ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิวซิดิดีส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8410606 สร้างโดย 101.109.173.246 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{Infobox person
| name = ทิวซิดิดีส (Thucydides) hehehehehehehehehehehehehe
| image = Thucydides pushkin02.jpg
| image_size = 200px
บรรทัด 15:
| occupation = นักประวัติศาสตร์, นักการทหาร (ยศนายพล)
}}
 
 
'''ทิวซิดิดีส''' ({{lang-en|Thucydides}}; {{lang-grc|Θουκυδίδης}}, ''{{transl|grc|ธู-คู-ดิ-แดส}}''; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็น[[นักประวัติศาสตร์]]ชาว[[กรีก]] และเป็นผู้เขียนเรื่อง[[ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน]] (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหา[[สงครามเพโลพอนนีเซียน]] ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่าง[[สปาร์ตา]]กับ[[เอเธนส์]]ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อน[[คริสต์ศักราช]] ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวใน[[สมรภูมิที่แอมฟิโปลิส]] ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิง[[วิทยาศาสตร์]] เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน
เส้น 55 ⟶ 54:
== ปรัชญาความคิด ==
 
ทิวซิดิดีส ได้รับความเคารพโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ที่แท้จริงคนแรกๆแรก ๆ ของโลก เช่น เฮโรโดตัส (นิยมเรียกว่า บิดาแห่งประวัติศาสตร์) ทิวซิดิดีสให้ความสำคัญอย่างสูงต่อการพิสูจน์หลักฐานอย่างละเอียด และการบันทึกคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมถึงคำบรรยายเหตุการณ์ที่ตัวเองได้มีส่วนร่วมอย่างตรงไปตรงมาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่านยังใช้ความอุตสาหะในการทบทวนและตรวจดูความถูกต้องจากบันทึกในเอกสาร และตามคำบอกเล่าของผู้ที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์จริง ที่สำคัญที่สุดคือ ทิวซิดิดีสเป็นนักประวัติศาสตร์คนแรกที่ไม่ปักใจเชื่อ หรือพอใจอ้างอิงคำบอกกล่าวของกวี โดยไม่คิดวิเคราะห์ด้วยหลักฐานเสียก่อน งานเขียนของท่านจึงไม่ได้อิงกับตำนานหรือเทพนิยายอย่างสมัยนิยม ซึ่งแม้แต่อย่างข้อเขียนทางปรัชญาของเพลโต ผู้เป็นนักเขียนสมัยหลังทิวซิดิดีส ก็ยังพึ่งพาเทพปรกณัมอย่างมากในการตั้งของสัณนิษฐาน นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังไม่ให้ความสำคัญกับอำนาจของเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะมายุ่งเกี่ยว หรือบงการความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ต่างจากเฮโรโดตัสที่มักโทษความหยิ่งยโสโง่เขลา (hubris) ของมนุษย์ว่า เป็นเหตุให้พระเป็นเจ้ามาลงโทษ
 
===วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์===
 
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีส ได้แก่ [[ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน]] รับการแยกออกเป็นหนังสือจำนวน 8 เล่มหลังจากที่เขาเสียชีวิต งานชิ้นนี้เป็นความทุ่มเททางประวัติศาสตร์ของเขาที่จะบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์การเมืองและการสู้รบ ของมหาสงคราม 27 ปี ระหว่างนครเอเธนส์และพันธมิตร กับฝ่ายสปาร์ต้า เนื้อหาของบันทึกหยุดลงใกล้กับช่วงสิ้นสุดปีที่ 21 ของสงคราม และไม่ได้บรรยายไปถึงเหตุการณ์ในตอนท้ายของสงคราม (ส่วนที่เหลือของสงครามได้รับการบรรยายต่อจนจบในงานเขียนของ [[เซโนฟอน]] (Xenophone) นักการทหาร และนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก) มีเพียงข้อมูลที่ถูกร่างอย่างคร่าวๆคร่าว ๆ ระบุว่าการเสียชีวิตของทิวซิดิเดสเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดหมาย และเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือถูกทำร้าย ทิวซิดิดีสเชื่อว่ามหาสงครามเพโลพอนนีซ ในตอนปลาย ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เป็นเหตุการณ์สำคัญในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าในบันทึกของชาวกรีกเอง หรือของชาติอื่น เขาจึงตั้งใจอุทิศบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้แก่โลกเพื่อให้เป็นประโยชน์ดั่งเช่น “สมบัติแก่อนุชนไปชั่วกาลสมัย"
 
