ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 76:
[[สมพงษ์ อมรวิวัฒน์]] เป็นผู้อภิปรายนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรก โดยกล่าวหาว่าการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำให้เกิดความล้มเหลว 5 ประการ คือ 1. การสร้างความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย 2. การบริหารราชการแผ่นดิน 3. การบริหารเศรษฐกิจของประเทศ 4. การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น และ 5. ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779023|author=[[ไทยรัฐ]]|website=www.thairath.co.th|title=อภิปรายไม่ไว้วางใจ ผู้นำฝ่ายค้าน สับแหลก 5 ข้อ ทุจริต-บริหารศก.ล้มเหลว|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=25 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบโต้ว่าตนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนมากกว่าฝ่ายค้าน ไม่ได้มี ส.ว. เลือกมา และยืนยันว่าไม่เคยคิดล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ก็มีเรื่องราวที่ทำให้รัฐบาลบริหารไม่ได้ ตนจึงต้องเข้ามา ส่วนเรื่องเศรษฐกิจ ทุกคนก็ทราบดี และต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก รวมถึงปฏิเสธเรื่องการกลั่นแกล้งข้าราชการด้วยมาตรา 44 และกล่าวอีกว่าการสืบทอดอำนาจเป็นเรื่องของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ตนเพียงแต่ส่งความเห็น สำหรับการทุจริต ตนก็ทำด้วยเจตนารมณ์บริสุทธิ์ตามกฎหมายโดยไม่ก้าวล่วงอำนาจ อย่างไรก็ตาม ที่บอกว่าตนเอื้อประโยชน์ เป็นเพียงการวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือคาดการณ์กันไป โครงการประชานิยมก็ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งกระทรวงการคลังชี้แจงได้ รวมถึงเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วนซึ่งให้สัมปทานมา 30 ปีแล้ว ตนก็ต้องแก้ไขเพราะมีการฟ้อง ทั้งนี้ ตนเป็นทหาร จึงต้องรักษาสัตย์และจิตใจของตนเอง และต้องการเพื่อให้การอภิปรายเป็นประโยชน์ เมื่อชี้แจงอะไรก็ขอให้ฟังด้วย<ref>{{Cite web|url=https://www.komchadluek.net/news/politic/418753|title=บิ๊กตู่ สวน ฝ่ายค้าน ต้องเข้ามาเพราะมีโกง-ย่ำยีอำนาจตุลาการ|author=[[คมชัดลึก]]|website=www.komchadluek.net|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=25 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร]] อภิปรายต่อภายใต้ 4 ข้อกล่าวหาหลัก คือ 1. มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ จากการพบความไม่สัมพันธ์ระหว่างรายรับและรายจ่ายที่ผิดปกติ และยังสงสัยในการขายที่ดินของ พ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา ให้กับ บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งอาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมฟอกเงิน และเลี่ยงการตรวจสอบ 2. การต่ออายุการเช่าพื้นที่[[ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์]] ให้กับให้บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเมนท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ออกไป 50 ปี โดยไม่เปิดประมูล ซึ่งอาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 164 3. การต่ออายุสัมปทานของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ([[รถไฟฟ้าบีทีเอส]]) ให้กับ [[บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์|บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] ระยะรวม 30 ปี จากเดิมที่คงเหลืออีก 10 ปี (ณ สิ้นปี พ.ศ. 2562) โดยออกคำสั่งผ่านมาตรา 44 ของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557|รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557]] เป็นคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. ที่ 3/2562 ถือเป็นการลัดขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พรบ.ศ. 2562ร่วมทุน จากระบุแนบท้ายคำสั่งว่าถือเป็นการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2562 ซึ่งเข้าข่ายฮั้วประมูล ไม่เปิดให้เอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมแข่งขันอย่างเป็นธรรม และ 4. ปัญหาระหว่างประเทศ จากการเอื้อประโยชน์ให้บุคคลที่มีคดีเกี่ยวกับการสังหารลูกเรือชาวจีนที่[[สามเหลี่ยมทองคำ]]เลื่อนตำแหน่งและไม่ถูกดำเนินคดี<ref>{{Cite web|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867694|title='ยุทธพงศ์' เปิดหัวซักฟอก 'ประยุทธ์' ร่ำรวยผิดปกติ ขุดบ.ขายที่ตั้งมาแค่7วัน|author=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|website=www.bangkokbiznews.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
พล.อ.ประยุทธ์ ตอบโต้ในกรณีที่ 1 ว่าช่วงที่ที่ดินดังกล่าวมีการซื้อขาย ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก และแย้งว่า ที่ดินดังกล่าวไม่ได้เป็นบ่อตกปลา แต่เป็นคลองหนามแดง เป็นลำรางสาธารณะ เป็นที่ดินติดถนน และเรื่องการซื้อขายเป็นเรื่องของคนขายกับคนซื้อ มีหลายรายติดต่อมา กระทั่งรายล่าสุดที่บิดาซื้อขายด้วย แต่ตนเองไม่รู้ว่าขณะนั้นผู้ซื้อเป็นใคร ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว ไม่รู้ว่าจะไปเอื้อประโยชน์ใครในอนาคต พร้อมยืนยันว่าเสียภาษีถูกต้อง แจ้งบัญชีทรัพย์สินถูกต้องตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ทำตามกฎหมาย แต่กลับถูกพูดให้สับสนอลหม่าน<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779190|title=นายกฯ แจงปมที่ดินบิดา ยืนยันขั้นตอนถูกต้อง ปัดเอื้อประโยชน์ใคร|website=www.thairath.co.th|author=[[ไทยรัฐ]]|date=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[วิษณุ เครืองาม]] และ[[อุตตม สาวนายน]] ตอบโต้ในกรณีที่ 2 ว่าข้อมูลของยุทธพงศ์เป็นข้อมูลเก่า และให้ข้อเท็จจริงว่าเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในยุคของรัฐบาลนางสาว[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี มีการได้พิจารณาต่อการแก้ไขสัญญา โดยอนุมัติให้บริษัท เอ็น.ซี.ซี. ได้เช่าเป็นเวลา 50 ปี เพื่อการพาณิชย์และอุตสหากรรมอุตสาหกรรม และก่อนหน้านั้นมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้บังคับเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2556ปีเดียวกัน ฉะนั้นการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ พ.ศ. 2544 ให้ความเห็นว่าการแก้ไขสัญญาเพื่อให้ผู้เช่ารายเดิมเช่าต่อ ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุน จึงทำให้คณะรัฐมนตรีมีการจึงได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อความให้ชัดเจน เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 กระทรวงการคลังได้ปรึกษาหารือกับอัยการสูงสุด เพื่อตรวจข้อสัญญา และมีข้อสังเกต 4 ข้อ และในอีก 21 เดือนถัดมา รัฐบาลได้ดำเนินการตรวจร่างสัญญาตามที่อัยการแนะนำ และวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินการตามสัญญา จากนั้นอีก 3 เดือนได้ลงนาม เป็นขั้นตอนที่รัฐบาลฟังสำนักงานกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ผ่านขั้นตอนหลายรัฐบาลและนำมาสู่บทสรุป<ref>{{Cite web|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867699|website=www.bangkokbiznews.com|author=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|title=‘วิษณุ-อุตตม’ สวน ‘พท.’ ปมเช่าที่ศูนย์สิริกิติ์ เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำตาม บ.