ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
|}}
 
พลเอก '''พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช''' (2 เมษายน พ.ศ. 2420 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496) อดีตเสนาบดี[[กระทรวงกลาโหม]] เป็นผู้นำ[[กบฏบวรเดช]]พยายามยึดอำนาจจากรัฐบาล[[คณะราษฎร]] เมื่อ พ.ศ. 2476
 
== พระประวัติ ==
บรรทัด 50:
ในวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2476]] พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงส่งกำลังทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง[[นครราชสีมา]] [[อุบลราชธานี]] [[สระบุรี]] [[พระนครศรีอยุธยา]] และ[[เพชรบุรี]] เคลื่อนกำลังทางรถไฟเข้ายึด[[สนามบินดอนเมือง]]ได้เมื่อวันที่ 12 และเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ไปตามแนวคลองบางเขนจนถึง[[สถานีรถไฟบางเขน]] เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา กระทำตามเงื่อนไข 6 ข้อ ใจความโดยย่อคือ ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อำนาจรัฐสภามากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้กลายเป็นคณะเผด็จการ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนั้นถูกมองจากฝ่ายนิยมคณะราษฎรว่าเป็นความพยายามในการฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
 
ในเวลาเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลได้มอบหมายให้ [[แปลก พิบูลสงคราม|พันโท หลวงพิบูลสงคราม]] รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บังคับกองผสมทำการรุกตอบโต้ จนทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จนถึงวันที่ 15 กำลังทหารหัวเมืองได้ถอนกำลังออกจากดอนเมือง เคลื่อนที่ไปยัง[[ปากช่อง]]อันเป็นที่มั่นด่านสุดท้าย ขณะที่กองหน้าของกองบังคับการผสมได้ติดตามไปจนถึงสถานีปากช่อง และ พันเอก[[พระยาศรีสิทธิสงคราม]] (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพซึ่งรับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง ถูกยิงเสียชีวิตบนทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ [[อำเภอปากช่อง]] ในเวลาพลบค่ำ
 
เมื่อที่มั่นแห่งสุดท้ายคือสถานีปากช่องถูกยึด และแม่ทัพเสียชีวิต พระองค์เจ้าบวรเดชและพระชายาจึงเสด็จหนีโดยทางเครื่องบินจากฐานบินโคราช มีหลวงเวหนเหิรเป็นนักบิน ไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมือง[[ไซ่ง่อน]] ประเทศ[[เวียดนาม]] จนหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] จึงย้ายไปประทับที่ประเทศ[[กัมพูชา]] และเสด็จกลับประเทศไทยโดยรถยนต์เข้าทางอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี พร้อม หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระชายา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2491<ref>http://www.maneebooks.com/German_capt/germ_14.html</ref>หลังจากที่รัฐบาลในขณะนั้นได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมืองทุกคดี โดยพระชนชนม์ชีพที่ไซง่อนและกัมพูชา ทรงเปิดโรงงานทอผ้าและค้าขายถ่าน รวมระยะเวลาที่ทรงลี้ภัยนานถึง 16 ปี <ref name="หน้า">หน้า 694-697, ''เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ'' โดย นายหนหวย. กรุงเทพ พ.ศ. 2530. พิมพ์และจำหน่ายโดยตนเอง</ref>
 
== พระโอรส-ธิดา ==