ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อมเรศ ศิลาอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 96:
หลังวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่เรียกรู้จักกันทั่วไปว่า “[https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2540 วิกฤติต้มยำกุ้ง]” นำไปสู่การระงับการดำเนินกิจการสถาบันการเงินไทย รวม 58 แห่ง และได้มีการตั้ง[[องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน]] หรือ ปรส. ขึ้นชุดแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2540  ในสมัยรัฐบาล[[พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ]] กำกับดูแลสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สุจริต รวมทั้งชำระบัญชีของสถาบันการเงินในกรณีที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
 
ดร.[[วีรพงษ์ รามางกูร]] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ในสมัยรัฐบาลพลเอก[[ชวลิต ยงใจยุทธ]] ได้มาขอร้องให้นายอมเรศช่วยดูแลองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) หลังจากดำเนินการได้ระยะหนึ่ง เกิดปัญหาการแทรกแซงทางการเมือง นายอมเรศและกรรมการทั้งหมดจึงขอลาออก ต่อมา พ.ศ. 2541 นาย[[ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ขอให้นายอมเรศกลับไปรับตำแหน่งประธาน ปรส. อีกครั้ง โดยนาย[[ชวน หลีกภัย]] นายกรัฐมนตรีได้โทรศัพท์มารับรองว่า "ถ้าคุณอมเรศรับ ผมรับรองว่าจะไม่มีการแทรกแซงทางการเมือง"<ref>อมเรศ ศิลาอ่อน, ทำดีแล้ว...อย่าหวั่นไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2556. หน้า 181.</ref>
 
ภายหลังจาก ปรส. ได้ประมูลขายทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มีการกล่าวหาคณะกรรมการและผู้บริหารของปรส.ต่อ[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] หรือ ป.ป.ช. รวม 6 เรื่องผลการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่ากรณีกล่าวหาคณะกรรมการปรส.และผู้บริหาร ปรส. คณะกรรมการป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป จำนวน 3 เรื่อง และมีมติไม่ยกขึ้นพิจารณา เนื่องจากเป็นกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจำนวน 1 เรื่อง