ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอซี มิลาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8537792 สร้างโดย Bigdas (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8478448 สร้างโดย Bigdas (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 47:
}}
 
'''สโมสรฟุตบอลมิลาน''' ({{lang-it|Associazione Calcio Milan}}) หรือ '''เอซี มิลาน''' (A.C. Milan) เรียกสั้น ๆ ว่า '''มิลาน''' (ภาษาอิตาลีออกเสียงว่า ''มีลาน'') หรือที่ฉายาในสื่อไทยเรียกว่า '''ปีศาจแดง-ดำ''' เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในเมืองมิลาน [[แคว้นลอมบาร์เดีย]] ประเทศอิตาลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี [[ค.ศ. 1899]] และเป็นหนึ่งในทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในวงการฟุตบอลของยุโรปและของโลก โดยได้แชมป์ระดับเมเจอร์รวมทั้งหมดถึง 46 รายการ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอิตาลี เช่นเดียวกับ [[ยูเวนตุส]] และ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม จี-14 ซึ่งเป็นกลุ่มของสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่ของทวีปยุโรปอีกด้วย
 
เอซี มิลาน ใช้สนาม[[ซานซีโร]] หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า [[ซานซีโร|สตาดีโอ จูเซ็ปเป เมอัซซา]] เป็นสนามที่ใช้ในการเล่นในฐานะเจ้าบ้าน ร่วมกับทีมคู่ปรับร่วมเมืองอย่าง[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]]
บรรทัด 67:
ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการปรับปรุงสนาม[[ซานซีโร]] อีกครั้งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นสนามในการจัดการแข่งขัน[[ฟุตบอลโลก]] 1990 โดยครั้งนี้ได้มีการสร้างหลังคาที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส และสร้างหอคอยทางขึ้นอีก 11 ด้านเสียใหม่ รวมทั้งเพิ่มความจุของที่นั่ง จากเดิม 5 หมื่นกว่าที่นั่ง ไปเป็น 85,700 ที่นั่ง ซึ่งมีการคาดกันว่า ถ้านับกันจริง ๆแล้ว สนาม[[ซานซีโร]] น่าจะสามารถรองรับผู้ชมได้ถึง 150,000 คน แต่เนื่องจากติดปัญหาในด้านความปลอดภัย สภาเมือง[[มิลาน]]จึงได้ออกกฎห้ามมิให้มีผู้ชมเกินกว่า 100,000 คน
 
ในต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 [[บี เตชะอุบล]] นักธุรกิจชาวไทยได้ซื้อหุ้นของสโมสรบางส่วน โดยที่ประธานสโมสรยังคงเป็น [[ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี]] อยู่ <ref>[http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9580000050313 ยิ่งใหญ่! “บี เตชะอุบล” ปิดดีลเทกโอเวอร์ “มิลาน” จากผู้จัดการออนไลน์]</ref>
 