ความแตกต่างหลัก ๆ ข้อหนึ่งระหว่างงานเขียนประวัติศาสตร์ของทิวซิดิดีสและงานเขียนประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ก็คือ งานเขียนของทิวซิดิดีสจะประกอบด้วยคำพูดสนทนา และคำแถลงแบบเป็นทางการ หรือรวมเอาคำให้การที่มีความยาวพอสมควรไว้ ซึ่งตัวทิวซิดิดีสเองยอมรับว่าบทสนทนาพวกนี้เป็นเนื้อหาที่ไม่ได้ตรงกับคำพูดจริงๆจริง ๆ ทั้งหมด แต่เป็นการ"บูรณะ" (reconstruct) ขึ้นใหม่ตามคำให้การของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือความจำของตัวเขาเอง โดยนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเชื่อว่าทิวซิดิดีสใส่ความเห็นของตนลงไปด้วยในคำพูดเหล่านั้น หรือตามความเข้าใจและการตีความของเขาเองต่อเนื้อหาของสิ่งที่พูดว่าควรเป็นอย่างไร อย่างไรก็ดีนี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสมัยนั้น ที่จะรักษาความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งที่เคยพูดไว้ได้ เพราะหากทิวซิดิดีสไม่ทำเช่นนั้น เนื้อหาของบทสนทนาทางประวัติศาสตร์คงจะไม่เหลือรอดอยู่เลย ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของยุคสมัยใหม่ที่ทีเทคโนโลยีที่สามารถบันทึกและเก็บรักษาเอกสารคำให้การจำนวนมากๆมาก ๆ ดังนั้นทิวซิดิดีสจึงไม่แค่เพียง “เขียนตามหลักฐาน” แต่เป็นการช่วยไม่ให้แหล่งข้อมูลบอกเล่าด้วยปากถูกลืมเลือนไปโดยสิ้นเชิงด้วย ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดชิ้นนึงของบันทึกคำบอกเล่าที่ทิวซิดิสรักษาไว้ ได้แก่ คำสุทรพจน์ไว้อาลัยผู้ตายในสงครามของ[[เพริคลีส]] หรือ [[สุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส]] (Pericles' funeral oration) ซึ่งเป็นตำอธิบายและเชิดชูคุณค่าทางศีลธรรมของสังคมประชาธิปไตย จากปากของ[[เพริคลีส]] ผู้เป็นรัฐบุรุษและผู้นำของชาวเอเธนส์ และถือเป็นงานวรรณกรรมเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนนึงของข้อความนั้นเป็นภาษิตว่า:
 
{{คำพูด|''โลกทั้งใบคือสุสานของมนุษย์ผู้ลือนาม บุรุษพวกนี้มิได้เพียงแค่ถูกระลึกถึง โดยแนวเสาหินหรือเพียงคำไว้อาลัยในแผ่นดินของตนเอง แต่ยังถูกจดจำในต่างแดน ในความทรงจำที่มิใช่เพียงบันทึกบนแผ่นศิลา หากเป็นในหัวใจและความนึกคิดของผู้คนแม้จะอยู่ต่างถิ่น''|สุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีสต่อชาวเอเธนส์<ref name="ThII22">Thucydides, [[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 2#2:43|2.43]]</ref>}}
เส้น 67 ⟶ 66:
===บุกเบิกแนวคิด[[สัจนิยม]]ทางประวัติศาสตร์===
 
{{คำพูด|''ความถูกผิดชอบธรรม (δίκαιος) ตามความเข้าใจของนรชนในโลกนี้ เป็นเรื่องที่เคารพปฏิบัติก็แต่ระหว่างฝ่ายที่ถูกผูกมัดด้วยธรรมเนียมนั้นเหมือนๆเหมือน ๆ กัน แต่ผู้แข็งแกร่งย่อมทำได้ตามที่ตนสามารถ ในขณะที่ผู้อ่อนแอมีแต่ต้องทนรับ''|บทสนทนาระหว่างผู้ถือสารของจักรวรรดิเอเธนส์และผู้ปกครองนครเมลอส<ref name="ThV89">Thucydides, [[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:89|5.89]]</ref>}}
 
ทิวซิดิดีสพิจารณาว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถามทางจริยธรรมเสมอไป ท่านตั้งคำถามว่าความยุติธรรมและจารีตประเพณีจะมีบทบาทอย่างไร ต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐซึ่งมีอำนาจเป็นปัจจัยสำคัญ?<ref>{{cite article|first=W. Julian|last=Korab-Karpowicz|title=Stanford Encyclopedia of Philosophy|chapter=Political Realism in International Relations|url=https://plato.stanford.edu/entries/realism-intl-relations/#ThucImpoPowe|publisher=Standford University|accessdate=2017-06-07}}</ref> นักสัจจะนิยมมักจะตั้งแง่กับการนำประเด็นทางศีลธรรมมาเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศ และบางคนก็เถียงว่าไม่มีพื้นที่ให้กับคำถามทางศีลธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมิฉะนั้นก็อ้างว่ารัฐอธิปไตยย่อมมี "ศีลธรรมของตนเอง" ที่แตกต่างไปจากศีลธรรมตามจารีตประเพณี ด้วยเหตุนี้นักสัจจะนิยมจึงมองธรรมชาติของมนุษย์ว่ามีความเห็นแก่ตัว และมักคล้อยไปทางความหลงมัวเมาในอำนาจ จนมักจะเอาประโยชน์ส่วนตัวมาอยู่เหนือหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมอยู่ตลอดเวลา<ref>''ibid.''</ref>
เส้น 77 ⟶ 76:
[[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 5#5:101|5.101]]</ref>
 
