ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎งานด้านการเงิน การคลัง: เพิ่มบทกลอนที่ตกหล่นไป
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 13:
| term_end2 = 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
| predecessor2 = [[อดุล วิเชียรเจริญ|ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ]] (รักษาการ)
| successor2 = [[นงเยาว์ ชัยเสรี|ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี]] (รักษาการ)
| birth_date = 9 มีนาคม พ.ศ. 2459
| birth_place = [[กรุงเทพมหานคร]], [[ไทย]]
บรรทัด 27:
| footnotes =
}}
ศาสตราจารย์<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2508/D/092/2586.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ประจำ]</ref> พันตรี ดร.'''ป๋วย อึ๊งภากรณ์''' ([[ชื่อจีน]]: 黃培謙 ''Huáng Péiqiān''<ref>{{cite book|title=泰国华侨华人研究|author=[泰国] 洪林, 黎道纲主编|publisher=香港社会科学出版社有限公司|month=April | year=2006|pages=18|isbn=962-620-127-4}}</ref> 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็น[[เศรษฐศาสตร์|นักเศรษฐศาสตร์]]ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีต[[ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย]]<ref>[https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Governor/Pages/default.aspx ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน]</ref> ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน<ref>[http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4308/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E2%80%9C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E2%80%9D%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD- คลังมั่นใจ“วิรไท”มีฝีมือ "ประสาร" ฝากนโยบาย], Moneychannel .สืบค้นเมื่อ 7 ก.ค. 2558</ref> และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน<ref>สารป๋วย, ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 ธันวาคม 2558, หน้า 9, กษิดิศ อนันทนาธร .สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558</ref> เป็นสมาชิก[[ขบวนการเสรีไทย]] อดีตอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "[[คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน]]"
 
ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา[[ธรรมศาสตรบัณฑิต]] จาก[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะ[[เสรีไทย]]ขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว [[จังหวัดชัยนาท]] จนได้ชื่อว่าเป็น “'''วีรบุรุษวังน้ำขาว'''”<ref>[http://alumni.tu.ac.th/calendar/detail.aspx?id=4 สืบทอดปณิธานอาจารย์ป๋วย “พัฒนาชาติ ทุกคนกินดีอยู่ดี” และ“สังคมเสมอภาคและเป็นธรรม”], สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ. .สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558</ref><ref>[http://bangkok-today.com/web/15522-2/ ควรค่าต่อการจดจำ ! รำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล อาจารย์ป๋วย “วีรบุรุษวังน้ำขาว” !!],Bangkok-today .สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558</ref> เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัย[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดี[[คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|คณะเศรษฐศาสตร์]]และอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
บรรทัด 39:
 
มารดาของป๋วย เป็นบุตรสาวคนแรกของเจ้าของร้านขายผ้าที่[[สำเพ็ง]] อยู่ใกล้ตรอกโรงโคม ส่วนบิดาเป็นคนจีน ทำงานช่วยพี่ชายที่แพปลา แถวปากคลอง[[วัดปทุมคงคา]] โดยทั้งสองก็ไม่ค่อยมีรายได้มากนัก
 
{{โคลงสี่สุภาพ|กูชายชาญชาติเชื้อ|ชาตรี|กูเกิดมาก็ที|หนึ่งเฮ้ย|กูคาดก่อนสิ้นชี-|วาอาตม์|กูจักไว้ลายเว้ย|โลกให้แลเห็น|source=ป๋วย อึ๊งภากรณ์}}
 
== การศึกษา ==
พ่อแม่ของป๋วยตั้งใจส่งลูกชายเข้าเรียน ที่แผนก[[ภาษาฝรั่งเศส]] [[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] ในปี พ.ศ. 2467 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนแพง คือปีละ 70 บาทในสมัยนั้น. เมื่อเด็กชายป๋วยอายุได้เก้าขวบ บิดาของป๋วยก็เสียชีวิต โดยไม่มีทรัพย์สินเงินทองทิ้งไว้ให้ ลุงเป็นคนรับอุปการะ ส่งเสียเงินให้เป็นรายเดือน แม้ว่าจะมีปัญหาด้านการเงิน มารดาของป๋วย ก็สนับสนุนให้เรียนหนังสือที่เดิม จนสำเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2476 ขณะอายุได้ 18 ปี ป๋วยได้มาเป็น[[มาสเตอร์]] หรือครูที่นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญใช้เรียก ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอนวิชาคำนวณ และภาษาฝรั่งเศส มีรายได้เดือนละ 40 บาท แบ่งให้แม่ 30 บาท
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2477]] ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ [[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมาย การเมืองและเศรษฐการ ([[ธรรมศาสตรบัณฑิต|หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต]], ธ.บ.) ซึ่งจัดการศึกษาในลักษณะสหสาขาวิชา เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง และมีความรู้ในลักษณะเป็นองค์รวม โดยสำเร็จการศึกษาในปี [[พ.ศ. 2480]] หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
 
ในเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2481]] ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปเรียนระดับ[[ปริญญาตรี]] สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่[[วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน]] แห่ง[[มหาวิทยาลัยลอนดอน]] ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ[[ฟรีดริช ไฮเอ็ค|ศาสตราจารย์ฟรีดริช ไฮเอ็ค]] (ซึ่งได้รับ [[รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์]] ในปี [[พ.ศ. 2517]]) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี [[พ.ศ. 2485]] โดยได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา
เส้น 89 ⟶ 87:
ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 12 ปี นับเป็นผู้ว่าการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ตลอดสมัยที่ ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสมัยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปลอดจากการเมืองมากที่สุด และเป็นยุคที่สามารถรักษาเสถียรภาพเงินตรา ไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เงินบาท ได้รับได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีการค้าขายและการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเงินทุน สำรองระหว่างประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มขยายสาขาออกไปสู่ภูมิภาค สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรได้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องไปพิมพ์ธนบัตรในต่างประเทศ มีการออกพระราชบัญญัติ ธนาคารพาณิชย์ปี [[พ.ศ. 2505]] ซึ่งถือเป็นแม่บทของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนนำเทคนิคนโยบายทางการเงินที่ สำคัญๆ เช่น อัตราเงินสดสำรองอัตราส่วนลดมาใช้ และชักจูงให้ธนาคารปฏิบัติตามกฎระเบียบ อันจำเป็นต่อการ เสริมสร้างความมั่นคงในระบบการธนาคาร และอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขามากขึ้น และขยายไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้กิจการธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
 
ปี [[พ.ศ. 2507]] ดร.ป๋วย ได้กล่าวสุนทรพจน์ของสมาคมธนาคารไทย เพื่อเตือนสติผู้มีอำนาจ มีใจความว่า จอมพล ถนอม นายกรัฐมนตรีผู้มีคำขวัญประจำใจว่า "จงทำดี จงทำดี จงทำดี" มีนโยบายไม่เห็นด้วยที่รัฐมนตรีจะไปยุ่งเกี่ยว กับ "การค้า" แต่ทำไมจึงมีรัฐมนตรีบางคนไปเป็นกรรมการในธนาคารต่างๆ หรือเป็นเพราะว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ "การค้า" ชนิดหนึ่ง กลอนนั้นมีข้อความว่าสุนทรพจน์นี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่ว ในยุคสมัยรัฐบาลทหาร ดร.ป๋วย เป็นข้าราชการผู้ใหญ่คนเดียวที่กล้าวิจารณ์ นักการเมือง รัฐมนตรี และนายทหารชั้นสูง ที่มักเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการธนาคารต่างๆ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว เมื่อจอมพลถนอมทราบความ ก็ยินยอมลาออกจากตำแหน่งกรรมการธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่มีรัฐมนตรีคนใดลาออกตาม
 
{{คำพูด|ยังจนในไม่รู้อยู่ข้อหนึ่ง จอมพล ถ ท่านแถลงแจ้งเป็นเรื่อง
 
ท่านปรารมภ์ผมก็เห็นเด่นประเทือง ว่าใครเฟื่องเป็นผู้ใหญ่ในราชการ
 
ตัวอย่างเช่นเป็นรัฐมนตรี ไม่ควรมีการค้ามาสมาน
 
อย่าเกี่ยวข้องเที่ยวรับทำเป็นกรรมการ สมาจารข้อนี้ดีจริงเจียว
 
ผมสงสัยไม่แจ้งกิจการค้า หมายความว่ากิจการใดบ้างยังเฉลียว
 
กิจการธนาคารท่านผู้ใหญ่จะไม่เกี่ยว หรือจะเหนี่ยวรั้งไว้ไม่นับค้า
 
จบสุนทรกลอนสุภาพเพียงคาบนี้ เหลือแต่โคลงแทนสัพพีและยะถา
 
แม้เป็นเรื่องเคืองขัดอัธยา โปรดเมตตาด้วยประสงค์จงทำดี|ป๋วย อึ๊งภากรณ์}}
 
สุนทรพจน์นี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่ว ในยุคสมัยรัฐบาลทหาร ดร.ป๋วย เป็นข้าราชการผู้ใหญ่คนเดียวที่กล้าวิจารณ์ นักการเมือง รัฐมนตรี และนายทหารชั้นสูง ที่มักเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการธนาคารต่างๆ เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว เมื่อจอมพลถนอมทราบความ ก็ยินยอมลาออกจากตำแหน่งกรรมการธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่มีรัฐมนตรีคนใดลาออกตาม
 
=== งานด้านการศึกษา ===
เส้น 148 ⟶ 128:
== ชีวิตส่วนตัว ==
ป๋วย ได้แต่งงานกับมาร์เกรท สมิท สตรีชาวอังกฤษ โดยมีบุตร 3 คน ได้แก่ [[จอน อึ๊งภากรณ์]] [[ไมตรี อึ๊งภากรณ์]] [[ใจ อึ๊งภากรณ์]]
 
== คำกล่าวเกี่ยวกับป๋วย ==
{{คำพูด|บุคคลผู้นี้ ไม่เคยแสวงหาอำนาจ ไม่เคยแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ไม่เคยเห็นแก่อามิสสินจ้าง มีเพียงความชื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่การงาน มีเพียงความรักชาติอย่างพร้อมจะสละชีวิตเพื่อแผ่นดินแม่ มีเพียงความจริงใจ ให้แก่ประเทศอันเป็นที่รักยิ่ง มีเพียงความกล้าหาญทางจริยธรรม ไม่ยอมก้มหัวให้แก่อำนาจ อธรรมฝ่ายใด มีเพียงความปรารถนาดีและความรักเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยาก ชายชราผมสีดอกเลาท่าทางใจดี จะเป็นตำนาน อยู่ในใจของผู้คนไปชั่วนิรันดร์<ref>[http://web.archive.org/20020206010840/www.geocities.com/thaifreeman/puey/puey.html]</ref>}}<br>
{{คำพูด|An honest man in a corrupt country<br>คนตรงในประเทศคด|[[อัมมาร สยามวาลา|ดร. อัมมาร สยามวาลา]]}}
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==