ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรล้านช้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kkgonkong (คุย | ส่วนร่วม)
ข้อมูลเพิ่มเติมเล็กน้อย
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 104:
พระยาฟ้างุ้มเป็นพระราชโอรสของ[[เจ้าฟ้าเงี้ยว|ท้าวผีฟ้า]] และเป็นพระราชนัดดาของ[[พระยาสุวรรณคำผง]] โดยในรัชสมัยของพระยาคำผง ท้าวผีฟ้า ซึ่งเป็นพระบิดาของพระยาฟ้างุ้มได้ถูกเนรเทศ จึงเสด็จหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์เขมร ในเวลาต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระยาสุวรรณคำผง อันเป็นช่วงเวลาที่[[อาณาจักรเขมร]]เริ่มเสื่อมอำนาจ ในขณะเดียวกันที่[[อาณาจักรสุโขทัย]]เข้มแข็งขึ้น ฝ่ายเขมรจึงต้องการคานอำนาจของสุโขทัย จึงได้สนับสนุนให้พระยาฟ้างุ้มซึ่งเสด็จติดตามพระราชบิดาไปประทับที่อาณาจักรเขมรนั้น นำกำลังเข้าแย่งชิงอำนาจจาก[[พระยาฟ้าคำเฮียว]]ซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) ผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระยาสุวรรณคำผง พระยาฟ้างุ้มสามารถเอาชนะพระยาฟ้าคำเฮียวได้ จึงเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้เจ้าฟ้างุ้มยังได้ขยายอิทธิพลไปยังดินแดนต่างๆ อาทิ ล้านนา ตีได้เมืองเชียงแสนและเชียงใหม่เป็นเมืองส่วยบังคับส่งส่วยทุกปีซึ่งขึ้นตรงต่อเมืองหลวงพระบาง มีการยอมอ่อนน้อมและส่งบรรณาการจากเมืองเชียงรุ่ง,เชียงตุง,แสนหวี,อยุธยา,ไดเวียด เป็นต้น เนื่องด้วยเกรงกลัวอิทธิพลของเจ้ากรุงล้านช้าง กล่าวได้ว่าในยุคพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช ล้านช้างมีแสนยานุภาพแผ่อิทธิพลเหนือแว่นแคว้นอื่นๆได้หลายหัวเมืองใหญ่ๆและเป็นยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาณาจักร์ล้านช้างอีกด้วย
 
ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าฟ้างุ้ม|พระยาฟ้างุ้ม]] แม้พระองค์จะได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและยิ่งใหญ่ให้กับอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาในปี [[พ.ศ. 1899]] เกิดปัญหาภายในหลวงพระบางส่งผลทำให้เจ้าฟ้างุ้มถูกเนรเทศออกจากเมืองหลวงพระบางเเละและขุนนางได้อัญเชิญพระยาอุ่นเฮือนพระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ส่วนพระยาฟ้างุ้มได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ [[น่าน|เมืองน่าน]]กระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1916
 
ในรัชสมัยของ[[พระยาอุ่นเฮือน]] (พ.ศ. 1899 – 1916) และอีกสองรัชสมัยต่อมา คือในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาท|พระเจ้าสามแสนไทยไตรภูวนาถ]] (พ.ศ. 1916 – 1959) และ[[พระยาล้านคำแดง]] (พ.ศ. 1959 – 1971) เป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างปลอดจากการรุกรานจากภายนอก เนื่องด้วยการเสื่อมอำนาจลงของอาณาจักรเขมรเป็นสำคัญ อีกทั้งฝ่ายสุโขทัยที่เข้มแข็งขึ้นก็มุ่งอยู่กับการปราบปรามอำนาจของเขมรที่เคยมีเหนือดินแดนตน ทาง[[อาณาจักรจามปา]]ซึ่งเพิ่งพ่ายแพ้ต่อ[[จักรวรรดิมองโกล]]ก็ยังไม่เข้มแข็ง การแข่งขันกันสร้างเสริมความมั่นคงของสุโขทัยและล้านนาอันเป็นอาณาจักรที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้อาณาจักรล้านช้างก็ต้องพยายามเสริมสร้างความมั่นคงของตนด้วย โดยได้มีการจัดทำบัญชีไพร่พลและปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ ซึ่งด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก