ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำเนียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
ปัจจัยสำคัญในการคาดคะเนระดับสำเนียงว่าจะมีความเด่นชัด (หรือความแปร่ง) เพียงใดคืออายุขณะเรียนรู้ภาษาที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา<ref name=Scovel2000>Scovel, T. (2000). "A critical review of the critical period research." ''Annual Review of Applied Linguistics'', 20, 213–223.</ref><ref name=Piske>Piske, T., MacKay, I. R. A., & Flege, J. E. (2001). "Factors affecting degree of foreign accent in an L2: A review." ''Journal of Phonetics'', 29, 191–215.</ref> ทฤษฎีช่วงอายุเอื้อการเรียนภาษาระบุว่า หากการเรียนรู้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่เกิดขึ้นหลังช่วงอายุเอื้อการเรียนภาษา (โดยทั่วไปจัดว่าอยู่ในวัยแรกเกิดจนถึงวัยแรกรุ่น) บุคคลหนึ่ง ๆ ไม่น่าจะได้สำเนียงเหมือนเจ้าของภาษา อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ค่อนข้างเป็นที่โต้เถียงในหมู่นักวิจัย<ref name="Mahdi">{{Cite journal|last=Mahdi|first=Rahimian|date=2018|title=Accent, intelligibility, and identity in international teaching assistants and internationally-educated instructors|hdl=1993/33028}}</ref> แม้ว่านักวิจัยหลายคนจะเห็นพ้องกับทฤษฎีนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง พวกเขาก็กำหนดช่วงอายุเอื้อการเรียนภาษาไว้ก่อนวัยแรกรุ่น หรือไม่ก็พิจารณาว่ามันมีลักษณะเป็น "ช่วงโอกาส" ที่สำคัญมากกว่า ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลและยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากอายุ เช่น ระยะเวลาพำนักอาศัย ความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษาแม่กับภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ ความถี่ในการใช้ภาษาทั้งสอง เป็นต้น<ref name=Piske/>
 
อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ที่มีอายุน้อยเพียง 6 ปีในขณะที่ย้ายไปอยู่ต่างประเทศอื่นมักพูดสำเนียงที่ไม่เหมือนเจ้าของภาษาอย่างสังเกตได้ชัดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีกรณีที่พบได้ยากของบุคคลที่เข้าถึงสำเนียงระดับเจ้าของภาษาได้แม้พวกเขาจะเรียนรู้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น<ref>Bongaerts, T., van Summeren, C., Planken, B., & Schils, E. (1997). "Age and ultimate attainment in the pronunciation of a foreign language." ''Studies in Second Language Acquisition'', 19, 447–465.</ref> อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเงื่อนไขทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองจะจำกัดความสามารถของผู้พูดส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา<ref>Long, M. H. (1990). "[https://scholarspace.manoa.hawaii.edu/bitstream/10125/38596/1/Long%20(1988)_WP7(1).pdf Maturational constraints on language development]." ''Studies in Second Language Acquisition'', 12, 251–285.</ref> นักวิจัยส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า สำหรับผู้ใหญ่แล้ว การได้สำเนียงเหมือนเจ้าของภาษาในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย<ref name=Scovel2000/>
 
==อ้างอิง==