== ยุคสมัยของสโมสร ==
=== ยุคเริ่มก่อตั้งถึงคริสต์ทศวรรษ 1940 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุคมืดของมิลาน โดยตลอดระยะเวลาครึ่งศตวรรษ มิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา|อิตาเลียน ฟุตบอล แชมเปียนส์ชิพ]] หรือ[[กัลโช เซเรีย อา]] เพียงแค่ 3 สมัยเท่านั้น ในปี 1901, 1906 และ 1907 รองแชมป์ 2 ครั้ง ในปี 1902 และ 1948, รองแชมป์[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] 1 ครั้ง ในปี 1942 โดยแพ้ให้กับ[[ยูเวนตุส]] นอกจากนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอัน ปล่อยให้[[สโมสรฟุตบอลเจนัว|เจนัว]], [[โปร แวร์เชลลี]], [[ยูเวนตุส]], [[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]], [[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]] และ[[สโมสรฟุตบอลโบโลญญา|โบโลญญา]] ผลัดกันขึ้นครองแชมป์อย่างสนุกมือ โดยนักเตะที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ [[เฮอร์เบิร์ต คิลปิน]], [[หลุยส์ ฟาน แฮช]], [[อัลโด้ เคเวนินี]], [[จูเซ็ปเป ซานตากอสติโน]], [[อัลโด โบฟฟี]], [[คาร์โล อันโนวาซซี]], [[เรนโซ บูรินี]] และ[[โอเมโร โตญญอน]] เป็นต้น
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1950 ===
บรรทัด 77:
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1960 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุครุ่งเรืองยุคหนึ่งของมิลาน โดยมิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] 2 สมัย ในปี 1962 และ 1968 รองแชมป์อีก 3 ครั้ง ในปี 1961, 1965 และ 1969, แชมป์[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] 1 สมัย ในปี 1967 ที่เอาชนะ[[ปาโดวา]] รองแชมป์อีก 1 ครั้ง ในปี 1968 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]], แชมป์[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูโรเปียน คัพ]] 2 สมัย ในปี 1963 ที่เอาชนะ[[เบนฟิกา]] ของ"เสือดำแห่งโมซัมบิก" [[ยูเซบิโอ]] ไป 2-1 และปี 1969 ที่ถล่ม[[อาแจ็กซ์]] ของ"นักเตะเทวดา" [[โยฮัน ครัฟฟ์]] ไปถึง 4-1, แชมป์[[ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ|ยูโรเปียน คัพ วินเนอร์ส คัพนคัพวินเนอร์สคัพ]] 1 สมัย ในปี 1968 ที่เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลฮัมบวร์ค เอสวี|ฮัมบวร์ค]] และได้แชมป์[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]] 1 สมัย โดยเอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลเอสตูเดียนเตส|เอสตูเดียนเตส]] ในปี 1969 รองแชมป์อีก 1 ครั้ง ในปี 1963 ที่พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลซานโตส|ซานโตส]] ของ"ไข่มุกดำ" [[เปเล]] โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[จานนี ริเวรา]], [[โฮเซ อัลตาฟินี]], [[ปิเอริโน ปราติ]], [[อันเจโล ซอร์มานี]], [[จานคาร์โล ดาโนวา]], [[คาร์ล-ไฮนซ์ ชเนลลิงเกอร์]], [[มาริโอ เตรบบี]], [[บรูโน โมรา]], [[โจวานนี โลเดตติ]], [[มาริโอ ดาวิด]], [[โจวานนี ตราปัตโตนี]], [[อันเจโล อันกวิลเลตติ]], [[โรแบร์โต โรซาโต]], [[ลุยจิ ราดิเซ]], [[ดิโน ซานี]], [[จอร์โจ เกซซี]] และ[[ฟาบิโอ คูดิชินี]] เป็นต้น โดยยอดผู้จัดการทีมของมิลานในยุคนี้คือ [[เนเรโอ ร็อคโค]]
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1970 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุคประคองตัว ความสำเร็จภายในประเทศตกไปเป็นของ[[ยูเวนตุส]]อีกครั้ง ส่วนในระดับยุโรป ก็ไม่สามารถที่จะขึ้นไปทาบรัศมีของ[[อาแจ็กซ์]], [[สโมสรฟุตบอลบาเยิร์น มิวนิก|บาเยิร์น]] และ[[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]]ได้เลย โดยมิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] เพียงแค่ 1 สมัย ในปี 1979 รองแชมป์ 3 ครั้งติดต่อกัน ในปี 1971, 1972 และ 1973, แชมป์[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] 3 สมัย ในปี 1972, 1973 และ 1977 ที่ชนะ[[สโมสรฟุตบอลนาโปลี|นาโปลี]], [[ยูเวนตุส]] และ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] ตามลำดับ รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1971 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]] และในปี 1975 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตีนา|ฟิออเรนตินา]], แชมป์[[ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ|ยูโรเปียน คัพ วินเนอร์ส คัพนคัพวินเนอร์สคัพ]] 1 สมัย ในปี 1973 ที่เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลลีดส์|ลีดส์]] และรองแชมป์ 1 ครั้ง ในปี 1974 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลมักเดบวร์ก|มักเดบวร์ก]] นอกจากนี้ ยังได้รองแชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] 1 ครั้ง ในปี 1973 โดยที่นัดแรกเล่นในบ้าน เอาชนะ[[อาแจ็กซ์]]ได้ 1-0 แต่พอไปเยือนกลับโดนอัดกลับมาถึง 6-0 ชวดแชมป์ไปอย่างเจ็บปวด โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[อัลแบร์โต บิกอน]], [[อัลโด มัลเดรา]], [[จูเซ็ปเป ซาบาดินี]], [[อัลโด เบท]], [[เอกิดิโอ คัลโลนี]], [[ฟูลวิโอ โคลโลวาติ]], [[เอ็นริโก อัลแบร์โตซี]], [[โรเมโอ เบเนตติ]] และ[[รูเบน บูริอานี]] เป็นต้น
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1980 ===
ในช่วงต้นทศวรรษถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของสโมสร เมื่อมิลานถูกปรับตกชั้นในปี 1980 จากข้อหาพัวพันกับคดีการล้มบอลของประธานสโมสร [[เฟลิเซ โคลอมโบ]] และผู้รักษาประตูของทีมอย่าง[[เอ็นริโก อัลแบร์โตซี]] ทำให้ทีมต้องลงเล่นในศึก[[กัลโช เซเรีย บี]] เป็นครั้งแรก ซึ่งถึงแม้ว่าจะคว้าแชมป์[[กัลโช เซเรีย บี|เซเรีย บี]] ได้ในทันที แต่เมื่อกลับคืนสู่[[กัลโช เซเรีย อา|เซเรีย อา]] ได้เพียงฤดูกาลเดียวก็ต้องตกชั้นอีก อย่างไรก็ตาม มิลานก็สามารถกลับคืนสู่[[กัลโช เซเรีย อา|เซเรีย อา]] ในฐานะแชมป์[[เซเรีย บี]] อีกครั้ง ในปี 1983 แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน ประธานสโมสร [[จูเซ็ปเป ฟารินา]] ได้พัวพันกับคดีทางกฎหมาย จนทำให้เขาตัดสินใจหนีไปอยู่ที่แอฟริกาใต้ พร้อมกับเอาเงินของสโมสรไปด้วย มิลานในขณะนั้นจึงอยู่ในสภาพเกือบล้มละลาย แต่เมื่อมีมหาเศรษฐีที่ชื่อ [[ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี]] เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการของสโมสรในปี 1986 มิลานก็เริ่มเข้าสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง โดยมิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] 1 สมัย ในปี 1988, รองแชมป์[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] 1 ครั้ง ในปี 1985 ที่แพ้ต่อ[[ซามพ์โดเรีย]], ได้แชมป์[[ซูเปอร์โคปปา อิโกปปาอีตาเลียนา|อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ]] 1 สมัย ในปี 1988 ที่ชนะ[[ซามพ์โดเรีย]], แชมป์[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูโรเปียน คัพ]] 1 สมัย ในปี 1989 ที่ถล่ม[[สเตอัว บูคาเรสต์]] 4-0, แชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] 1 สมัย ในปี 1989 ที่เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]] และได้แชมป์[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]] 1 สมัย ในปี 1989 อีกเช่นกัน โดยเอาชนะ[[แอตเลติโก นาซิอองนาล]] 1-0 ซึ่งนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[สามทหารเสือดัตช์]]อย่าง [[มาร์โก ฟาน บาสเทน]], [[รืด คึลลิต]] และ[[ฟรังก์ ไรการ์ด]] นอกจากนั้นก็ยังมี [[เปาโล มัลดีนี]], [[ฟรังโก้ บาเรซี]], [[อเลสซานโดร คอสตาคูร์ตา]], [[เมาโร ตัสซอตติ]], [[ฟิลิปโป กัลลี]], [[โจวานนี กัลลี]], [[โรแบร์โต โดนาโดนี]], [[อัลเบริโก เอวานี]], [[คาร์โล อันเชลอตติ]], [[ดานิเอเล มัสซาโร]], [[ปิเอโตร วีร์ดิส]] และ[[อันเจโล โคลอมโบ]] เป็นต้น โดยยอดผู้จัดการทีมของมิลานในยุคนี้คือ [[อาร์ริโก ซาคคี]] ปรมาจารย์ลูกหนัง ผู้ให้กำเนิดโซนเพรส (เพรสซิง ฟุตบอล)
