ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8680718 สร้างโดย 2001:44C8:4304:ACC2:1:1:B086:14C0 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 41:
ท้าวทองกีบม้า มีชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น<ref>Smithies, Michael (2002). ''Three military accounts of the 1688 "Revolution" in Siam''. Itineria Asiatica. Bangkok:Orchid Press, p.100</ref> เป็นธิดาคนโตของฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) บิดามีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสใน[[รัฐกัว|เมืองกัว]]<ref name="books.google.com">{{citation|url=http://books.google.com/books?id=cf4EAAAAMAAJ&q=%22Ursula+Yamada%22&dq=%22Ursula+Yamada%22&pgis=1|author=Sitsayamkan|title=The Greek Favourite of the King of Siam|page=17|quote=มารดาของนางเป็นชาวญี่ปุ่นนาม อูร์ซูลา ยะมะดะ มาจากญี่ปุ่นพร้อมครอบครัว ส่วนบิดาของนางชื่อนายฟานิก เป็นคนผิวดำและเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น-เบงกอล (Her mother was a Japanese woman named Ursula Yamada, who came from a noted family which had emigrated from Japan. Her father was a Mr. Fanique. He was a dusky half-breed of Bengal and Japan.)}}</ref> กับมารดาชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada; {{ญี่ปุ่น|山田ウルスラ}}) ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น<ref name="books.google.com"/>
 
จากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2135 ตามคำบัญชาของ[[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]] ทำให้เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ หรือ อิกเนซ มาร์ตินซ์ ({{ญี่ปุ่น|イグネス・マルティンス}}) ย่าบ้างก็ว่าเป็นยายของท้าวทองกีบม้า ถูกนำตัวมาไว้ที่[[ฮอยอัน|เมืองไฮโฟ]]ในเวียดนาม ระหว่างนั้นนางได้สมรสกับลูกหลานไดเมียวตระกูลโอโตะโมะ ภายหลังครอบครัวของนางจึงได้อพยพมาลงหลักปักฐานในกรุงศรีอยุธยาอีกทอดหนึ่ง<ref name="กระทรวง"/> แต่ข้อมูลบางแห่งก็ว่า ครอบครัวของนางไปอยู่ที่กัมพูชาก่อนถูกกวาดต้อนมาสู่กรุงศรีอยุธยาเมื่อครา[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]ทรงตี[[ละแวก|เมืองละแวก]] ในปี ค.ศ. 1593<ref>[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] (5 มีนาคม 2555). "โปรตุเกส-การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา". ''ศิลปวัฒนธรรม''. 33:5, หน้า 97</ref> จากข้อมูลนี้มารีอาอาจมี[[ไทยเชื้อสายเขมร|เชื้อสายเขมร]]หรือ[[ชาวจาม|จาม]]ผ่านทางมารดาด้วยก็เป็นได้<ref>[[นิธิ เอียวศรีวงศ์]] (5 มีนาคม 2555). "โปรตุเกส-การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา". ''ศิลปวัฒนธรรม''. 33:5, หน้า 102</ref>
 
ครอบครัวของยะมะดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนา เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ผู้เป็นยาย อ้างว่านางเป็นหลานสาวของ[[ฟรันซิสโก คาเบียร์|นักบุญฟรังซิสเซเวียร์]] (Saint Francis Xavier) นักบุญชื่อดัง ที่ได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้<ref name="กระทรวง">{{cite web |url=http://www.m-culture.go.th/index.php/th/2013-07-03-04-45-31/สารและข้อมูลทางวัฒนธรรม/item/ท้าวทองกีบม้าเจ้าตำรับขนมไทย.html|title=ท้าวทองกีบม้าเจ้าตำรับขนมไทย|author= |date=22 สิงหาคม 2556|work= |publisher=กระทรวงวัฒนธรรม|accessdate=25 มิถุนายน 2557}}</ref> แต่อย่างไรก็ตามมารดาของท้าวทองกีบม้าค่อนข้างจะมีประวัติด่างพร้อยว่านางคบชู้กับบาทหลวงทอมัส วัลกัวเนรา (Thomas Vulguaneira) บาทหลวงเยสุอิตเชื้อสายซิซิลี และกล่าวกันว่าท้าวทองกีบม้า มิใช่ลูกของฟานิก สามีตามกฎหมายของนางยะมะดะ แต่เกิดกับบาทหลวงรูปดังกล่าว ดังปรากฏใน ''Mémoire touchant l'enlèvement et la reddition de Madame Constance'' ความว่า<ref name="กรรณิกา">สปอร์แดช มอร์แกน (เขียน), กรรณิกา จรรย์แสง (แปล). ''เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินพระนารายณ์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554, หน้า 40.</ref>