เอกชนเสนอ|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] ตอบโต้ในกรณีที่ 3 ว่าเหตุที่จำเป็นต้องมีการต่อสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสออกไป เนื่องจากเห็นว่าหากจ้างเดินรถเหมือนส่วนต่อขยายส่วนที่ 1 อาจขาดทุน เพราะเส้นทางส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้าชานเมือง ประกอบกับถ้าเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่ ค่าโดยสารอาจสูงเกินภาระของประชาชน ฉะนั้น การเจรจากับบีทีเอสจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด และต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะบีทีเอสต้องลงทุนด้านระบบรถไฟฟ้า พร้อมยืนยันว่าการขยายสัญญาสัมปทานครั้งนี้เป็นการขยายเพียง 30 ปีเท่านั้น โดยไม่รวม พ.ศ. 2562-2572 ที่เป็นสัมปทานเดิม<ref>{{Cite web|url=https://www.innnews.co.th/politics/news_606678/|title=“อนุพงษ์”แจงจำเป็นต้องขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว|website=www.innnews.co.th|author=สำนักข่าว INN|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[พิธา ลิ้มเจริญรัตน์]] อภิปรายต่อภายใต้ข้อกล่าวหาว่าเศรษฐกิจของต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นบริหารเศรษฐกิจเพื่อนายทุน ไม่ได้ส่งผลให้ตัวเลขเพิ่มความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี (GDP) ของประเทศเติบโต และอาจเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ประเทศเสียหายมากที่สุด ประชาชนไม่มีความมั่นคงในชีวิต ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ เกษตรกรตกต่ำจากนโยบายผลผลิตที่ไม่เข้าที่เข้าทาง เด็กจบใหม่ไม่มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน ไม่มีความมั่นคงว่าจบมาตนจะมีงานทำ ข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหารก็ไม่มั่นคงในสินทรัพย์ อีกทั้งปัญหาบ้านพักข้าราชการซึ่งเป็นหนึ่งในชนวน[[เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563]] ทั้งหมดนี้ส่อให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศคิดเป็น 99% คิดว่าตนไม่มีความมั่นคงในชีวิต แต่อีก 1% กลับมีความมั่งคั่งมากที่สุด และล้วนเป็นกลุ่มนายทุนและเจ้าสัว 5 อันดับแรกของไทย คือตระกูลเจียรวนนท์ ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลสิริวัฒนภักดี ตระกูลศรีวัฒนประภา และตระกูลปราสาททองโอสถ<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779243|title=พิธา อัดนายกฯ บริหารศก.แย่ ถามเจ็บ ผ่านหลายปี ใครกันแน่มั่นคง-มั่งคั่ง|author=[[ไทยรัฐ]]|website=www.thairath.co.th|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์]] อภิปรายต่อภายใต้ข้อกล่าวหาว่าต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ ขาดความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ มีจีดีพีร้อยละ 2 ถึง 4 และคาดว่าจะต่ำลงเนื่องจาก[[โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019]] แม้จะพยายามบอกว่าเศรษฐกิจดี แต่ประชาชนไม่มีจะกิน จีดีพีไม่สามารถขยายตัวไม่ได้เพราะขาดความเชื่อมั่น และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดัชนีผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องทุกรายการ และต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ต่ำสุดในรอบ 69 เดือน อุตสาหกรรมการส่งออกลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้น นำงบประมาณไปใช้จ่ายงบประมาณอย่างสิ้นเปลือง รวมถึงออกร่างพระราชบัญญัติ พ.ร.บ.