ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
* [[การทุจริตทางการเมือง]]
* การละเมิด[[สิทธิมนุษยชน]]
* การกำจัดจำกัดเงินอุดหนุนเชื้อเพลิง
* [[การก่อการร้ายโดยรัฐ]]
|status=
บรรทัด 41:
'''การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า''' คือการประท้วงที่นำโดยคณะ[[พระภิกษุสงฆ์]] [[แม่ชี]] [[นักศึกษา]]และประชาชน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ [[15 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2550]] จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึ้นราคา[[น้ำมันเชื้อเพลิง]]เกือบเท่าตัว และขึ้นราคา[[ก๊าซหุงต้ม]]ถึง 5 เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า<ref> http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9500000100787 พม่าอ้างขึ้นราคาน้ำมันเพื่อแบ่งเบาภาระประเทศ </ref> การประท้วงเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยมา จนถึงวันที่ [[5 กันยายน]] มีการชุมนุมประท้วงที่วัดแห่งหนึ่งในเมือง[[ปะโคะกู]] ทางตอนกลางของประเทศ เจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์จำนวน 3 รูป สื่อมวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า '''Saffron Revolution''' หรือ '''"การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์"'''<ref>{{cite web|url=http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article2521951.ece|title=Military junta threatens monks in Burma}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.novinite.com/view_news.php?id=85644|title=100,000 Protestors Flood Streets of Rangoon in "Saffron Revolution"}}</ref>
 
คณะพระภิกษุ ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพอย่างสูงจาก[[ชาวพม่า]] ประกาศ "ปฐม นิคหกรรม" ไม่รับ[[บิณฑบาต]]จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็นทางการภายในวันที่ [[17 กันยายน]] แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ภิกษุสงฆ์จึงเริ่มเข้าร่วมการประท้วงด้วย ตั้งแต่วันที่ [[18 กันยายน]] เมื่อรวมผู้ประท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน การประท้วงต่อต้านรัฐบาล[[เผด็จการ]]ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการประท้วงต่อต้านครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่การประท้วงเมื่อปี [[พ.ศ. 2531]] ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ในการใช้กำลังทหารเข้าสลายการประท้วง <ref> http://www.voanews.com/thai/2007-09-20-voa2.cfm พระสงฆ์หลายร้อยรูปในพม่า เดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเป็นครั้งที่ 2</ref>
 
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน คณะสงฆ์และประชาชนได้เดินทางไปยังบ้านพักนาง[[ออง ซาน ซูจี]] ผู้นำ[[ประชาธิปไตย]]ในพม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตั้วต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 <ref> http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9658&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai การปรากฏตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ออง ซาน ซูจี</ref>
 
จนถึงวันที่ 27 กันยายน รัฐบาลพม่าได้แถลงการณ์ออกมาแล้วว่ามีผู้เสียชึวิตจากเหตุการณ์แล้ว 9 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นช่างภาพ[[ชาวญี่ปุ่น]]ที่ทำงานให้กับ[[สำนักข่าวเอพีเอฟพี]] นาย[[เคนจิ นะงะอิ]] (長井 健司) <ref> http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=281901&lang=T http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=281901&lang=T </ref> <ref> http://www.sanspo.com/shakai/top/sha200709/sha2007092801.html ミャンマーで邦人カメラマン死亡…デモ取材中の長井健司さん", 2007-09-28. </ref> พร้อมกันนั้นรัฐบาลพม่าได้จับกลุ่มผู้ชุมนุมและพระสงฆ์ไปเป็นอีกจำนวนมาก
 
เมื่อวันที่ 29 กันยายน ทูตพิเศษของสหประชาชาติ นาย[[อิบราฮิม กัมบารี]] ได้เดินทางถึงพม่าแล้ว โดยมีจุดมุ่งหมายคือเจรจากับรัฐบาลพม่าเรื่องดังกล่าว และนำสารจากเลขาธิการสหประชาชาติมาให้ นอกจากนั้นนายอิบราฮิมยังกล่าวว่าเขาหวังที่จะเข้าพบกับบุคคลที่สมควรพบทุกคนอีกด้วย <ref> http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=282040 สิงคโปร์เผยทูตพิเศษยูเอ็นอยู่ที่สิงคโปร์รอวีซ่าเข้าพม่า </ref>