แนวคิดสัจจะนิยมอธิบายว่า ประเทศทั้งหลายย่อมพยายามทำการทุกอย่างเพิ่มพูนอำนาจของตน และจะกระทำการใดๆใด ๆ เพื่อคาน หรือยับยั้งอำนาจของรัฐอื่นที่อยู่ในข่ายที่อาจเป็นภัยก้าวร้าวต่อความมั่นคงของรัฐตน ด้วยเหตุนี้สงครามจึงอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อประเทศที่เคยทรงอำนาจมาก่อนเห็นว่ารัฐอีกรัฐหนึ่งกำลังขยายอำนาจคุกคามความมั่นคงของตนมากขึ้นเรื่อยๆเรื่อย ๆ และไม่มีวิธีการอื่นที่จะหยุดการเพิ่มพูนทางอำนาจของรัฐที่ตนเห็นว่าเป็นปรปักษ์ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทิวซิดิดีสจึงระบุว่าสาเหตุของสงครามเพโลพอนนีเซียน เกิดจากการถ่ายเทอำนาจระหว่างสองขั้วอำนาจหลักของนครรัฐกรีก คือ ฝ่าย[[สันนิบาตดีเลียน]]ภายใต้การนำของเอเธนส์ฝ่ายหนึ่ง และฝ่าย[[สันนิบาตเพโลพอนนีเซียน]]ที่อยู่ภายใต้แสนยานุภาพทางทหารของสปาร์ตา (ซึ่งเป็นผู้นำทางการสงครามในภูมิภาคนี้มาแต่โบราณ) อีกฝ่ายหนึ่ง หรือพูดอีกอย่างคือ ทิวซิดิดีสเชื่อว่าการขยายอำนาจของเอเธนส์จนขึ้มมาเป็นจักรวรรดิ์ทางทะเล ทำให้ฝ่ายสปาร์ตาตัดสินใจเข้าสู่สงครามกับเอเธนส์<ref name="ThI23">Thucydides,
[[wikisource:History of the Peloponnesian War/Book 1#1:23|1.23]]</ref>
 
===การวิเคราะห์และตีความของนักวิชาการ===
 
อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากบันทึกมหาสงครามเพโลพอนนีเซียนทั้งเล่มของท่าน จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีส ไม่ได้เป็นนักสัจจะนิยมสายแข็ง แต่ท่านกลับมุ่งแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า อำนาจย่อมนำไปสู่ความกระหายที่จะแสวงหาอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากไม่ถูกบั่นทอนเสียบ้างโดยสำนึกของความยุติธรรม ซึ่งความมัวเมาในอำนาจและความมั่งคั่งทางวัตถุของจักรวรรดินี้ อาจกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่จะเอามาใช้เพื่อหาเสียงเข้าสู่อำนาจ จนประเทศชาติถูกชักนำไปสู่ความหายนะ ซึ่งนี่ก็เป็นชะตากรรมแบบเดียวกับที่เอเธนส์เผชิญในที่สุด เพราะชาวเอเธนส์ถูกชักนำให้มีความหยิ่งยโส คิดถึงแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่ใส่ใจพิจารณาถึงความชอบธรรมทางจารีตประเพณีในการกระทำของตน พวกเขาจึงประเมินกำลังตัวเองสูงเกินไป และในที่สุดความกระหายอำนาจนั้นก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้ต่อสปาร์ตาคู่อริ ดังนี้จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีวก็เอาภาพรวมของประวัติศาสตร์ มาอธิบายการล่มสลายของจักรวรดิเอเธนส์ว่าเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดต่อๆต่อ ๆ กันมาเป็นอนุกรม เพราะถูกชักจูงโดยความโลภและขาดสติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้ายกับวรรณกรรมโศกนาฏกรรมของกรีก ด้วยเหตุนี้นักวิชาการสมัยใหม่จึงเริ่มแคลงใจที่จะจัดให้ ทิวซิดิดีส เป็นบิดาของสัจนิยมการเมือง (real politik) เหมือนอย่างในอดีต
[[ไฟล์:Thucydides-bust-cutout ROM.jpg|thumb|รูปครึ่งตัวของทิวซิดิดีส ตั้งอยู่ ณ [[Royal Ontario Museum]], [[โทรอนโท]]]]