ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โฮรีวจิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[ไฟล์:Yakushi Nyorai Kondo Horyuji.jpg|thumb|[[พระไภษัชยคุรุ]]]]
[[ไฟล์:GUZE Kannon Horyuji.JPG|thumb|200px|[[กวนอิม]]]]
'''วัดโฮรีวจิ''' ({{ญี่ปุ่น|法隆寺|Hōryū-ji}}) เป็นวัดพุทธในเมือง[[อิการูงะ]] [[จังหวัดนาระ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] มีชื่อเต็มว่า "วัดปราชญ์เปรื่องธรรม" (法隆学問寺; Learning Temple of the Flourishing Law) มีที่มาจากการที่วัดนี้ได้เปิดให้เป็นโรงเรียนสอนศาสนาเช่นเดียวกับที่เป็นอารามสงฆ์ เป็นที่ยอมรับกันว่าวัดนี้มีอาคารไม้หลายหลังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ในโลก แม้ว่าจะยังมีวัดอื่นที่เก่าแก่กว่าและมีความสำคัญมากกว่า แต่วัดโฮรีวจิก็ยังคงเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2536 วัดโฮรีวจิได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การ[[ยูเนสโก]]ให้เป็น[[มรดกโลก]]ในนามว่า ''"[[พุทธสถานในเขตโฮรีว]]"'' และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกย่องให้เป็น[[สมบัติประจำชาติญี่ปุ่น]]
 
== ประวัติ ==
แรกเริ่มวัดนี้สร้างขึ้นตามพระบัญชาของ[[เจ้าชายโชโตกุ]] เพื่อสักการบูชา[[พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา]] (Yakushi Nyorai) และเพื่อเทิดพระเกียรติพระราชบิดาของเจ้าชาย สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 1150 เพื่ออุทิศ จากการขุดสำรวจบริเวณวัดในปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าวังของเจ้าชายโชโตกุตั้งอยู่ในส่วนตะวันออกของบริเวณที่วัดตั้งอยู่ในทุกวันนี้ และขุดค้นพบซากวัดที่อยู่ทางใต้ของวังของเจ้าชาย และไม่ได้อยู่ในบริเวณวัดในปัจจุบัน วัดโฮรีวจิเคยถูกฟ้าผ่าและเกิดเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 1213 ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1213 - 1243 ต้องมีการสร้างวัดขึ้นใหม่ในลักษณะเดิม แต่ย้ายตำแหน่งขึ้นไปตามทางตะวันตกเฉียงเหนือจากตำแหน่งเดิม และได้มีการบูรณะและต่อเติมบริเวณวัดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 1917 และ พ.ศ. 2146
 
== สถาปัตยกรรม ==
บริเวณวัดในปัจจุบันแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนไซอินหรือตะวันตก และส่วนโทอินหรือตะวันออก ส่วนตะวันตกเป็นที่ตั้งของหอคนโด (หอทองคำ) และเจดีย์ห้าชั้น ส่วนตะวันออกมีหอยูเมะโดโนะรูปทรงแปดเหลี่ยม (หอนิมิต) ตั้งอยู่ห่างจากส่วนตะวันตกไปทางทิศตะวันออก 122 เมตร ในบริเวณวัดยังมีกุฏิสงฆ์ หอประชุม ห้องสมุด และโรงอาหาร
 
ขณะที่วัดในญี่ปุ่นในยุคแรก ๆ จะออกแบบอาคารให้เรียงตัวกันตามต้นแบบจากจีนและเกาหลี แต่วัดโฮรีวจิไม่ได้เรียงตามต้นแบบนั้น โดยหอคนโดจะอยู่ข้างเจดีย์ ซึ่งที่มาจากการสร้างวัดขึ้นใหม่หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 1213 พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาที่ประดิษฐานอยู่ก่อนถูกเพลิงไหม้ยังคงรอดปลอดภัยมาได้ ระหว่างการสร้างวัดขึ้นใหม่ได้มีการอาราธนาพระพุทธรูปศากยมุนีมาประดิษฐานที่วัด เนื่องจากผู้สร้างวัดต้องการยกย่องเชิดชูเกียรติแด่พระพุทธรูปทั้งสองอย่างเท่าเที่ยมกัน จึงออกแบบให้หอคนโดและเจดีย์ตั้งอยู่เคียงข้างกันเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม
 
สถาปัตยกรรมของวัดโฮรีวจิได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักร[[แพ็กเจ]]แห่งคาบสมุทรเกาหลีเป็นอย่างมาก เป็นเพราะมีความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นอย่างแน่นแฟ้น มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสถาปนิก ช่างแกะสลัก และช่างฝีมือชาวแพ็กเจได้มีส่วนช่วยในการสร้างวัดโฮรีวจิ เนื่องจากญี่ปุ่นในยุคนั้นยังขาดแคลนแรงงานมีฝีมือที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นนี้ได้ ตามบันทึกของซัมกุ๊ก ซางิ เชื้อพระวงศ์ผู้ปกครองแพ็กเจ ได้กล่าวไว้ว่า พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาถูกสร้างขึ้นโดยช่างแกะสลักชาวแพ็กเจตามพระบัญชาของเจ้าชายโชโตกุ ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยรักษาอาการประชวรของพระราชบิดาได้ แต่พระราชบิดาของพระองค์ก็เสด็จสวรรคตไปก่อนที่วัดจะสร้างเสร็จสมบูรณ์
 
=== เจดีย์ ===