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1990 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุคไร้เทียมทาน เป็นยุคทองของสโมสรอย่างแท้จริง โดยมิลานได้ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก โดยได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] ถึง 5 สมัย ซึ่งเป็น 3 สมัยติดต่อกันด้วย ในปี 1992, 1993 และ 1994 ซึ่งช่วงเวลานี้เอง ที่มิลานทำสถิติไร้พ่ายในลีกติดต่อกันถึง 58 นัด จากนั้นก็ยังได้แชมป์อีก 2 สมัย ในปี 1996 และ 1999 รองแชมป์ 2 ครั้งติดต่อกัน ในปี 1990 และ 1991, รองแชมป์[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] 2 ครั้ง ในปี 1990 ที่แพ้[[ยูเวนตุส]] และปี 1998 ที่แพ้ให้กับ[[สโมสรฟุตบอลลาซีโอ|ลาซีโอ]], ได้แชมป์[[ซูเปอร์โคปปา อิโกปปาอีตาเลียนา|อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ]] 3 สมัยติดต่อกัน ในปี 1992, 1993 และ 1994 ที่ชนะ[[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]], [[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]] และ[[ซามพ์โดเรีย]] ตามลำดับ รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1996 ที่พ่ายให้กับ[[สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตีนา|ฟิออเรนตีนา]] และปี 1999 ที่พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]] ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] มิลานได้แชมป์ 3 สมัย จากการเข้าชิง 5 ครั้ง ในรอบ 7 ปี โดยนอกจากปี 1989 แล้ว ในปี 1990 เอาชนะ[[เบนฟิกา]]ได้ 1-0 และปี 1994 ที่ถล่ม[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]] ซึ่งถือเป็นดรีมทีมในช่วงนั้นไปเละเทะถึง 4-0 รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1993 ที่พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลโอลิมปิค มาร์กเซย|มาร์กเซย]] และปี 1995 ที่พ่ายต่อ[[อาแจ็กซ์]], แชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] 2 สมัย ในปี 1990 ที่ชนะ[[ซามพ์โดเรีย]] และปี 1994 ที่ชนะ[[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]] รองแชมป์ 1 ครั้ง ในปี 1993 ที่พ่าย[[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]] นอกจากนี้ ยังได้แชมป์[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]]อีก 1 สมัย ในปี 1990 ที่เอาชนะ[[โอลิมเปีย]] 3-0 รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1993 ที่แพ้ต่อ[[เซา เปาโล]] และปี 1994 ที่แพ้ต่อ[[เบเลซ ซาร์สฟิลด์]] โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ นอกเหนือจากผู้เล่นที่เหลืออยู่จากช่วงปลายทศวรรษที่ 80 แล้ว ก็ยังมีเพิ่มอีกหลายคน ได้แก่ [[เซบาสเตียโน รอสซี]], [[เดยัน ซาวิเซวิช]], [[เดเมตริโอ อัลแบร์ตินี]], [[มาร์กแซล เดอไซญี]], [[มาร์โก ซีโมเน]], [[ซโวนีเมียร์ โบบัน]], [[ฌอง-ปิแอร์ ปาแปง]], [[จอร์จ เวอาห์]], [[คริสเตียน ปานุชชี]], [[สเตฟาโน เอรานิโอ]], [[โรแบร์โต บัจโจ]], [[เลโอนาร์โด]] และ[[โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์]] เป็นต้น โดยยอดผู้จัดการทีมของมิลานในยุคนี้ คือ [[ฟาบิโอ คาเปลโล]]
 
