ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สมัยอยุธยา
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 50:
 
==== อาณาจักรศรีจนาศะ ====
ในยุค[[ทวารวดี]]ปรากฎปรากฏมี[[รัฐศรีจนาศะ|อาณาจักรศรีจนาศะ]] หรือ "จนาศะปุระ" ขึ้นซึ่งสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่[[เมืองเสมา|เมืองโบราณเสมา]] ในตำบลเสมา[[อำเภอสูงเนิน]]ในปัจจุบัน พบหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรศรีจนาศะจากจารึกสองชิ้นได้แก่ [[จารึกบ่ออีกา]]พบที่บ้านอีกาอำเภอสูงเนิน กำหนดอายุที่พ.ศ. 1411 ใช้อักษรหลังปัลลวะและจารึกด้วย[[ภาษาสันสกฤต]]และ[[ภาษาเขมร]] กล่าวถึงพระราชาแห่งศรีจนาศะประทานสัตว์และทาสแก่พระสงฆ์และสรรเสริญอังศเทพผู้สร้างศิวลึงค์ และ[[จารึกศรีจนาศะ]]ซึ่งพบที่อยุธยาเป็นอักษรขอมโบราณในภาษาสันกฤตและเขมรกล่าวถึงรายพระนามกษัตริย์แห่งศรีจนาศะจารึกขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1480 เมืองเสมาเป็นเมืองมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นรูปวงกลมรีพบโบราณสถานจำนวนเก้าแห่ง นอกจากนี้ยังมีพระนอนหินทรายที่วัดธรรมจักรเสมารามซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคศรีจนาศะ หลักฐานที่พบแสดงว่าถึงพระพุทธศาสนาในศรีจนาศะซึ่งได้รับอิทธิพลจากทวารวดีอยู่คู่กับศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย เมืองศรีจนาศะมีความสัมพันธ์กับ[[เมืองศรีเทพ]][[จังหวัดเพชรบูรณ์]]และเมือง[[ละโว้]]ซึ่งอยู่ภายใต้[[มัณฑละ]]เดียวกัน
 
เมื่อ[[จักรวรรดิเขมร]]แผ่ขยายอำนาจมาในพื้นที่เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้อาณาจักรศรีจนาศะสิ้นสุดลง [[จารึกเมืองเสมา]]พ.ศ. 1514 กล่าวถึง[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 5]] เมือง "โคราฆะปุระ" ถือกำเนิดขึ้นที่ตำบลโคราชริม[[แม่น้ำลำตะคอง]]มี[[ปราสาทเมืองแขก]]และ[[ปราสาทโนนกู่]]ซึ่งเป็นศิลปะแบบเกาะแกร์
บรรทัด 59:
สันนิษฐานว่า[[ปราสาทหินพิมาย]]ถูกสร้างขึ้นในสมัยของ[[พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1]]<ref>ธิดา สาระยา. '''เมืองพิมาย'''. กรุงเทพ; สำนักพิมพืเมืองโบราณ, พ.ศ. 2535.</ref> เนื่องจากรูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธานเป็นศิลปะแบบบาปวนซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นอกจากปราสาทหินพิมายยังมี[[ปราสาทหินพนมวัน]]ที่ตำบลบ้านโพธิ์ซึ่งสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน พบจารึกที่ปราสาทพิมายทั้งหมดหกหลัก กล่าวถึงการบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 และการสร้างรูปเคารพรวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 พ.ศ. 1579 กล่าวถึงพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา[[วัชรยาน]]<ref>https://e-shann.com/54486/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4/</ref> ทับหลังของปราสาทประธานสลักเป็นรูปของ[[พระธยานิพุทธะ|พระชินพุทธะ]]และพบสัญลักษณ์และรูปเคารพของวัชรยานอื่นๆ เมืองพิมายหรือ "วิมายปุระ" เป็นฐานที่มั่นของ[[ราชวงศ์มหิธรปุระ]]ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 6]] และต่อมาได้ครองจักรวรรดิเขมร จารึกปราสาทหินพิมาย 3 พ.ศ. 1651 ซึ่งตรงกับสมัย[[พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1]] กล่าวว่า “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคตวิมายะ" ในยุคนี้มีการสร้างปราสาทพิมายเพิ่มเติมในศิลปะยุคนครวัดซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของ[[พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2]] ปราสาทหินพิมายจึงเป็นการรวมกันของศิลปะยุคบาปวนและศิลปะยุคนครวัด
 
