d05/tables/dt05_388.asp|accessdate=6 June 2007|archive-url=https://web.archive.org/web/20070605120831/http://nces.ed.gov/programs/digest/d05/tables/dt05_388.asp|archive-date=5 June 2007|url-status=live}}</ref>นับเป็นตัวเลขที่สูง ประชากร 99 เปอร์เซ็นต์รู้หนังสือ นอกจากนี้ โครงการเพื่อการประเมินนักเรียนนานาชาติเผยว่า การศึกษาของเบลเยียมติดอันดับ 19 ของประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก<ref name="OECD_PISA-2006">{{cite web|title=Range of rank on the PISA 2006 science scale|publisher=[[OECD]]|url=http://www.oecd.org/dataoecd/42/8/39700724.pdf|accessdate=27 February 2011|archive-url=https://web.archive.org/web/20091229020307/http://www.oecd.org/dataoecd/42/8/39700724.pdf|archive-date=29 December 2009|url-status=live}}</ref> โดยเฉพาะใน[[เขตฟลามส์]]