=== ยุคมิลเลนเนียมถึงปัจจุบัน ===
[[ไฟล์:A.C. Milan lifting the European Cup after winning the 2002–03 UEFA Champions League - 20030528.jpg|thumb|right|250px|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก 2002-2003]]
ยุคนี้ถือเป็นยุคฟื้นฟูความสำเร็จ หลังจากตกต่ำไประยะหนึ่ง
;ฤดูกาล 1999–00
มิลานได้อันดับที่ 3 ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] ใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยพ่ายให้กับ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก
 
;ฤดูกาล 2000–01
ได้อันดับที่ 6 ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] ใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบรองชนะเลิศ โดยแพ้[[สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตีนา|ฟิออเรนตีนา]] ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบแบ่งกลุ่มรอบที่สอง
 
;ฤดูกาล 2001–02
มิลานได้แต่งตั้ง[[คาร์โล อันเชลอตติ]] ขึ้นเป็นผู้จัดการทีม โดยฤดูกาลนี้ มิลานได้อันดับที่ 4 ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] ใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] แพ้[[ยูเวนตุส]] ตกรอบรองชนะเลิศ ส่วนใน[[ยูฟ่า คัพ]] ก็ตกรอบรองชนะเลิศเช่นกัน โดยพ่ายให้กับ[[สโมสรฟุตบอลโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์|ดอร์ทมุนท์]]
 
;ฤดูกาล 2002–03
ได้อันดับที่ 3 ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] แต่ได้ดับเบิลแชมป์ คือ แชมป์[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] สมัยที่ 5 โดยเอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลโรมา|โรมา]]ได้ ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] เริ่มแข่งขันตั้งแต่รอบคัดเลือก รอบที่สาม และผ่าน[[สโลวาน ริเบอเรช]] ไปได้อย่างหวุดหวิด ด้วยกฎการยิงประตูในฐานะทีมเยือน จากนั้นก็ผ่านได้ทั้ง[[สโมสรฟุตบอลบาเยิร์น มิวนิก|บาเยิร์น]], [[ล็องส์]], [[กอรุนญา]], [[เรอัลมาดริด]], [[สโมสรฟุตบอลโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์|ดอร์ทมุนท์]], [[โลโกโมทีฟ มอสโก]], [[อาแจ็กซ์]] และ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] ก่อนที่จะมาดวลจุดโทษเอาชนะ[[ยูเวนตุส]]ได้ในนัดชิงชนะเลิศ คว้าแชมป์สมัยที่ 6 มาครองได้สำเร็จ
 
;ฤดูกาล 2003–04
เริ่มต้นด้วยการแพ้ในการดวลจุดโทษต่อ[[ยูเวนตุส]] และ[[โบคา]] ใน[[ซูเปอร์โคปปา อิโกปปาอีตาเลียนา|อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ]] และ[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]] ตามลำดับ แต่ก็ยังได้แชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] โดยเอาชนะ[[ปอร์โต]] คว้าแชมป์มาครองเป็นสมัยที่ 4 แถมยังคว้าแชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] มาครองได้เป็นสมัยที่ 17 ส่วนใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] แพ้[[สโมสรฟุตบอลลาซีโอ|ลาซีโอ]] ตกรอบรองชนะเลิศ และใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายแบบช็อคโลก ในนัดที่ 2 ที่พ่ายต่อ[[กอรุนญา]]
 
;ฤดูกาล 2004–05
ได้แชมป์[[ซูเปอร์โคปปา อิโกปปาอีตาเลียนา|อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ]] สมัยที่ 5 โดยเอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลลาซีโอ|ลาซีโอ]] ใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย เมื่อแพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลอูดิเนเซ|อูดิเนเซ]] และได้ดับเบิ้ลรองแชมป์ ทั้งในเวที[[กัลโช เซเรีย อา]] และเหตุการณ์ช็อคโลกอีกครั้ง ในนัดชิงชนะเลิศ[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ที่อตาเติร์ก เมื่อ 3 ประตูที่นำอยู่ในครึ่งแรก ไม่สามารถที่จะทำให้มิลานคว้าแชมป์มาครองได้ โดยถูก[[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]]ยิง 3 ประตูตีเสมอ ด้วยเวลาเพียง 6 นาที และไปดวลจุดโทษเอาชนะมิลานได้ในที่สุด ทำให้มิลานต้องพลาดแชมป์ไปอย่างเจ็บปวด
 
;ฤดูกาล 2005–06
ได้รองแชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] อีกครั้ง (ตอนหลังโดนตัดแต้ม จากกรณีล็อกสเปคผู้ตัดสิน จนต้องหล่นลงมาอยู่อันดับที่ 3) ใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ให้กับ[[ปาแลร์โม]] ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]] ในรอบรองชนะเลิศ
 