เมื่อราชวงศ์มหิธรปุระได้ขึ้นครองจักรวรรดิเขมรเมืองวิมายประทวีความสำคัญขึ้นในฐานะศูนย์กลางการปกครองของขอมโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ในสมัยของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] บูรณะปราสาทพิมายเนื่องจากเป็นเมืองเกิดของพระมารดา จากที่ปรากฎปรากฏใน[[จารึกปราสาทพระขรรค์]]พ.ศ. 1734 ที่[[นครธม]]ซึ่งกล่าวถึงเส้นทางการคมนาคมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กล่าวว่า“จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง” แสดงให้เห็นว่าเมืองวิมายเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่สำคัญ พบรูปประติมากรรมเหมือน<ref>https://www.posttoday.com/world/609003</ref>ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ปราสาทพิมาย ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเขมรเสื่อมอำนาจลงและ[[อาณาจักรอยุธยา]]แผ่ขยายอำนาจเข้ามาเมืองพิมายจึงลดความสำคัญลง
 
=== สมัยอยุธยา ===
''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก เลขทะเบียน ๒๒๒ ๒/ก ๑๐๔'' กล่าวถึง[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] (เจ้าสามพระยา) “อยู่ปีหนึ่ง ท่านให้ก็ตกแต่งช้างม้ารี้พล ทั้งปวงจะยกไปเมืองพิมายพนมรุ้งไซร้ พอเจ้าเมืองทั้งหลายถวายบังคมพระบาทผู้เป็นเจ้าๆก็ให้พระราชทานรางวัลแล้วคืนไปอยู่ตามภูมิลำเนา”<ref name=":1">ศานติ ภักดีคำ. '''เขมรรบไทย'''. กรุงเทพ; สำนักพิมพ์มติชน, 2554.</ref> ซึ่งตรงกับศิลา[[จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ]]ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อพ.ศ. 1974 และพบที่[[อำเภอลำสนธิ]][[จังหวัดลพบุรี]] กล่าวถึงสมเด็จพระอินทราบรมจักรพรรดิธรรมิกราชโปรดฯให้[[ขุนศรีไชยราชมงคลเทพ]] "เอาจตุรงค์ช้างม้ารี้พลไปโจมจับพระนครพิมายพนมรุ้ง"<ref name=":1" /> แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและ[[ที่ราบสูงโคราช]]ด้านตะวันตกในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามพระยาฯ
 
ในสมัยอยุธยาเมืองนครราชสีมาคือ "เมืองโคราฆะ" ริมแม่น้ำลำตะคองในตำบลโคราชอำเภอสูงเนินในปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเมืองเสมา เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นฐานการปกครองของอยุธยาในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและเป็นรอยต่ออาณาเขตของอยุธยากับ[[อาณาจักรล้านช้าง]]และ[[เขมรป่าดง]] ในรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]จาก[[กฎมณเฑียรบาล]]เมืองนครราชสีมาเป็นหนึ่งในเมืองพระยามหานครแปดเมืองซึ่งเจ้าเมืองต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ใน[[พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง]] ปรากฎปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองนครราชสีมาว่า '''ออกญากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ''' ศักดินา 10,000 ไร่ พงศาวดารเขมรระบุว่าในพ.ศ. 2113 เมื่อ[[สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)|สมเด็จพระบรมราชาที่ 3]] แห่ง[[อาณาจักรเขมรละแวก]]เข้าตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จจึงยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จ<ref name=":1" /> [[สมเด็จพระนเรศวร|สมเด็จพระนเรศวรฯ]]ทรงจัดการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่โดยเมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นโท นอกจากนี้พงศาวดารเขมรยังระบุอีกว่าในพ.ศ. 2173 รัชกาล[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] พระศรีธรรมราชาที่ 2 แห่ง[[อาณาจักรเขมรอุดง]]ยกทัพมากวาดต้อนผู้คนในเขตเมืองนครราชสีมา<ref name=":1" />
 
[[ไฟล์:Corazema-Map-1693.JPG|thumb|left|เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236|248.991x248.991px]]
บรรทัด 76:
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]]ในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น"เจ้าพิมาย" เกิด[[ชุมนุมเจ้าพิมาย]]ขึ้น เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรี<ref name=":3" />ขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่[[อำเภอด่านขุนทด|ด่านขุนทด]]<ref name=":3" /> ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีฯทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา<ref name=":3" /> ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี
 
ในสมัยธนบุรีปรากฎปรากฏมีนามเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แก่ พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) และ"เจ้าพระยานครราชสีมา"<ref>https://pantip.com/topic/37872872</ref> ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) ย้ายไปรับราชการที่ธนบุรีและแต่งตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (ทองอิน) เป็นพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์|เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์]]) และพระอภัยสุริยา (บุญเมือง) เป็นปลัดเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์|เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์]]) ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯเมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำกำลังทหารของนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์ที่กรุงธนบุรีไว้ก่อนที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน
 
=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===