ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อมเรศ ศิลาอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 67:
ในปี พ.ศ. 2533 นายอมเรศ ศิลาอ่อนได้รับการติดต่อจาก มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล[[พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]] ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45]] ในโควต้าที่นั่งของพรรคกิจสังคม แทนนาย[[สุบิน ปิ่นขยัน]] ซึ่งถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเป็นการดึงผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่นักการเมืองอาชีพมารับตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อปรับภาพลักษณ์รัฐบาลให้ดีขึ้น ผลงานเด่นเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบส่งออกจากระบบโควต้ามันสำปะหลังให้เป็นการประมูลบางส่วน และการแก้ไขปัญหาปูนซีเมนต์ขาดแคลนในประเทศ<ref>อมเรศ ศิลาอ่อน, ทำดีแล้ว...อย่าหวั่นไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2556. หน้า 143.</ref>
 
หลังจากเกิดความวุ่นวายหลายครั้งพลเอกชาติชายตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533  เพื่อเปิดทางให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี ภายหลังไม่สามารถเจรจากันได้ แต่แล้วในวันรุ่งขึ้น พลเอกชาติชายก็ได้รับการสนับสนุนให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ในการนี้ พลเอกชาติชายตัดสินใจตัดพรรคร่วมรัฐบาลออกไปได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมวลชน และสหประชาธิปไตย โดยดึงพรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร และพรรคปวงชนชาวไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล นายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46]] แม้ว่าเดิมจะมาจากโควต้าที่นั่งของพรรคกิจสังคมก็ตาม<ref>การเมืองไทยสมัยชาติชาย จากเปรม-บ้านพิษณุโลก-รถโมบาย สู่รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534https://www.silpa-mag.com/history/article_28256</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/250/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)]</ref>
 
หลังจากนั้นไม่นาน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดการรัฐประหาร โดย[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] หรือ รสช. นายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการคลัง ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และนำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถและมีภาพลักษณ์ที่ดีมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี รวมทั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 47]]นายอมเรศและคณะรัฐมนตรีร่วมผลักดันกฎหมายสำคัญๆ ออกมาหลายฉบับ อาทิเช่น กฎหมายธุรกิจประกันภัย เป็นต้น แต่ภารกิจหลักของรัฐบาลนี้ คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป<ref>อานันท์ ปันยารชุน <nowiki>http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=อานันท์_ปันยารชุน</nowiki></ref>