ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 140:
== บั้นปลายชีวิต ==
[[ไฟล์:หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล2.jpg|thumb|222px|หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]]
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ [[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน โดยได้รับพระทานโกศไม้สิบสองบรรจุศพ ตั้งศพไว้ที่ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดย[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] และ [[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] ทรงพระกรุณาเสด็จไปสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพที่[[เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส]] เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2539 หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ โดยความร่วมมือกันของคณะผู้บริหาร คณาจารย์ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประดิษฐานที่บริเวณข้างสำนักงานอธิการบดี ลานหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยกราบบังคมทูลพระกรุณา [[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์และได้ถือเอาวันที่ [[24 ตุลาคม]] ของทุกปีเป็นวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยจัดให้มีการตักบาตร และจุดธูปเทียน วางพวงมาลัยสักการะรำลึกที่บริเวณลานอนุสาวรีย์เป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งห้องเกียรติยศหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่บริเวณชั้น ๔ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยภายในจัดแสดงหนังสือที่ท่านแต่งขึ้น โต๊ะทำงาน ของสะสม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และครุยวิทยฐานะตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
 
เมื่อวันที่ [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2544]] ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติจาก[[องค์การยูเนสโก]]ยกย่องท่านเป็น "นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน [[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] อัญเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ [[25 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2545]]