;ฤดูกาล 2006–07
ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] มิลานเริ่มต้นด้วยการถูกตัด 8 คะแนน ซึ่งก็เป็นผลพวงมาจากกรณีล็อกสเปคผู้ตัดสิน แต่ก็ยังไต่ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 4 ได้ ขณะที่ใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] แพ้[[สโมสรฟุตบอลโรมา|โรมา]] ตกรอบรองชนะเลิศ ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] มิลานต้องมาเริ่มต้นในรอบคัดเลือก รอบที่สาม และเอาชนะ[[เคอร์เวนา ซเวซดา]]ได้ ทำให้ผ่านเข้ารอบแบ่งกลุ่ม จากนั้นก็ผ่านได้ทั้ง[[เออีเค เอเธนส์]], [[อันเดอร์เลชท์]], [[สโมสรฟุตบอลลีลล์|ลีลล์]], [[เซลติค]], [[สโมสรฟุตบอลบาเยิร์น มิวนิก|บาเยิร์น]] และ[[สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด|แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]] ก่อนที่จะมาล้างแค้น เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]]ได้ 2-1 ในนัดชิงชนะเลิศ คว้าแชมป์สมัยที่ 7 มาครองได้อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยฝีเท้าอันเอกอุของ[[กาก้า]]และพรรคพวก จากนั้นก็สามารถเอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลเซบีญา|เซบีญา]] คว้าแชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ]] สมัยที่ 5 มาครอง และปิดท้ายปี 2007 ด้วยการคว้าแชมป์[[ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ|สโมสรโลก]] ได้เป็นสมัยที่ 4 โดยแก้แค้น[[โบคา]]ได้สำเร็จในนัดชิงชนะเลิศ พร้อมกับส่งให้[[กาก้า]] คว้าตำแหน่งนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี 2007 ในทุกสถาบัน
 
;ฤดูกาล 2007–08
ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] มิลานได้แค่อันดับที่ 5 ส่วนใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] และ[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายทั้งสองรายการ โดยแพ้ต่อ[[คาตาเนีย]] และ[[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]] ตามลำดับ
 
;ฤดูกาล 2008-09
ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] มิลานได้อันดับที่ 3 ส่วนใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลลาซีโอ|ลาซีโอ]] และใน[[ยูฟ่า คัพ]] ตกรอบ 32 ทีมสุดท้าย ด้วยน้ำมือของ[[สโมสรฟุตบอลแวร์เดอร์ เบรเบน|เบรเมน]]
 
;ฤดูกาล 2009–10
ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] มิลานได้อันดับที่ 3 อีกครั้ง ส่วนใน[[โคปป้า อิตาเลีย]] ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยพ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลอูดิเนเซ|อูดิเนเซ]] และใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยถูก[[สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด|แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด]]ไล่ถลุงเละเทะ
 
;ฤดูกาล 2010-11
ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] มิลานคว้าแชมป์สมัยที่ 18 มาครองได้สำเร็จ ส่วนใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบรองชนะเลิศ โดยพ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลปาแลร์โม่|ปาแลร์โม่]] และใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลทอตแนม ฮอตสเปอร์ส|สเปอร์ส]]
 
;ฤดูกาล 2011-12
เริ่มต้นฤดูกาล เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] ได้แชมป์[[ซูเปอร์โคปป้า อิตาเลียน่า]] มาครองได้เป็นสมัยที่ 6 ใน[[กัลโช เซเรีย อา]] มิลานได้รองแชมป์ ส่วนใน[[โคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย]] ตกรอบรองชนะเลิศ โดยพ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส|ยูเวนตุส]] และใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกมเปียนส์ลีก]] ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยแพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]]
 
== เกียรติประวัติ ==
บรรทัด 1,096:
* '''ไม่แพ้ติดต่อกันมากที่สุด''' : 58 นัด เริ่มตั้งแต่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (เสมอ [[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]] 0-0) จนถึง 21 มีนาคม ค.ศ. 1993 (แพ้ [[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]] 0-1)
 
=== การแข่งขันในโคปปา อิตาเลียโกปปาอีตาเลีย ===
* '''ชนะในบ้านที่สกอร์มากที่สุด''' : ชนะ [[ปาโดวา]] 8-1, 13 กันยายน ค.ศ. 1958
* '''ชนะนอกบ้านที่สกอร์มากที่สุด''' : ชนะ [[โคโม]] 5-0, 8 มิถุนายน ค.ศ. 1958