ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขนมเบื้อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rutrawee (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มประวัติและที่มาของขนมเบื้อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ Rutrawee (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 27.145.116.193
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Khanom bueang 01.jpg|thumb|ขนมเบื้องไทย]]
'''ประวัติความเป็นมาของขนมเบื้อง'''
 
ชื่อที่เรียก ขนมเบื้องนั้น เป็นชื่อที่ตั้งมาจากลักษณะการทำขนมที่ใช้การตักน้ำแป้งมาหยอดลงบนกระทะที่เป็นกระเบื้องดินเผา และละเลงให้น้ำแป้งกระจายเป็นแผ่นวงกลม ดังนั้น การทำขนมชนิดนี้บนกระเบื้องดินเผาจึงเป็นที่มาของชื่อ ขนมเบื้อง
 
   ขนมเบื้องแต่ก่อนเข้าใจว่าจะทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งพบภาพเขียนเกี่ยวกับการทำขนมเบื้องในวัดแห่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย จึงเป็นหลักฐานที่เชื่อว่าขนมชนิดนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา ซึ่งพบปรากฏชื่อในเรื่องขุนช้างขุนแผน ส่วนสูตรตำรับ และแนวคิดการทำขนมเบื้องนี้ สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากขนมที่ชาวอินเดียทำรับประทานกันในสมัยครั้งพุทธกาลที่ทำบนกระเบื้องดินเผาเช่นกัน ซึ่งถูกนำมาเผยแพร่ด้วยพราหมณ์อินเดียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา และแนะนำการทำขนมชนิดแก่คนไทยในสมัยนั้น ซึ่งเริ่มแรกจะเริ่มทำกันในสมัยต่างๆทางภาคเหนือ และค่อยเผยแพร่ลงมาจนถึงอยุธยา ซึ่งมีการดัดแปลงส่วนผสมที่อาจแตกต่างไปจากส่วนผสมดั้งเดิม
 
   จากบันทึกในพระธรรมบทเผด็จภาค 3 นั้น กล่าวถึงการทำให้ขนมเบื้องสุกนั้นจะใช้คำว่า “ทอดขนมเบื้อง” และต่อมาจึงเปลี่ยนใช้คำว่า “ละเลงขนมเบื้อง” แทน ซึ่งในสมัยนี้จะยังไม่มีคำว่า “ไทย” มาเรียกต่อท้ายด้วย ทั้งนี้ เข้าใจว่า คำว่า “ไทย” ที่เพิ่มเติมเข้ามาเป็นคำว่า “ขนมเบื้องไทย” น่าจะเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
 
   คำว่า “ขนมเบื้องไทย” ถูกนำมาใช้ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งพระองค์โปรดให้พระยาบดินทรเดชา หรือ สิงห์ สิงหเสนี ยกทัพไปตีเมืองญวนจนได้ชัยชนะ พร้อมกับนำเชลยชาวญวนกลับมาจำนวนมาก และชาวญวนก็มักจะทำขนมชนิดหนึ่งรับประทาน และออกขาย คือ การนำแป้งมาผสมกับไข่ และมาทาบนกระทะเหล็กที่ตั้งไฟร้อน ซึ่งจะทาน้ำมันก่อนลงน้ำแป้งจนได้ขนมที่มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม และพับเป็นครึ่งวงกลม ซึ่งมีลักษณะคล้ายขนมเบื้องของไทย ซึ่งเรียกว่า ขนมเบื้องญวน ดังนั้นแล้ว ขนมเบื้องในลักษณะเดียวกันที่เป็นสูตรของไทยหรือชาวไทยทำจึงเรียกเพิ่มเติมว่า ขนมเบื้องไทย เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และรู้ได้ว่าคนไทยหรือคนญวนทำ
 
'''ขนมเบื้อง'''เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงใน[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]ว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และ[[กระทะ]]เตา[[ขนมครก]]ขนมเบื้อง"
ขนมเบื้องมีหลายแบบ
 
* ขนมเบื้องแบบไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้าและกระทิ ปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำแล้ว
* ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้[[กุ้งก้ามกราม|กุ้งแม่น้ำ]]ตัวโตสับละเอียดผสมกับ[[พริกไทย]]และ[[ผักชี]]ตำพร้อม[[มันกุ้ง]] นำไปผัดใส่น้ำตาล [[น้ำปลา]]หรือ[[เกลือ]]ให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้า[[มะพร้าว]]ใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม [[ฝอยทอง]]และ[[พลับ]]แห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับ[[กระเทียม]] พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่[[พริกขี้หนู]] นำไปรวนพอสุก