จัดเก็บภาษีมรดก กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการเตรียมกฎหมายขูดรีดภาษีกับผู้ทำธุรกิจออนไลน์ ตลอดจนการลดหย่อนภาษีให้คนใช้มาตรการ "ชิม ช็อป ใช้" ทั้งหมดทำให้ยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยติดกับดักสภาพคล่อง ระบบเศรษฐกิจไทยทรุด และเงินติดหล่มอยู่ที่ธนาคารหมด เอานำออกมาใช้งานไม่ได้ ทางเดียวที่จะปลดล็อกทุกอย่างคือ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องออกไปจากสมการก่อน ถึงค่อยเดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน<ref>{{Cite web|url=https://mgronline.com/politics/detail/9630000018663|title="จุลพันธ์" จี้เปลี่ยนตัวนายกฯ เซ่นบริหารพลาดรง.แห่ปิด ประเทศติดกับดักสภาพคล่อง|author=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|website=mgronline.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
พล.อ.ประยุทธ์ ตอบโต้ว่าภาพรวมประเทศไทยจีดีพีโตขึ้นอยู่ที่ 2.4% เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่โต 1.3% และสิงคโปร์ 0.5% พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน มุ่งเน้นเรื่องการดูแลอนาคต มีการประกันรายได้สินค้าเกษตรทุกประเภท มีความพยายามกระตุ้นการส่งออก หรือแม้แต่โครงการชิม ช้อป ใช้ ประชาชนก็ให้การตอบรับดี ดังนั้นฝ่ายค้านอย่ายกส่วนที่ไม่ดีมาพูดเพียงอย่างเดียว ขอให้ฟังข้อเท็จจริงที่พูดบ้าง รวมถึงกรณีโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 รัฐบาลยืนยันว่ามีการเตรียมพร้อมหากประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่ระยะที่ 3 เพียงแต่ไม่อยากให้ประชาชนแตกตื่น และการทำแบบประเทศจีนแม้ตนมองว่าเป็นแนวทางที่ดี แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้เนื่องจากระบบการปกครองของจีนกับไทยแตกต่างกัน<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779303|title=นายกฯ แจง ปม ศก.ตกต่ำ ยัน ไม่ได้แย่ เดินหน้าลงทุนพื้นฐานต่อเนื่อง|author=[[ไทยรัฐ]]|website=www.thairath.co.th|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]] ตอบโต้เพิ่มเติมว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในช่วงเติบโต แต่ก็ยอมรับว่าการยังกระจายเศรษฐกิจยังไม่ดีพอโดยเฉพาะการขยายถึงระดับรากหญ้า เพราะผลผลิตและบริการของไทยมีราคาต่ำ เกษตรกรมีรายได้ต่ำ แรงงานไม่สามารถขึ้นค่าแรงได้ เนื่องจากเอกชนไม่กล้าลงทุน ทางลัดคือต้องเน้นการส่งออกแทน โดยมีบีโอไอเป็นแรงจูงใจ ฉะนั้นในภาพนี้บริษัทใหญ่จึงได้ประโยชน์ แต่ความเจริญกลับไปถึงรากหญ้าได้ไม่เร็วพอ ทำให้จึงเกิดช่วงห่างระหว่างกลุ่มนายทุนกับรากหญ้าค่อนข้างมาก เพื่อการแก้ปัญหาแบบอย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงมีแผนผลักดันโครงการ[[ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก|เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก]] เพื่อดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน นอกจากนี้รัฐบาลยังมีโครงการลงทุนเศรษฐกิจเรื่องดิจิทัล และโครงสร้างอันเป็นรากฐานสำคัญพื้นฐานของประเทศ เช่นการผลักดันให้เกิด [[5 จี]] ภายในปีนี้ เพราะถ้าปีนี้เราไม่มี 5G จี และเวียดนามชิงโอกาสในการมี 5G ได้จี ก่อน เศรษฐกิจไทยจะยิ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยเสียหายมากขึ้นไปอีก รวมถึงโครงการ National E-Payment E-Government อันเป็นผลงานชิ้นใหญ่สุดของรัฐบาล ช่วยให้รัฐบาลสามารถส่งเงินแบบรัฐต่อรัฐและประชาชนได้อย่างโปร่งใสและไม่มีคอรัปชั่นได้เลย ส่วนกรณีที่พิธาพูดถึงเรื่องเกษตรกร สมคิดยอมรับว่าดีใจที่พูดถึง เพราะรัฐบาลรู้ดีว่าเรายังไม่เอาจริงเอาจังกับการปฏิรูประบบเกษตร ที่ผ่านมาทำได้แค่รับจำนำกับประกันราคาเท่านั้น ถ้าไม่มีการลงทุน ต่อเครื่องจักรเข้าชุมชน ต่อนักท่องเที่ยวเข้าชุมชนผ่านชิม ช้อป ใช้ เศรษฐกิจก็จะไม่เดินหน้า ตนจึงมีแนวคิด "ประชารัฐสร้างไทย" โดยไม่เกี่ยวข้องกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนในชุมชนอันจะเป็นการพัฒนาจีดีพีของประเทศต่อไป<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779390|title="สมคิด" ชี้เศรษฐกิจโต แต่กระจายไม่เร็ว หวังใช้ EEC ดึง ปัดเอื้อนายทุน|author=[[ไทยรัฐ]]|website=www.thairath.co.th|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ]] อภิปรายตอบโต้ต่อภายใต้ข้อกล่าวหาว่าต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ บริหารระบบเศรษฐกิจของประเทศผิดพลาดอย่างรุนแรง จากกรณีผลสำรวจสินทรัพย์ของประชาชนที่ พบว่าประชาชน กว่า 50% มีฝากเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ไม่ถึง 3,000 บาท และหนี้สินครัวเรือนโตขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 340,000 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็นหนี้ในระบบ 59.2% และหนี้นอกระบบร้อยละ 40.8% รวมถึงกรณีที่โรงงานทยอยขอเลิกกิจการตลอดปี พ.ศ. 2562 และการที่หลายครอบครัวตัดสินใจออกมาฆ่าตัวตายโดยมีภาวะเศรษฐกิจและหนี้สินเป็นแรงจูงใจ เมื่อเทียบกรณี[[วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540]] พบว่าวิกฤตการณ์การเงินวิกฤตในปัจจุบันสูงกว่าเมื่อครั้งนั้นถึง 85% ความเหลื่อมล้ำอยู่ในเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีกลุ่มคนเพียงร้อยละ 1 จาก 5 ตระกูลเศรษฐีเท่านั้นที่มั่งคั่ง และยังกล่าวหาถึงกรณีการจัดระเบียบทางเท้าในกรุงเทพมหานคร แม้ตนมองว่าเป็นแนวทางที่ดี แต่ทำให้เสน่ห์ของไทยอย่าง Street Food ที่ถูกยกย่องให้เป็นอันดับ 1 ของโลกนั้นต้องสูญหายไป<ref>{{Cite web|url=https://www.naewna.com/politic/475204|title='มิ่งขวัญ' อภิปรายครั้งแรก! ชี้หนี้ครัวเรือนปี 62 สูงสุดเป็นประวัติการณ์|author=แนวหน้า|website=www.naewna.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
พล.อ.ประยุทธ์ ตอบโต้เพิ่มเติมว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องกลไกเศรษฐกิจ และข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา แต่ปัจจุบันการผลักดันนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษต้องทำเร่งด่วน เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนเพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยก็พยายามเชื่อมโยงเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มการค้า การลงทุนชายแดน และการท่องเที่ยว และทำให้ประเทศเป็นศูนย์กลาง ศูนย์รวมกระจายสินค้าของเอเชีย และต้องขอบคุณคำแนะนำจากคุณมิ่งขวัญ แต่การจะทำอะไรต่าง ๆ ก็ต้องยืนพื้นบนความชอบด้วยเป็นไปตามกฎหมาย
 
อุตตม ตอบโต้กรณีความเหลื่อมล้ำทางสังคมเพิ่มว่า ประเทศไทยไม่ได้มีความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับ 1 ของโลกตามรายงานของธนาคารโลก เนื่องจากยังไม่ได้ใช้วิธีการวัดที่ทันสมัย แต่ย้ำว่าต้องแก้ไขต่อไป หนี้ครัวเรือนก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา 47% เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและยานพาหนะพาหนะซึ่งเป็นหนี้คุณภาพ 18% เกี่ยวกับอาชีพซึ่งก่อประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจ และอีก 35% เป็นหนี้อื่น ๆ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ดูแลค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการประชารัฐ ออกมาตรการชิม ช้อป ใช้ และยังลดต้นทุนการผลิตและเก็บเกี่ยวให้กับเกษตรกร ดูแลรายได้ การท่องเที่ยว ชิม ช้อป ใช้ เฟส 2 สินเชื่อพิเศษเข้าถึงที่อยู่อาศัย ทั้งหมดก็เพื่อช่วยเหลือและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกรณีการเข้าพบผู้อำนวยการกองทุน IMF และได้รับคำแนะนำให้กระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเป็นเรื่องจำเป็น โดยจากการพิจารณาการคลังพบว่ารัฐบาลดำเนินการได้ทันที<ref>{{Cite web|url=https://siamrath.co.th/n/134983|title="บิ๊กตู่"ออกปากชม"มิ่งขวัญ"ทำบรรยากาศอภิปรายดี ขออย่ามอง "นายกฯ"ทำชาติเสียหาย|author=สยามรัฐ|website=www.siamrath.co.th|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[พิจารณ์ เชาวพัฒนพงศ์]] อภิปรายปิดท้ายก่อนการพักการประชุม โดยกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีพฤติการณ์เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมผ่านระบอบนายทุนนิยมทุนนิยม ผ่านข้อกล่าวหา 3 ข้อกล่าวหาหลัก คือ 1. การอนุมัติการก่อสร้างสร้าง[[รถไฟฟ้าสายสีทอง]] บนถนนเจริญนคร ซึ่งเป็นในพื้นที่ภายใน 35 ตารางกิโลเมตรนับจากจุดกึ่งกลางของ[[เกาะรัตนโกสินทร์]] ตามจากมติคณะรัฐมนตรีที่บังคับให้รถไฟฟ้าทุกประเภทในพื้นที่นี้ต้องลงใต้ดิน ให้สามารถสร้างลอยฟ้าได้ ภายหลังจากที่ห้างสรรพสินค้าที่ได้ประโยชน์ ([[ไอคอนสยาม]]) ได้ประชาสัมพันธ์ว่าจะมีรถไฟฟ้าวิ่งผ่านหน้าโครงการล่วงหน้า 2 ปี รวมถึงกล่าวหาในการอนุมัติให้ห้างสรรพสินค้าดังกล่าวซื้อสัมปทานโฆษณาล่วงหน้าก่อนการดำเนินการด้วยเงินจำนวน 2,080 ล้านบาทโดยไม่มีการเปิดประมูล การรวมถึงอนุมัติให้กรุงเทพมหานครทำสัญญากับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้เดินรถนาน 30 ปี ภายใต้กรอบวงเงิน 13,520 ล้านบาท และการอนุมัติให้ห้างสรรพสินค้าดังกล่าวสร้าง[[หอชมเมือง]]บนพื้นที่ราชพัสดุขนาด 4 ไร่ โดยจ่ายค่าเช่าที่ดินในราคาถูกกว่าราคาที่ประเมิน และประชาชนต้องเข้าหอชมเมืองผ่านห้างสรรพสินค้าดังกล่าว 2. การอนุมัติให้ยืดการชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz ผ่านมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยแลกกับการเข้ารับการจัดสรรคลื่น 700 MHz ในราคารวม 52,752 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับการประมูลคลื่นความถี่ที่มีมูลค่าสูงถึง 4 เท่า ทำให้รัฐสูญรายได้ไปกว่า 153,084 ล้านบาท<ref>{{Cite web|url=https://news.thaipbs.or.th/content/289268|title=แนะจับตาโครงการยักษ์ “รัฐเอื้อทุน” รถไฟฟ้า-หอชมเมือง|author=[[ไทยพีบีเอส]]|website=www.thaipbs.or.th|date=25 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref> 3. การประมูลโครงการ[[รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน]] โดยรวมโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางเข้าไปด้วย ทำให้เหลือเอกชนเข้าประมูลเพียง 2 กิจการร่วมค้าที่เป็นการรวมตัวของเอกชนเพียง 8 ราย จากเอกชนที่เข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 31 ราย ด้วยความกังวลในเรื่องคุณสมบัติของผู้เข้าประมูล รวมถึงการไม่ประมูลแยกกัน ทำให้รัฐได้ผลตอบแทนจากโครงการน้อยลง และการแก้สัญญาในภายหลังโดยลดค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้ากว่า 60% ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนลดลง<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/1212196219149654/?type=3&theater|title= พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ อภิปราย 3 พฤติกรรม รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เอื้อประโยชน์แก่นายทุน|author=ข่าวเวิร์คพอยท์ |website=www.facebook.com/WorkpointNews|date=25 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=27 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
จากนั้น ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร สั่งพักการประชุมสภาเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง 43 นาที โดยให้เริ่มประชุมอีกครั้งในเวลา 9.30 น.